คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10832/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยสุจริตของผู้จัดการบริษัทในการเปลี่ยนกุญแจห้องพักของอดีตพนักงาน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมทั้งสี่เข้าพักอาศัยในห้องที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ชั้นสองของอาคารที่ตั้งบริษัท ร. เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ 1 เคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ส่วนโจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและเป็นพนักงานของบริษัท ห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมอยู่ในความครอบครองของบริษัท ร. โดยโจทก์ร่วมทั้งสี่อาศัยสิทธิของบริษัทพักอาศัยในฐานะพนักงานของบริษัทเท่านั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัท มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของบริษัท เปลี่ยนกุญแจห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่รวมถึงเปลี่ยนกุญแจตามจุดต่างๆ ในบริษัทตามคำสั่งของ ว. กรรมการผู้จัดการบริษัท เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีทรัพย์สินของบริษัทสูญหาย จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทเพื่อดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบริษัทด้วยความสุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาบุกรุก และโจทก์ร่วมทั้งสี่ก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองห้องพิพาทที่อ้างว่าจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10497/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ แม้การตอบโต้จะทำให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการป้องกันตัวตามกฎหมาย
ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อน โดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม่ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลงจำเลยก็ไม่ได้ชกผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9138/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสาเข็มและบริการตอกเสาเข็ม: กรณีทำเพื่อกิจการของลูกหนี้
กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยได้สั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์จำนวน 440 ต้น ในราคาต้นละ 8,600 บาท โดยให้โจทก์บริการตอกเสาเข็มให้ด้วย โจทก์ได้ดำเนินการตอกเสาเข็มให้แก่จำเลยเพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์การค้า เวล มาร์เก็ต เพลส เสร็จเรียบร้อยแล้ว ศูนย์การค้าที่จำเลยก่อสร้างนั้นมีทั้งส่วนที่จำเลยจะใช้ทำการค้าขายเป็นของตนเองและส่วนที่จำเลยจะให้ผู้อื่นเช่าทำการค้าขาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี (1) ผู้ประกอบการค้า... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ... เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง และตามมาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1)... ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ดังนั้น การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำซึ่งปกติต้องมีอายุความ 2 ปี เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง และการที่โจทก์ตอกเสาเข็มให้แก่จำเลยเพื่อสร้างศูนย์การค้า เวล มาร์เก็ต เพลส เพื่อการที่จำเลยจะใช้ทำการค้าขายเป็นของตนเองรวมทั้งส่วนที่จำเลยจะเอาให้ผู้อื่นเช่าทำการค้าขายด้วย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้ (จำเลย) นั้นเอง แม้เสาเข็มที่จำเลยสั่งโจทก์ตอกลงในที่ดินที่จำเลยก่อสร้างศูนย์การค้า จำเลยมิได้นำเสาเข็มดังกล่าวไปทำการขายต่ออีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่การที่จำเลยจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มเพื่อประกอบเป็นอาคารศูนย์การค้าแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร และจำเลยมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว คงใช้เพื่อประกอบกิจการของฝ่ายจำเลยด้วย จึงเป็นการทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้ย่อมมีอายุความ 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9138/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: พิจารณาจากลักษณะงานและกิจการของลูกหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" การที่จำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์และให้โจทก์บริการตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างศูนย์การค้าที่จำเลยจะใช้ทำการค้าขายเอกงและบางส่วนให้ผู้อื่นเช่าทำการค้านั้นโจทก์ผู้ประกอบการค้าชอบที่จะเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งปกติมีอายุความสองปีซึ่งแม้เสาเข็มที่จำเลยสั่งให้โจทก์ตอกลงในดินที่จำเลยจะสร้างศูนย์การค้านั้น จำเลยมิได้นำเสาเข็มดังกล่าวไปขายต่ออีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่การที่จำเลยจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มเพื่อประกอบเป็นอาคารศูนย์การค้าที่จำเลยมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวคงใช้เพื่อประกอบกิจการของฝ่ายจำเลย ด้วยการนำพื้นที่บางส่วนให้ผู้อื่นเช่าทำการค้าจึงถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน และสิทธิของผู้ร้องที่ต้องการสวมสิทธิบังคับคดี
จำเลยขอให้ถอนการบังคับคดีโดยชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้ว โจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยแล้วทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งตามคำขอของจำเลยซึ่งเท่ากับโจทก์ก็ประสงค์ให้ถอนการบังคับคดีเช่นกัน กรณีย่อมไม่มีเหตุบังคับคดีจำเลยอีกต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิขอให้บังคับคดีต่อไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคแปด ศาลฎีกาให้ถอนการบังคับคดีจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน แม้เจ้าหนี้ไม่ถอนการยึด
ป.วิ.พ. มาตรา 295 บัญญัติว่า "ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้ (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านั้น..." ดังนั้น เมื่อจำเลยอ้างในคำร้องขอให้ถอนการบังคับคดีว่า จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยแล้วจริง ทั้งขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยซึ่งเท่ากับโจทก์ก็ประสงค์ให้ถอนการบังคับคดี ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำร้องของจำเลยแล้ว ไม่ได้คัดค้านว่าจำเลยยังชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีไม่ครบถ้วนต้องฟังว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้วเช่นกัน กรณีไม่มีเหตุบังคับคดีจำเลยอีกต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิขอให้บังคับคดีต่อไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคแปด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7912/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้หลังอายุความครบกำหนด ถือเป็นการสละสิทธิอายุความ
จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคาร ก. ในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้าย ในวันที่ 21 กันยายน 2537 โจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาใช้บัตรเครดิตจากธนาคาร ก. แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนดจึงต้องถือว่าธนาคาร ก. อาจบังคับสิทธิเรียกร้องหนี้นับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อสัญญาใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่ธนาคาร ก.ออกเงินทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง หนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการของจำเลยจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 และครบกำหนดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้ายแล้ว ธนาคาร ก. บอกกล่าวทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้ตลอดมา ปรากฏว่าหลังจากอายุความครบกำหนดแล้ว จำเลยได้ผ่อนชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการให้แก่ธนาคาร ก. หลายครั้งตั้งแต่ปี 2540 ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปี 2544 โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 8 ตุลาคม 2544 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า จำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จำเลยย่อมไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้ธนาคาร ก. และโจทก์ได้ และต้องเริ่มนับอายุความจากวันที่จำเลยชำระครั้งสุดท้ายซึ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 2 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการตามฟ้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7707/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีลักทรัพย์: ค้อนปอนด์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงหรือไม่
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าค้อนปอนด์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง เนื่องจากการลักทรัพย์สำเร็จตั้งแต่การย้ายเสาปูน ส่วนการใช้ค้อนปอนด์ทุบเสาปูนเกิดขึ้นภายหลังเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่ศาลจะอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้นๆ กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดนั้นๆ ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติดังที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่าค้อนปอนด์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองใช้ในการทุบเสาปูนของผู้เสียหาย ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเสาปูนของผู้เสียหายย่อมต้องอาศัยค้อนปอนด์ของกลางในการกระทำความผิด อันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7319/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากโดยไม่ปรากฏข้อตกลงชัดเจน และหนี้ขาดอายุความ
ตามคำยินยอมคำขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ข้อ 3 และข้อ 4 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารนำเงินที่ข้าพเจ้านำเข้าฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักทอนยอดหนี้ที่เกิดขึ้นตามกล่าวในข้อ 3 หรือหนี้ลักษณะอื่นใดที่ข้าพเจ้ามีอยู่กับธนาคารได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า" ซึ่งข้อ 3 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ข้าพเจ้าให้คำยินยอมหรือมอบอำนาจให้แก่ธนาคารหรือได้สั่งการไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ธนาคารหักเงินจากบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารหรือบุคคลอื่น เช่น รายการชำระหนี้ตามบัตรเครดิต ... เป็นต้น ถ้าหากธนาคารได้ผ่อนผันการจ่ายเงินเกินบัญชีไป ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินคืนธนาคารโดยถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคาร และยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราสูงสุดที่ธนาคารได้มีประกาศกำหนด.." โดยไม่ปรากฏข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์มาหักจากเงินฝากในบัญชีของโจทก์ได้ อีกทั้งตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระหนี้การใช้บัตรเครดิตด้วยการให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์เลขที่ 170-0-09210-7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากอื่นของโจทก์ได้อีก ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำเงินฝากจากบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เลขที่ 230-0-38370-6 มาหักชำระหนี้บัตรเครดิตได้ และจำเลยที่ 1 ก็มิอาจนำเงินฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักกลบลบหนี้บัตรเครดิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันได้ เนื่องจากในวันที่โจทก์เปิดบัญชีสะสมทรัพย์ไว้กับจำเลยที่ 1 ขณะนั้นสิทธิเรียกร้องในหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 ได้ขาดอายุความไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายและสนับสนุนหลบหนี ถือเป็นกรรมต่างกัน
ความผิดตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 86 เป็นความผิดที่ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นความผิดและมีบทลงโทษสำหรับความผิดแต่ละอย่างแตกต่างกัน และลักษณะแห่งการกระทำความผิดสามารถแยกส่วนจากกันได้ แสดงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในแต่ละการกระทำเป็นกรณีไป แม้เหตุการณ์ที่จำเลยถูกจับกุมจะเป็นเหตุเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
of 31