พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงหลังมีผู้ร้องสอด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์
แม้โจทก์จะเริ่มคดีโดยยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ และจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมอบหมายให้จำเลยทั้งสองดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตลอดมา ผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อยังให้ได้รับการรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวซึ่งถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีที่มีเขตอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่
เมื่อผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนบุคคลภายนอกผู้ยึดทรัพย์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพยสิทธินั้น ๆ แล้ว สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นทรัพยสิทธิที่สามารถใช้ยันโจทก์ได้ และปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อฟ้องบังคับให้โอนที่ดินตามหนังสือท้ายสัญญาหย่า ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา อีกทั้งกฎหมายก็มิได้บังคับไว้ว่าต้องจดทะเบียนโอนกันภายในระยะเวลาใด โจทก์จะบังคับยึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกที่ยึดทรัพย์ได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินแก่ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดแล้ว แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อนโจทก์ย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพยสิทธินั้น ๆ แล้ว สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นทรัพยสิทธิที่สามารถใช้ยันโจทก์ได้ โจทก์จะบังคับยึดที่ดินอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสมควรยกเว้นการพิจารณาใหม่, ความรับผิดชอบทนายความ, การแจ้งเหตุขัดข้อง
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น จะต้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ได้ทราบวันเวลานัดดังกล่าวโดยชอบแล้ว แต่มิได้มาศาลตามกำหนดนัด เนื่องจากทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เดินทางไปว่าความในคดีอื่นที่ศาลได้นัดพิพากษาตามยอมในวันเดียวกัน โดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาในคดีนี้ ซึ่งทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เป็นคนนัดวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ไว้เอง ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ชอบที่จะแจ้งต่อศาลในคดีอื่นว่าทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ติดการพิจารณาของศาลในคดีนี้ และขอให้ศาลในคดีอื่นนัดพิจารณาตามยอมในวันอื่น ไม่ควรนัดให้ซ้อนกัน แต่ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ก็หาได้กระทำไม่ นับว่าเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เอง ทั้งเมื่อมีเหตุขัดข้องทำให้ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ก็ต้องแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลในคดีนี้ทันที การที่ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เพียงแต่บอกให้โจทก์ที่ 1 มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านของทนายจำเลยให้เสร็จโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลในคดีนี้ทราบ แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ไม่เห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาลในคดีนี้ เหตุขัดข้องของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ แม้โจทก์ที่ 1 จะมีใบรับรองแพทย์และรายงานแพทย์มาแสดงว่าโจทก์ที่ 1 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในวันดังกล่าว โดยมีอาการโรคกระเพาะและแน่นหน้าอกก็ตามแต่ตามรายงานแพทย์ดังกล่าวได้สรุปผลการตรวจว่า โจทก์ที่ 1 มีปัญหาระบบย่อยอาหารโดยไม่มีโรคหัวใจ เนื่องจากอุดตันของเส้นโลหิตแต่อย่างใด ทั้งโจทก์ที่ 1 ยังสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังสำนักงานของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ได้ แสดงว่าอาการป่วยของโจทก์ที่ 1 ไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นได้โดยสามารถสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลชั้นต้นจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งให้บริการสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลชั้นต้นรอจนถึงเวลา 15.30 นาฬิกา นับว่าเป็นระยะเวลานานพอที่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จะโทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นหรือมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นอันอยู่ในวิสัยที่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 สามารถจะกระทำได้แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องอ้างเหตุตามที่กล่าวอ้างในฟ้องเดิม การเปลี่ยนแปลงเหตุฟ้องในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ผู้ตาย และมิได้เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง ผ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งของ ป. ผู้ตายตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้ไข ดังนั้น เหตุที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเป็นคนละเหตุกับที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นภริยาของ ป. และเป็นบุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิง ผ. โจทก์จึงเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของเด็กหญิง ผ. มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันระงับเมื่อมีการประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้หลัก ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ ก. ต่อโจทก์ แต่เมื่อโจทก์และ ก. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด ความรับผิดของ ก. ที่เกิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงระงับสิ้นไป และทำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เมื่อความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย/พินัยกรรม/เจตนาผู้ตาย
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยากันก่อนมีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ซึ่งใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับรองแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม แต่ผลของบทกฎหมายดังกล่าวเพียงแต่ให้ถือว่าผู้ตายซึ่งเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฎีกาโต้แย้งว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงใช้บังคับไม่ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และ ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย ก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงใช้บังคับไม่ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และ ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย ก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580-1585/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของวัด: การมอบอำนาจ การประทับตรา และสัญญาเช่าที่ดิน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่าให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปเท่านั้น มิได้บังคับว่าการกระทำกิจการแทนวัดจะต้องประทับตราสำคัญของวัดด้วย ดังนั้นแม้หนังสือมอบอำนาจที่พระราชสุธรรมาภรณ์มอบอำนาจให้ ป. มีอำนาจฟ้องคดีและทำ นิติกรรมสัญญาใดๆ แทนวัดโจทก์ที่ 1 จะมีพระราชสุธรรมาภรณ์ลงลายมือชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ไว้ด้วย ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ได้
การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด ธนาคารมีลักษณะทดรองจ่ายเงิน
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ทำสัญญาให้สินเชื่อแก่จำเลยโดยให้จำเลยสมัครเป็นสมาชิก โจทก์เป็นผู้กำหนดวงเงินสินเชื่อซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจของโจทก์ โจทก์ออกบัตรเครดิตพร้อมกำหนดรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อสามารถนำไปถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้ตามความต้องการของจำเลยภายใต้วงเงินที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดเวลา 1 ปี โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมจากจำเลยปีละ 500 บาท หากมีการต่อสัญญาออกไปจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในอัตราเดียวกันทุกปี การใช้สินเชื่อดังกล่าวจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี และต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่โจทก์ออกใบแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยในแต่ละเดือน แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ดังกล่าวไปซื้อสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้โดยตรงก็ตาม แต่ลักษณะที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยในการถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ตามความต้องการของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้ควบคุมวงเงินที่จำเลยจะเบิกถอนได้ และคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการดังกล่าวเป็นรายปีจากการที่จำเลยสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อใช้บริการสินเชื่อในลักษณะนี้ จึงมีลักษณะที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินสดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกเพื่อให้จำเลยสามารถเบิกเงินสดได้ตามเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของจำเลยเองเช่นกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้สมาชิก การที่โจทก์ให้สมาชิกนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 และต้องชำระเงินให้โจทก์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2542 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงตั้งต้นนับแต่นั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2545 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับคดีและการอุทธรณ์คำสั่ง กรณีศาลหนึ่งมอบหมายให้ศาลอื่นดำเนินการแทน
ศาลจังหวัดชลบุรีได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทน จึงมีอำนาจสั่งไต่สวนเพื่อมีคำสั่งคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ สำหรับการยื่นอุทธรณ์นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คู่ความจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีเป็นศาลที่ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่ไต่สวนและมีคำสั่งคำร้องได้ ศาลจังหวัดชลบุรีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ต่อไป