พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนด และผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งให้ทราบ
ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่งเนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7232/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การกระทำของบุคคลภายนอกไม่ใช่เหตุให้บังคับคดีโจทก์
โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติผิดจากข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม การที่บุคคลภายนอกนำเสาปูนมาปักหน้าประตูรั้วเหล็กก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บุคคลภายนอกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7232/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีบุคคลภายนอกกระทำการขัดขวาง สิทธิของจำเลยไม่ได้ถูกละเมิดโดยโจทก์
คำร้องขอออกหมายบังคับคดีของจำเลยทั้งสองระบุว่า มีบุคคลภายนอกนำเสาปูนมาปักหน้าประตูรั้วเหล็กทำให้ไม่อาจนำรถยนต์ผ่านเข้าออกทางจำเป็นได้ ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือผิดข้อตกลงที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา การที่บุคคลภายนอกเป็นผู้นำเสาปูนมาปักหน้าประตูรั้วเหล็กก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงยังไม่มีเหตุออกหมายบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินยังไม่จดทะเบียน สิทธิยังไม่โอน การครอบครองเป็นเพียงการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
คดีนี้โจทก์เบิกความว่า เมื่อทำสัญญาซื้อขายแล้ว อ. ได้ส่งมอบที่ดินกับบ้านพิพาทที่โจทก์ครอบครองอยู่ก่อนแล้วตามสัญญาเช่าให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์และโจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับ อ. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์และ อ. ทำขึ้นแก่กันโดยกำหนดข้อตกลงให้คู่สัญญาไปจดทะเบียนโอนแก่กันหลังจากทำสัญญาซื้อขาย 5 ปีเศษ ดังนี้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองก็ยังไม่โอนไปยังโจทก์ผู้จะซื้อ และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองก็ยังไม่โอนไปยังโจทก์ผู้จะซื้อ แม้จะมีการส่งมอบการครอบครองแต่ อ. ผู้จะขายก็ยังไม่มีเจตนาสละการครอบครอง การครอบครองของโจทก์เป็นเพียงการครอบครองแทน อ. ผู้จะขายเท่านั้น โจทก์ไม่อาจอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้างศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
เมื่อฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่และให้โจทก์ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การที่โจทก์ยังคงอยู่จึงเป็นการละเมิดทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย
เมื่อฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่และให้โจทก์ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การที่โจทก์ยังคงอยู่จึงเป็นการละเมิดทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7166/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน: การซื้อร่วมกันและผลกระทบต่อการครอบครองและแบ่งกรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 ให้การตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยซื้อมาจาก ท. และได้ใส่ชื่อ ส. ไว้แทน เพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังเป็นคนต่างด้าวอยู่ภายหลังจึงให้ใส่ชื่อ ต. ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ทั้งสามไว้แทน แต่ในตอนหลังกลับให้การว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยนั้น ซึ่งหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว ย่อมไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการครอบครองที่ดินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปในตัว คำให้การของจำเลยที่ 1 ในประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงขัดแย้งกันเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสามว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสาม แต่เป็นของจำเลยที่ 1 คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 หรือโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา" ดังนั้นไม้ยางที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จะต้องเป็นไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร ส่วนไม้เต็งและไม้แดงซึ่งเป็นไม้อื่นจะเป็นไม้หวงห้ามก็จะต้องเป็นไม้ในป่า ซึ่งตามนิยามคำว่า "ป่า" ในมาตรา 4(1) ให้หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงต้องแปลความว่าไม้เต็งและไม้แดงจะเป็นไม้หวงห้ามต้องเป็นไม้ในราชอาณาจักร คดีนี้ไม้ยางไม้เต็งและไม้แดงของกลางมิได้เป็นไม้ในราชอาณาจักร แต่เป็นไม้ที่นำเข้าจากประเทศสหภาพพม่า จึงไม่ใช่ไม้หวงห้าม ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไม้แปรรูปของกลางไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 แต่อย่างใด เพราะกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์: ศาลสั่งได้แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งค่าขึ้นศาลในชั้นรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเคลื่อนย้ายไม้ผิดกฎหมายโดยไม่มีใบเบิกทาง ศาลฎีกาแก้เป็นยกฟ้องข้อหานี้ แม้มีไม้ผิดกฎหมาย
จำเลยมีไม้ของกลางโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยนำไม้ของกลางเคลื่อนที่จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 อันจะขอใบเบิกทางได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดข้อหานำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซ้ำ ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 ว.พ.พ.
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ โดยให้เหตุผลว่า สถานที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงกับแผนที่ประกอบประกาศขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะผู้ร้องไม่ไปศาล ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดี ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในลักษณะเดิมอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จากข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องในการตรวจสอบรายละเอียดที่ตั้งของทรัพย์ตามแผนที่ในประกาศขายทอดตลาด การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นก็ดี การไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องในเวลาต่อมาก็ดี ทำให้ประเด็นตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดโดยคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้โดยเหตุผลเดียวกันอีก จึงเป็นการขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144