พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้อง และผู้คัดค้าน กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ จนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ. เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้ มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ. และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนต้องใช้ราคาปานกลางตามภาษีบำรุงท้องที่และสภาพที่ดิน ราคาซื้อขายที่สมยอมใช้ไม่ได้
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่ กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกันราคาที่ดินใกล้เคียงทำสัญญาซื้อขายกันสูงกว่าราคาจริงโดยสมยอมเพื่อต่อรองเมื่อมีการเวนคืน อนุญาโตตุลาการนำมาอาศัยกำหนดราคาเวนคืน จึงขัดต่อกฎหมาย ศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาทดแทนต้องเป็นธรรมตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินและสภาพทำเล ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่สมยอมกัน
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกับ ราคาที่ดินใกล้เคียงทำสัญญาซื้อขายกันสูงกว่าราคาจริง โดยสมยอมเพื่อต่อรองเมื่อมีการเวนคืน อนุญาโตตุลาการนำมาอาศัยกำหนดราคาเวนคืน จึงขัดต่อกฎหมาย ศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: สัญญาซื้อขายระหว่างไทย-สหรัฐฯ และข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง แต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้ว สรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริง เพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทย ศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไทยรับรองคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้องแต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้วสรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริงเพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทยศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอต้องทำเป็นหนังสือ การเจรจาเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย ซ.ผู้แทนโจทก์ติดต่อกับจำเลยที่1ตกลงซื้อขายปอกันซ. และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบปริมาณและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะผู้ขาย โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตส่งมาแต่ล่าช้าและผิดพลาด จำเลยที่ 1จึงไม่ลงชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อน ๆต้องทำเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายปอรายพิพาทเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันกันเมื่อได้ทำหนังสือแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: อำนาจศาล, คำขอท้ายฟ้อง, การบังคับคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเพราะเห็นว่าคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายนั้น เป็นคำสั่งในอำนาจของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 218 วรรคท้าย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 (1) ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาว่า ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ แต่คำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการขอให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับโดยคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 221 นั่นเอง มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งอย่างธรรมดา เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้นเสียเองได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่
ในกรณีดังกล่าว การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเพียง 50 บาท สืบเนื่องมาจากเรื่องที่โจทก์เข้าใจอำนาจของศาลอุทธรณ์ผิด ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องได้เมื่อจะพิพากษา
อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งขายที่ดินที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ขายได้ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เดียว ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ก็คือ ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนที่อนุญาโตตุลาการกล่าวต่อไปนั้น หาใช่เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ เป็นแต่เพียงคำเสนอแนะว่า หากจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ภายในกำหนด ก็ให้เสนอคดีต่อศาลต่อไปเท่านั้น ส่วนวิธีการบังคับคดีซึ่งศาลจะสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ หรือขายทอดตลาดได้เงินเท่าใด ให้เป็นของใครนั้น ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉะนั้น คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยขายได้เงินเท่าใด ให้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวิธีการบังคับคดีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น
ในกรณีดังกล่าว การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเพียง 50 บาท สืบเนื่องมาจากเรื่องที่โจทก์เข้าใจอำนาจของศาลอุทธรณ์ผิด ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องได้เมื่อจะพิพากษา
อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งขายที่ดินที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ขายได้ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เดียว ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ก็คือ ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนที่อนุญาโตตุลาการกล่าวต่อไปนั้น หาใช่เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ เป็นแต่เพียงคำเสนอแนะว่า หากจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ภายในกำหนด ก็ให้เสนอคดีต่อศาลต่อไปเท่านั้น ส่วนวิธีการบังคับคดีซึ่งศาลจะสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ หรือขายทอดตลาดได้เงินเท่าใด ให้เป็นของใครนั้น ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉะนั้น คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยขายได้เงินเท่าใด ให้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวิธีการบังคับคดีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1078/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามสัญญาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งมีข้อความว่า หากพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ใดแล้ว ก็ให้ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ดังนี้ จึงเป็นข้อตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นจำเลย โดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยได้สิทธิเป็นเจ้าของพิพาท โจทก์จึงจะฟ้องขอให้พิพากษาให้ที่พิพาทนั้นเป็นของโจทก์ไม่ได้
เมื่อพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นจำเลย โดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยได้สิทธิเป็นเจ้าของพิพาท โจทก์จึงจะฟ้องขอให้พิพากษาให้ที่พิพาทนั้นเป็นของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1078/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและผลกระทบต่อสิทธิในที่ดิน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งมีข้อความว่า หากพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ใดแล้ว ก็ให้ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ดังนี้ จึงเป็นข้อตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยได้สิทธิเป็นเจ้าของที่พิพาท โจทก์จึงจะฟ้องขอให้พิพากษาให้ที่พิพาทนั้นเป็นของโจทก์ไม่ได้
เมื่อพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยได้สิทธิเป็นเจ้าของที่พิพาท โจทก์จึงจะฟ้องขอให้พิพากษาให้ที่พิพาทนั้นเป็นของโจทก์ไม่ได้