คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานจากคำให้การและบาดแผลของผู้เสียหายเพียงพอรับฟังความผิด แม้ผู้เสียหายไม่มาเบิกความ
แม้โจทก์จะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานเพราะเหตุจำเป็นที่ผู้เสียหายหนีออกจากบ้านพักไม่สามารถติดตามตัวได้ แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายตามบันทึกคำให้การ และผลการชันสูตรบาดแผล ซึ่งตรวจหลังเกิดเหตุในวันเดียวกันและพบรอยถลอกที่ปากช่องคลอดและรอยช้ำที่เยื่อพรมจรรย์แล้วเชื่อว่าผู้เสียหายให้การไปตามความจริง บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินที่ริบตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องพิสูจน์เจ้าของทรัพย์สินในขณะกระทำผิดมิได้รู้เห็นเป็นใจ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ริบได้นั้นนอกจากความเป็นเจ้าของแล้วยังต้องได้ความว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว และย่อมมีความหมายถึงเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่มีการกระทำความผิดด้วย ทั้งการขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบแล้วดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา นอกจากผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบว่าผู้ร้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดแล้ว ผู้ร้องก็ยังมีหน้าที่นำสืบว่าเจ้าของทรัพย์สินในขณะกระทำความผิดไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดซึ่งคดีนี้ผู้ร้องมิได้นำสืบให้เห็นว่า จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางในขณะที่จำเลยกระทำความผิดรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่า จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางในขณะกระทำความผิดไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงพลาด และการฎีกาเรื่องการลงโทษที่ไม่ชอบ
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงมีอานุภาพที่จะใช้ยิงทำให้ถึงแก่ความตายได้ถ้าถูกอวัยวะสำคัญ แต่การที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายบริเวณต้นแขนขวา ก็เนื่องจากผู้เสียหายรู้ตัวจึงเอี้ยวตัวหลบได้ทัน โดยจำเลยเล็งปืนมาที่หน้าอกของผู้เสียหาย ซึ่งขณะนั้นจำเลยยืนอยู่ห่างจากผู้เสียหายเพียง 3 เมตร หากผู้เสียหายไม่เอี้ยวตัวหลบกระสุนปืนอาจถูกบริเวณหน้าอกซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าผู้เสียหายอาจได้รับอันตรายถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้จำเลยยังได้เล็งปืนไปที่ผู้เสียหายทำท่าจะยิงซ้ำ แต่นาย ค. ได้เข้าไปปัดมือของจำเลยเสียก่อนแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่ามีความประสงค์ต้องการฆ่าผู้เสียหายให้ถึงแก่ความตายแต่ไม่สามารถยิงซ้ำได้เพราะนาย ค. ปัดมือจำเลยเสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงบ่งชี้ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
สำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษในสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเนื่อง ฉุดลาก ทำร้ายร่างกาย และหน่วงเหนี่ยวกักขัง เป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกใช้กำลังฉุดลากผู้เสียหายที่ 3 กับทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกันไม่ขาดตอนด้วยเจตนาฉุดลากผู้เสียหายที่ 3 ไปให้เป็นผลสำเร็จเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ขนส่งที่นำไปเป็นของตนเอง ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้า จำเลยนำสินค้าไปเป็นของตนเอง โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้ลูกค้าอีกครั้งทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกเอาก็เท่ากับราคาสินค้าที่ได้มอบให้จำเลยไปจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความฟ้องร้อง ทั้งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความตามมาตรา 624 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีผู้รับขนส่งไม่ได้ส่งมอบสินค้า ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืน ไม่มีอายุความ
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยรับขนสินค้าไปส่งมอบให้วิทยาลัยการอาชีพ ท. จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์แล้วแต่มิได้นำสินค้าไปส่งมอบให้ตามสัญญา โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้แก่วิทยาการอาชีพ ท. อีกครั้ง และนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เท่ากับราคาสินค้าของโจทก์ที่ได้มอบให้จำเลยไป จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความฟ้องร้องอีกทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าได้นำสินค้าของโจทก์ไปส่งมอบให้แก่ผู้รับแล้ว มิได้ต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อหนี้สถาบันการเงินและการเรียกร้องดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกัน และผลของการฟื้นฟูกิจการ
ส. มิได้เป็นพนักงานของโจทก์แต่เป็นลูกจ้างของบริษัท บ. ซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารและบริการทรัพย์สินสินเชื่อที่โจทก์ซื้อมาจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ ส. มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับมูลหนี้ รวมทั้งมูลหนี้ของจำเลยในคดีนี้การที่ ส. ตรวจสอบมูลหนี้ของจำเลยจากเอกสารต่างๆ ถือว่า ส. เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร จึงสามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารได้ การที่ ส. เบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจและมอบอำนาจช่วง จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันเมื่อมูลหนี้ระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง
กรณีคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่จำเป็นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอาญา
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย อาการป่วยทนายความที่ไม่ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถดำเนินการยื่นคำร้องได้ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยจะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบและด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น แต่ปรากฏว่า วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ทนายจำเลยไปรับยาที่โรงพยาบาล แสดงว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยดังที่กล่าวอ้างจึงไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ทั้งทนายจำเลยยังรับในคำร้องว่าเป็นความพลั้งเผลอของทนายจำเลยจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนด อันนับเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยอีกด้วย ข้ออ้างของทนายจำเลยจึงมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัยตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนฎีกาจำเลยที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยนั้นอันเป็นฎีกาที่ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย แต่ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของทนายจำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยและความพลั้งเผลอของทนายจำเลย มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความเจ็บป่วยและเหตุผลอื่นต้องเป็นเหตุที่เกินกว่าจะแก้ไขได้
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบ และด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น ปรากฏว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยจึงไม่มีถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ข้ออ้างของทนายจำเลยมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย
of 31