คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รัตน กองแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นสั่งทิ้งอุทธรณ์คำสั่งโดยมิชอบ ก้าวล่วงอำนาจศาลอุทธรณ์ และวินิจฉัยข้ามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้โจทก์ แต่จำเลยได้วางค่าธรรมเนียมในการส่งหมายโดยมิได้นำส่งเอง จำเลยจึงมีหน้าที่ติดตามผลการส่งหมายว่าส่งได้หรือไม่อย่างไร เมื่อปรากฏว่าส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ และจำเลยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรภายใน 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยแล้ว กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีทั้งหมดภายหลังจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งหรือมีคำพิพากษาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นคำสั่งที่ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของศาลอุทธรณ์และไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนั้นได้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์คำสั่งไปอย่างไรย่อมทำให้การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาสิ้นสุดลงและศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งกำหนดระยะเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพื่อที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปเนื่องจากในขณะที่จำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้น ระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียในตอนนี้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนไปสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและเป็นการไม่ชอบ การที่ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งกรณีขอให้เพิกถอนคำสั่งทิ้งอุทธรณ์คำสั่งและไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง กลับวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทิ้งอุทธรณ์คำสั่งและไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเป็นการชอบแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยที่ข้ามขั้นตอนของกฎหมายและเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดิน: คำนวณตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงตามธนาคารออมสิน ไม่ใช้อัตราคงที่ 12 เดือน
ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า จะต้องคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. ที่ธนาคาร อ. มีการประกาศเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงทุกครั้งไป หาใช่ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันเริ่มต้นคิดคำนวณเป็นหลักตลอดระยะเวลา 12 เดือน เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบในส่วนต่างของดอกเบี้ยอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6044/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินก่อนของผู้เช่านา vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องความชอบธรรมของสิทธิ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 มีการวางมัดจำกันไว้แล้วบางส่วน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันคือชำระราคาส่วนที่เหลือ และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่กัน ดังนั้น การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ อ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจึงมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 โดยตรง เพราะแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 แต่การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ ย่อมเป็นผลให้จำเลยที่ 1 เสียสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลในคดีนี้เพื่อให้ฟังว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่านา แต่สมรู้กับจำเลยที่ 2 มาฟ้องคดีนี้ และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วยได้ และปัญหาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
การที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ว่า โจทก์สมคบกับจำเลยที่ 2 มาฟ้องคดีนี้ เพราะจำเลยที่ 2 ต้องการที่ดินพิพาทคืน จำเลยที่ 1 จึงมิใช่คู่ความเดียวกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถามค้านพยานจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาลตามกฎหมายด้วยในการพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากทางพิจารณาเพียงพอแล้วหรือไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถามค้านพยานจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า ไม่มีเหตุสมควรต้องย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่
บุคคลที่จะขอใช้สิทธิซื้อที่นาได้ก่อนผู้อื่นตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 และมาตรา 54 จะต้องเป็นผู้เช่านาตามกฎหมาย โดยเป็นผู้เช่าที่ดินดังกล่าวทำนาโดยแท้จริงเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989-5990/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งคืนส่วนเกินให้จำเลย
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 558,545.54 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 13,962.50 บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาแก่จำเลย และเมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนอุทธรณ์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์ฉบับเดียวกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกบ้านให้เป็นการบริจาค (สังหาริมทรัพย์) ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และความรับผิดจากอุบัติเหตุทางละเมิด
น. ยกให้เฉพาะที่ดินที่ปลูกบ้านเกิดเหตุให้แก่ บ. โดยไม่รวมบ้าน และยกบ้านเกิดเหตุให้แก่โจทก์เพื่อให้รื้อถอนไปสร้างใหม่ บ้านเกิดเหตุจึงไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินและเป็นการยกให้ในลักษณะสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ การยกให้บ้านเกิดเหตุจึงสมบูรณ์โดยหาจำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ มาตรา 229 ป.วิ.พ. กรณีอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดี ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียม
ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้ ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วยเป็นบทใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมด โดยให้ดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ใหม่และขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์พิจารณาเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาและไต่สวนพยานของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคดีใหม่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาและอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอท้ายอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ที่ยังไม่แน่นอนตามสัญญาประนีประนอมและการมีข้อต่อสู้เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง
การที่โจทก์กับมูลนิธิ ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าโจทก์ตกลงชำระเงิน 7,500,000 บาท แก่มูลนิธิ ท. โดยมีเงื่อนไขว่า มูลนิธิ ท. จะไม่ขอรับเงินจำนวนดังกล่าวที่โจทก์นำมาวางศาลจนกว่าคดีหมายเลขดำที่ ทป. 83/2541 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มูลนิธิ ท. จำเลย และ ส. จะได้รับเงินฝ่ายละเท่าใดเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า ส่วนแบ่งของจำเลยในเงิน 7,500,000 บาท ยังไม่แน่นอนจนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุด ดังนี้ แม้โจทก์จะรับว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยและยินยอมให้จำเลยนำหนี้ดังกล่าวมาหลักกลบลบหนี้ได้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ตาม แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องของจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยย่อมไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ตามฟ้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านที่ดินของผู้อื่นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ: ทางสาธารณะรวมถึงทางน้ำ แม้จะไม่สะดวก
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้" ทางสาธารณะมิได้จำกัดเฉพาะทางบกเท่านั้นทางน้ำเช่นแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐก็เป็นทางสาธารณะ แม้การสัญจรทางแม่น้ำนครชัยศรีจะไม่สะดวกไม่สอดคล้องกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเท่าการสัญจรทางบกดังที่โจทก์ทั้งสองอ้าง ก็หาทำให้แม่น้ำนครชัยศรีสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งสองตลอดแนวด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำนครชัยศรี โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองสู่แม่น้ำนครชัยศรี ต้องข้ามสระ บึง หรือมีที่ชันอันมีระดับที่ดินกับแม่น้ำนครชัยศรีซึ่งเป็นทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก อันจะถือเป็นเหตุอนุโลมเสมือนว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาประนีประนอมยอมความเหนือกว่าสิทธิเจ้าหนี้จากการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องกับจำเลยสมคบกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ โดยต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง แต่โจทก์ทั้งสองกลับมีเพียงรายงานสรุปการขายเอกสารหมาย จ.1 คำเบิกความของ ส. เอกสารหมาย จ.2 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเอกสารหมาย จ.3 และรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ป. เอกสารหมาย จ.4 มาแสดง ซึ่งตามบันทึกคำเบิกความเอกสารหมาย จ.2 แม้ ส. อ้างว่าไม่ปรากฏรายชื่อผู้ร้องในรายงานสรุปการขายของจำเลยเอกสารหมาย จ.1 จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยก็ตามแต่รายชื่อลูกค้าตามเอกสารหมาย จ.1 มิใช่รายชื่อลูกค้าทั้งหมด จึงยังไม่อาจสรุปจากเอกสารหมาย จ.1 ได้ว่า ผู้ร้องมิได้เป็นลูกค้าของจำเลย ทั้งตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.4 ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่พอจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย
เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตามมูลหนี้สัญญาจะซื้อจะขาย และศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนย่อมเกิดขึ้นทันที ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองจึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้อันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้ไม่
การที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทนเท่านั้น หามีผลให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดียึดทรัพย์หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อจะขาย และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้อันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 การที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทนเท่านั้น ไม่มีผลให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไป
of 39