พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา: การพิจารณาคำให้การของผู้เสียหายและจำเลยที่สอดคล้องกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายไปแจ้งความและพาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับ อ. และ ว. ได้ที่บ้านเกิดเหตุ อ. และ ว. ให้การรับสารภาพตรงกันกับที่ผู้เสียหายแจ้งความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและจำเลยที่ 3 ยังให้การต่ออีกว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีลักษณะปัดความรับผิดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อันอาจทำให้น่าระแวงสงสัยแต่อย่างใด คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีรายละเอียดสอดคล้องรับกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 เองแม้จะให้การปฏิเสธ แต่ก็ยอมรับว่าพวกของจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งรับกันกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมข้างต้น เมื่อรับฟังประกอบกันแล้วมีเหตุผลเชื่อมโยงสนับสนุนกันเป็นลำดับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 และน่าเชื่อว่าเป็นความจริง
ส่วนที่ผู้เสียหายเบิกความว่า เหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อน ทั้งยังไปเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเพิ่งยกเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิด น่าเชื่อว่าสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากมารดาจำเลยที่ 1 และจากบิดาจำเลยที่ 2 จนเป็นที่พอใจแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า บันทึกคำให้การของ อ. และ ว. ที่ถูกฟ้องไปก่อนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 เป็นพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีโอกาสถามค้านนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถอ้างและนำสืบ อ. และ ว. เป็นพยานของตนได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟัง
ส่วนที่ผู้เสียหายเบิกความว่า เหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อน ทั้งยังไปเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเพิ่งยกเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิด น่าเชื่อว่าสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากมารดาจำเลยที่ 1 และจากบิดาจำเลยที่ 2 จนเป็นที่พอใจแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า บันทึกคำให้การของ อ. และ ว. ที่ถูกฟ้องไปก่อนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 เป็นพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีโอกาสถามค้านนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถอ้างและนำสืบ อ. และ ว. เป็นพยานของตนได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: จำเลยเป็นตัวการร่วม แม้รับจ้างขน และการริบของกลางที่ไม่ชอบ
จำเลยถูกจับขณะที่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลย แม้ฟังว่าจำเลยยึดถือครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางขณะอยู่ในช่วงระหว่างจำเลยรับขน และเมทแอมเฟตามีนของกลางจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุน
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทิน: การเพิ่มโทษหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ มิชอบ
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยที่ 1 จะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ปัญหาว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสีย, การส่งหมาย, ราคาขายทอดตลาด, และคำสั่งศาลถึงที่สุด
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิง แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดนั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้มีชื่อตามทะเบียนบ้านในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบก็ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่า: ความผิดฐานผู้ใช้
ขณะ บ. ใช้อาวุธปืนเล็งไปที่ผู้ตาย จำเลยที่ 2 พูดกับ บ. ว่า ยิงเลยๆ แล้ว บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการยุยงส่งเสริมให้ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เมื่อ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายและกระสุนปืนยังถูกผู้เสียหายได้รับอันตายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288, 80, 60 ประกอบมาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายขังระหว่างพิจารณาหลังผู้ประกันสิ้นสภาพสมาชิกสภาฯ และผลของการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาคืนศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 และในวันเดียวกัน ส. ได้ใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. 88 (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะนั้น แม้ในระหว่างพิจารณาจะปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมและควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินคดีที่ศาลอาญาก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้ศาลอาญาส่งตัวจำเลยมาพิจารณาคดีนี้ ศาลอาญาแจ้งว่าจะส่งตัวจำเลยให้เมื่อพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จนกระทั่งเมื่อได้ตัวจำเลยที่ 2 มาและเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส. ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันและออกหมายขังจำเลยที่ 2 ระหว่างพิจารณาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายขังระหว่างพิจารณาเมื่อมีสัญญาประกัน และการเพิกถอนสัญญาประกันเมื่อผู้ประกันไม่ได้ส่งตัวจำเลยคืนศาล
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยที่ 2 ไว้ในคดีนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะถูกจับและควบคุมตัวที่เรือนจำเพื่อดำเนินคดีอื่นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรมและการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา ข้อตกลงในสัญญาเช่ามีผลผูกพัน
การบอกเลิกการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องแจ้งการบอกเลิกต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีคำวินิจฉัยก่อน บังคับเฉพาะแต่การเช่านาซึ่งหมายถึงเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ และพืชไร่หมายความว่าพืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายในสิบสองเดือนตามที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ให้คำนิยามไว้ ดังนี้ ต้นมะพร้าวจึงไม่ใช่พืชไร่แต่เป็นพืชเกษตรกรรมอื่น ไม่อยู่ในบังคับให้ต้องแจ้งการบอกเลิกการเช่าต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อให้มีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงในสัญญาเช่าห้ามผู้เช่าขุดคู บ่อน้ำในที่ดินที่เช่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่า เป็นข้อกำหนดลักษณะการใช้ที่ดิน เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับว่าขุดคูและบ่อน้ำในที่ดินที่เช่าโดยได้รับอนุญาตด้วยวาจา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเนื่องจากกระทำไปโดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า ดังนี้ ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดข้อตกลงว่า กรณีผู้เช่ากระทำผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะเข้ายึดถือครอบครองที่เช่าได้โดยพลัน แม้การที่โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวออกจากที่ดินที่เช่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่า ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หลังจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่า ต่อมาอีกประมาณปีเศษโจทก์จึงเข้าปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิม ซึ่งเมื่อขณะจำเลยที่ 1 ขุดคูและบ่อน้ำ จำเลยที่ 1 ยอมรับจะปรับสภาพที่ดินให้เป็นไปดังเดิมภายหลัง ดังนี้ที่โจทก์เข้าปรับสภาพที่ดินรวมถึงรื้อถอนต้นมะพร้าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำตามข้อตกลงในสัญญาเช่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
ข้อตกลงในสัญญาเช่าห้ามผู้เช่าขุดคู บ่อน้ำในที่ดินที่เช่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่า เป็นข้อกำหนดลักษณะการใช้ที่ดิน เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับว่าขุดคูและบ่อน้ำในที่ดินที่เช่าโดยได้รับอนุญาตด้วยวาจา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเนื่องจากกระทำไปโดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า ดังนี้ ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดข้อตกลงว่า กรณีผู้เช่ากระทำผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะเข้ายึดถือครอบครองที่เช่าได้โดยพลัน แม้การที่โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวออกจากที่ดินที่เช่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่า ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หลังจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่า ต่อมาอีกประมาณปีเศษโจทก์จึงเข้าปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิม ซึ่งเมื่อขณะจำเลยที่ 1 ขุดคูและบ่อน้ำ จำเลยที่ 1 ยอมรับจะปรับสภาพที่ดินให้เป็นไปดังเดิมภายหลัง ดังนี้ที่โจทก์เข้าปรับสภาพที่ดินรวมถึงรื้อถอนต้นมะพร้าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำตามข้อตกลงในสัญญาเช่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ขัดแย้งกัน ทำให้ไม่อาจสืบพยานได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อขายบ้านกับ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้าน และการบอกเลิกการเช่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทกัน จำเลยไม่อุทธรณ์โต้เถียงในประเด็นดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาฎีกาเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายกระทง เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ข่มขืนใจ-ทำร้ายร่างกาย-แจ้งความเท็จ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำหรือกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงซึ่งมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องรวมกันมาเป็นข้อเดียว มิได้แยกกระทงแต่อย่างใด อีกทั้งการกระทำตามฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำการหลายอย่าง แต่ด้วยเจตนาเดียวกัน คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
1/1
1/1