คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากพนักงานประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือปลอม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเช็คพิพาทเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่โจทก์ได้ เว้นแต่โจทก์จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008
การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการบอกกล่าวหนี้ การที่ลูกหนี้ปฏิเสธหนี้หลังได้รับการบอกกล่าว ถือเป็นการรับทราบการโอนสิทธิ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายโอนสิทธิเรียกร้อง (ในประเทศไทย) แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และภายหลังจำเลยที่ 1 ขายโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีต่อจำเลยที่ 6 และที่ 7 แก่โจทก์ ก่อนฟ้องคดีนี้ทนายความโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 6 ชำระหนี้ตามฟ้องที่จำเลยที่ 6 เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้นั้นให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 6 ได้รับแล้ว และจำเลยที่ 6 ได้ทำหนังสือลงวันที่ 7 มกราคม 2541 ปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อสินค้าและไม่เคยเป็นหนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือโจทก์ หนังสือของทนายโจทก์ที่ทวงถามให้จำเลยที่ 6 ชำระหนี้ตามฟ้องก่อนที่จะฟ้องคดีนี้ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษที่ถูกต้อง และข้อจำกัดการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์
การลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งนั้น ศาลต้องลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำจากโทษที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงกึ่งหนึ่ง แล้วจึงกำหนดโทษจำเลยในระวางโทษที่ลดแล้วนั้น จะกำหนดโทษจำเลยก่อน แล้วลดมาตราส่วนโทษลงย่อมไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยจำคุก 18 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 ปี แม้ไม่ถูกต้อง แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 12 ปี โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ย่อมเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ที่เกิดจากสัญญาเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างในงานที่ทำให้แก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้นำเงินค่าปรับที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระแก่จำเลยในอีกคดีหนึ่งมาหักกลบลบหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ต้องชำระค่างานแก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้อยู่ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับแก่คดีไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หักกลบลบหนี้จากสัญญาเดียวกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการหักกลบลบหนี้ต้องพิจารณาในชั้นบังคับคดี
ความรับผิดชอบจำเลยที่ต้องชำระค่างานให้แก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับบทวินิจฉัยไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14306/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในคดียาเสพติด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับจำเลยทั้งสองเกินแปดหมื่นบาท และมิได้สั่งว่าจะบังคับชำระค่าปรับอย่างไร ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้ชัดเจน โดยพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็ค, ความสุจริตของผู้ทรงเช็ค, และอายุความฟ้องร้องตั๋วเงิน
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ จำเลยที่ 2 สลักหลักเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังส่งมอบต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 921, 940 ประกอบมาตรา 989 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงแยกจากกันตามฐานะแห่งตน ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จะปลอมหรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1006
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง - การคืนเงินที่ได้จากการหลอกลวง - สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติว่า "คดีลักทรัพย์...ฉ้อโกง...ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย" ดังนี้ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเงิน 80,000 บาท ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนเงิน 80,000 บาท ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้อำนาจไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้วนั้น หากผู้เสียหายไม่โอนที่ดินคืนแก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง - การคืนเงิน - สิทธิเรียกร้อง - ที่ดิน - คดีอาญา
จำเลยขายที่ดินให้ผู้เสียหาย โดยหลอกลวงว่าที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟสระแก้ว ความจริงที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่อื่นและมีเนื้อที่น้อยกว่ามาก โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยต้องคืนเงินแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้ว หากผู้เสียหายไม่โอนคืนให้แก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10959/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเอกสารซื้อขายเครื่องยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยให้ซ่อมและเปลี่ยนเครื่องยนต์รถยนต์รวมทั้งให้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนหมายเลขเครื่องยนต์ จำเลยซื้อเครื่องยนต์จากบริษัท จ. โดยบริษัท จ. ออกเอกสารใบส่งของ/บิลเงินสด ใบกำกับภาษี กับหนังสือแจ้งจำหน่ายและการรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ ระบุชื่อผู้เสียหายเป็นผู้ซื้อ จำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปให้บริษัท จ. แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ซื้อเป็น ส. โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายแม้ พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จ. และเป็นผู้ทำเอกสารจะเป็นผู้แก้ไข แต่เมื่อการแก้ไขเกิดจากการแจ้งของจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจ เป็นการปลอมเอกสารโดยถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนี้ด้วยการใช้ พ. เป็นเครื่องมือ
ใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ขายได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ซื้อเครื่องยนต์แล้ว บริษัท พ. ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากผู้เสียหายอีกจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ เป็นเอกสารสิทธิ
of 31