คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: การพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวไม่ตัดอายุความ เริ่มนับเมื่อโจทก์แจ้งเรียกเก็บใหม่
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยมีสิทธินำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบการและถอนเงินสดจากธนาคารที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และโจทก์ตกลงออกเงินทดรองจ่ายให้แก่สถานประกอบการและธนาคารแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงรวบรวมหลักฐานเรียกเก็บเงินจากจำเลย จำเลยจะต้องชำระเงินที่เรียกเก็บแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงิน หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในรูปของค่าทดแทนการออกเงินทุนไปก่อนและค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บ โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยระบุยอดเงินที่จำเลยจะต้องชำระซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวได้รวมรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. 11 รายการ รวมอยู่ด้วย จำเลยคัดค้านว่าไม่ได้ใช้จ่ายตามรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. ทั้ง 11 รายการ โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบกับร้านค้าตามใบเรียกเก็บเงิน เมื่อโจทก์ตรวจสอบกับร้านค้าเสร็จแล้ว โจทก์ได้ยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวและได้ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยอีกโดยให้จำเลยชำระภายในกำหนดแต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรของจำเลยและเรียกให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ภายใน 10 วัน แต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบนี้เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนดอายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ตามใบเรียกเก็บเงินซึ่งจำเลยจะต้องชำหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้จำนวนดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
แม้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสมอไปไม่ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความดังที่โจทก์ฎีกา คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาชี้ การพักยอดเรียกเก็บเพื่อตรวจสอบเอกสาร ยังไม่ถือเป็นการเริ่มนับอายุความ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ/กู้ยืม, การขยายเวลาชำระหนี้ไม่กระทบอายุความ, ดอกเบี้ยในดอกเบี้ยเป็นโมฆะ
สัญญาข้อ 8 ที่ว่า "เมื่อสัญญานี้ครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงคงเดิมทุกประการจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญา..." มีผลเพียงว่า เมื่ออายุสัญญาเป็นอันต่อออกไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้แล้ว กำหนดเวลาที่จำเลยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี ก็ขยายตามไปด้วย กำหนดเวลาชำระหนี้ซึ่งทำให้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเปลี่ยนแปลงไปเฉพาะเวลาขณะเริ่มนับอายุความ ส่วนอายุความมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยข้อสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการขยายอายุความ
ข้อตกลงตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏที่ให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินเดือนที่นายจ้างของจำเลยโอนเข้าบัญชี ไม่มีผลทำให้เงินที่จำเลยเบิกถอนจากบัญชีกลายเป็นเงินที่โจทก์ได้ทดรองจ่าย ส่วนบัตรกรุงไทยเอทีเอ็มที่โจทก์ออกให้แก่จำเลย ก็เพื่อความสะดวกในการเบิกถอนเงิน ซึ่งหากจำเลยมีเงินฝากอยู่ในบัญชีเกินจำนวนที่เบิกถอน ก็เป็นการเบิกถอนเงินฝาก แต่หากจำเลยไม่มีเงินฝากอยู่ในบัญชี เงินที่เบิกถอนไปก็เป็นเงินกู้ที่ตกลงไว้กับโจทก์นั่นเอง สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นเช่นนี้กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญากู้กรุงไทยธนวัฏไม่มีข้อตกลงที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ การที่โจทก์นำหนี้ที่รวมดอกเบี้ยอยู่ด้วยมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป ย่อมมีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ จึงฝ่าฝืนข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ปฏิเสธการจ่ายเช็คเป็นสถานที่เกิดมูลคดี แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน 140,000 บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ธนาคารปฏิเสธเช็คเป็นสถานที่เกิดมูลคดี ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาดของลูกหนี้ร่วม และอำนาจศาลในการพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ฟังคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี เป็นเหตุให้มีการอนุมัติขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้แก่ผู้ซื้อในราคาสูงสุดซึ่งต่ำกว่าราคาประเมิน ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใดๆ โดยเฉพาะ หรือขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการใดๆ ตามที่เห็นสมควร เมื่อจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ แม้ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดจะเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้ การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในราคาที่สมควรหรือไม่ ย่อมมีผลกระทบโดยตรงกับภาระหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 โดยตรง และมีสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่จะคัดค้านว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นมีราคาต่ำจำนวนเกินสมควร ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ฟังคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดในทางทรัพย์สินที่บังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองโต้แย้งคัดค้านว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีราคาต่ำจำนวนเกินสมควรนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้ และตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่ใช้บังคับในขณะจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรัพย์ในการขายทอดตลาดชอบหรือไม่ จึงเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาประกันตัว: กรรมการบริษัทลงนามในฐานะตัวแทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดส่วนตัว
แม้การประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาจะไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ข้อ 35 ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการรับค้ำประกันหนี้ ความรับผิด หรือการปฏิบัติตามสัญญา ดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าได้ทำสัญญาประกัน ซ. ตามสัญญาประกันอันเป็นการให้สัตยาบันการทำสัญญาประกันนั้นแล้ว สัญญาประกันดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 823

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาประกัน และการกำหนดเวลาชำระหนี้ กรณีผู้ต้องหาไม่มาตามนัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นคำร้องและลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันเมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าหลักประกันต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยที่ 2 จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ มิได้แปลว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องและทำสัญญาประกันในฐานะที่เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานความรับผิดเป็นละเมิด หากมูลเหตุยังคงเป็นการว่าจ้างเดิม ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เรื่องจ้างทำของโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องในเรื่องมูลหนี้ที่เกิดจากการพิมพ์งานของโจทก์เช่นเดียวกับในคดีเดิม โดยบรรยายอีกว่าเป็นการว่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเป็นเรื่องละเมิดก็เพียงเพื่อให้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองอยู่ในรูปแบบของนายจ้างลูกจ้างเท่านั้น การกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 กรอกรายการในใบเสร็จรับเงินให้เป็นของบริษัท ด. เป็นการประทุษร้ายต่อสิทธิในการรับเงินค่าจ้างของโจทก์ก็มีผลเท่ากับโจทก์ยังคงกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งานเช่นในคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างการครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดแย้งกับความเป็นเจ้าของเดิม และคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ป. โดยชอบ และโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ปี 2502 ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่ในทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีก็ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ที่ดินพิพาทมีได้เพียงสิทธิครอบครองซึ่งไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้ย้อนกลับไปเป็นของ ป. หรือของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน
of 31