พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกันเอง & สิทธิในการสืบแก้พยานประเด็นอายุความ
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองจะต้องเป็นคำให้การที่ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางและไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง คดีนี้จำเลยให้การตอนแรกว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินหรือได้รับเงินจากบริษัท พ. แต่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และบริษัท พ. กรอกข้อความและจำนวนเงินเองโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยให้การตอนหลังว่า สัญญากู้เงินตามฟ้องไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา คดีโจทก์จึงขาดอายุความก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินจากบริษัท พ. อันจะถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทาง ซึ่งไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน คำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีย่อมมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อให้เห็นว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามเอกสารที่โจทก์นำมาแสดง จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ได้ว่า เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้รายอื่นไม่เกี่ยวกับสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกันเอง & สิทธิในการสืบพยานแก้คดีอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญากู้เงินหรือได้รับเงินจากบริษัท พ. ที่ขายสินทรัพย์ให้โจทก์แต่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และบริษัท พ. กรอกข้อความและจำนวนเงินเองโดยจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอม อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยที่ 1 ให้การตอนหลังว่า สัญญากู้เงินตามฟ้องไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงขาดอายุความ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท พ. อันจะถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง และคดีย่อมมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อให้เห็นว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามเอกสารที่โจทก์นำมาแสดง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ได้ว่า เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้รายอื่น มิใช่ว่าจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย: โจทก์ได้รับชดเชยค่าเสียหายเต็มจำนวนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายต้องนำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่บริษัท ท. และชำระค่าซ่อมแก่บริษัทดังกล่าว ขณะยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยทั้งสองยังมิได้ชำระค่าซ่อมแก่บริษัทดังกล่าวและยังมิได้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าวันที่ 11 เมษายน 2545 บริษัท พ. ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้แก่บริษัท ท. จำนวน 654,568.68 บาท ถือว่าโจทก์ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินค่าซ่อมเต็มจำนวนตามที่เสียหายแล้วจากบริษัท พ. ย่อมทำให้บริษัท พ. เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง การที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าซ่อมแก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีกจะมีผลทำให้โจทก์ได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับจริง จึงไม่อาจบังคับให้ได้ ส่วนการที่บริษัท พ. ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจะใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจะใช้สิทธิเรียกร้องต่อไป หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่ไถ่ถอน-ภาระจำยอม: ไม่มีหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอมเมื่อที่ดินตกเป็นของจำเลย
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านแก่จำเลยแล้วไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด ส่วน ม. ทำสัญญาขายฝากที่ดินอีกแปลงหนึ่งแก่จำเลย แล้วไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดเช่นเดียวกัน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บัญญัติให้ที่ดินของจำเลยส่วนที่โจทก์ทั้งสองปลูกบ้านตกเป็นภาระจำยอมแก่ของโจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่บ้านของโจทก์ทั้งสอง จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสองมีคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยจากละเมิด: แยกดอกเบี้ยค้างชำระกับดอกเบี้ยจากมูลหนี้ค่าเสียหาย
อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เป็นอายุความสำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระ แต่มูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนความเสียหายของโจทก์ เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมดทันทีนับแต่วันผิดนัดคือวันที่เกิดการทำละเมิดเป็นต้นไป จึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1) และกรณีดอกเบี้ยในหนี้เงินอันเกิดจากมูลละเมิดนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด: ดอกเบี้ยไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ใช้ อายุความ 10 ปี
หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนความเสียหายของโจทก์ เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมดทันทีนับจากวันผิดนัดคือวันที่เกิดการทำละเมิดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยของค่าเสียหายดังกล่าวจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) และกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กิจการอันตรายต่อสุขภาพ - ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น - ลงโทษปรับรายวันชอบด้วยกฎหมาย
การประกอบกิจการรับซื้อขาย แลกเปลี่ยน สะสมวัตถุสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว เหลือใช้ จำพวกกระดาษ เหล็ก พลาสติก ขวดหรือสิ่งของเก่าอื่น ๆ อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ส่วนการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกองวัสดุสิ่งของเก่า หรือให้ต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละกระทงความผิดกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 80 บัญญัติว่า ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดดำเนินการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 45 มาตรา 52 หรือมาตรา 65 วรรคสอง โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่จำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามฟ้องซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้จึงไม่เป็นการลงโทษปรับจำเลยซ้ำซ้อน
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 80 บัญญัติว่า ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดดำเนินการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 45 มาตรา 52 หรือมาตรา 65 วรรคสอง โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่จำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามฟ้องซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้จึงไม่เป็นการลงโทษปรับจำเลยซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลผูกพันและไม่รับฎีกา
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์และธนาคาร ก. ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคาร ก. ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้แก่ธนาคาร ก. เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด