พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการวินิจฉัยชี้ขาดในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อน
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ข้อโต้แย้งการเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งของคู่ความโดยคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ดีเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการขายทอดตลอดของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัอต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ เป็นที่สุด
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด คำว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสอง" ดังกล่าวมิได้หมายความว่าเป็นคำสั่งอนุญาตให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงหากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใด ๆ ของศาลที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสอง" ทั้งสิ้น เมื่อคำร้องของจำเลยอ้างว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบเนื่องจากราคาต่ำไป และการขายทอดตลาดเกิดจากความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีเช่นนี้ จึงเป็นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่มีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดินและผลของการแจ้งความเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกซ้ำกับประเด็นที่เคยวินิจฉัยในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อน โจกท์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 กับพวกร้องขัดทรัพย์ในคดี ดังกล่าว โจทก์ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 สละมรดกให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ โดยสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 1 หรือของผู้ร้องขัดทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 2 กับพวก มิใช่ของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้สละมรดกโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อีก แม้จะอ้างเหตุเพิกถอนการฉ้อฉล แต่คดีก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10707/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: การคิดค่าจ้างตามผลสำเร็จ แม้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ตกลง
ปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์รับเอาส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้รับจากลูกความขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยมีสิทธิยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามสัญญาจ้างว่าความกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย โดยจำเลยจะต้องชำระค่าทนายความแก่โจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่าหากศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งที่ดินให้แก่ ช. เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของจำเลยเช่นเดิม จำเลยหาได้ทรัพย์สินเพิ่มเติมจากการเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ การที่คิดค่าทนายความตามผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จึงมิใช่เป็นการคิดค่าทนายความตามส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเป็นความ สัญญาว่าจ้างความจึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะตกลงค่าจ้างว่าความไว้ในอัตราสูงก็หาได้ทำให้สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าว่าความเต็มจำนวน
ตามสัญญาจ้างว่าความกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย โดยจำเลยจะต้องชำระค่าทนายความแก่โจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่าหากศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งที่ดินให้แก่ ช. เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของจำเลยเช่นเดิม จำเลยหาได้ทรัพย์สินเพิ่มเติมจากการเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ การที่คิดค่าทนายความตามผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จึงมิใช่เป็นการคิดค่าทนายความตามส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเป็นความ สัญญาว่าจ้างความจึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะตกลงค่าจ้างว่าความไว้ในอัตราสูงก็หาได้ทำให้สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าว่าความเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10431/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เสียเอง จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็วจึงวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยให้เสร็จไปว่า คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางต่อศาลชั้นต้น มิได้นำเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คู่ความฎีกาต่อไปอีกไม่ได้
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็วจึงวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยให้เสร็จไปว่า คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางต่อศาลชั้นต้น มิได้นำเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คู่ความฎีกาต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10261/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิในที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน โดยคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปออกโฉนดว่าเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะยกฟ้อง ก็เนื่องมาจากว่าจำเลยมิได้ร้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ออกโฉนดดังกล่าวโดยมิชอบ แต่จำเลยกลับมีคำขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลย ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยย่อมไม่จำต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์กันอีก เนื่องจากที่พิพาทเป็นของจำเลยอยู่แล้ว ที่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้นั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่จำต้องมีการบังคับตามคำขอ มิใช่คำฟ้องไม่สมบูรณ์ แต่เป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับตามคำขอให้ได้เท่านั้น คู่ความยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 145
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และจำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกับมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการห้ามเกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน แม้จำเลยมีคำขอเพิ่มมาในฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่ก็ยังคงเป็นกรณีที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัย และคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และจำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกับมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการห้ามเกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน แม้จำเลยมีคำขอเพิ่มมาในฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่ก็ยังคงเป็นกรณีที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัย และคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขเลขโฉนดในคำพิพากษา: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขรายละเอียดเลขที่โฉนดให้ถูกต้อง แม้ในชั้นบังคับคดี หากไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดิน เมื่อตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องระบุชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 82489 หาใช่ที่ดินโฉนดเลขที่ 82498 ดังที่โจทก์กล่าวฟ้องและในคำขอท้ายฟ้อง การที่โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนเลขโฉนดจากเลขที่ 82498 เป็นเลขที่ 82489 จึงเป็นการขอแก้ไขในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงกับความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องต่อเนื่อง เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองเดิมขาดตอน
จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้
แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้