คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รัตน กองแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ควรกำหนดตามหลักเกณฑ์เดียวกับ พ.ร.บ.เวนคืนฯ และดอกเบี้ยนับจากวันที่วางเงิน
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ (มาตรา 30 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินโดยมิได้บัญญัติรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ดังนั้น การที่จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ก็ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงิน วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2542 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุให้ไปรับวันใด แต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 วันดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'JobsDB' ไม่บ่งเฉพาะ ขัดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ เนื่องจากเป็นคำผสมทั่วไปและเล็งถึงลักษณะบริการ
การนำคำที่มีความหมายมารวมกับตัวอักษรบางตัว เช่น การนำอักษรโรมันคำว่า Jobs ซึ่งแปลว่า "งาน" มารวมกับอักษรโรมัน DB ยังไม่มีลักษณะถึงขนาดที่จะเป็นคำประดิษฐ์อันควรได้รับความคุ้มครองด้วยการจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (3) และเมื่อโจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าว เครื่องหมายบริการคำว่า "JobsDB" ของโจทก์จึงเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนโดยตรงขัดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย ส่วนในเรื่องชื่อเต็มของนิติบุคคลนั้น กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะไม่ให้มีการผูกขาดการใช้คำสั้นๆ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนิติบุคคลหรือชื่อย่อของนิติบุคคลในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ อันจะทำให้บุคคลอื่นที่สุจริตเสียโอกาสในการใช้คำเดียวกันนั้น และเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติบุคคลจะเห็นได้ว่า คำว่า "บริษัท" และ "จำกัด" ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลแต่อย่างใด คำว่า "JobsDB" จึงเป็นชื่อเต็มของโจกท์นั่นเอง ไม่ใช่ชื่อนิติบุคคลที่มีคำแสดงฐานะของนิติบุคคลประกอบด้วย ดังนั้น เครื่องหมายบริการคำว่า "JobsDB" ของโจทก์ไม่มีลักษณะพิเศษใดๆ จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 (1) เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยครบถ้วน การชำระค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียวไม่เพียงพอ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น แต่มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยแต่งทนายความเพื่อช่วยในการพิจารณามาโดยตลอดรวมทั้งในการยื่นอุทธรณ์และการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าตนไม่ทราบข้อที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวได้ การที่จำเลยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลนับเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาการยึดทรัพย์จำนอง: รวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ในชั้นพิจารณาก็ปรากฏตามสัญญาจำนองว่าเป็นการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงปรากฏแต่เพียงว่าขอให้ยึดทรัพย์จำนอง ที่ดินและ "สร้าง" ออกขายทอดตลาดเมื่อทรัพย์จำนองได้แก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ย่อมยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67333 ตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบ โดยไม่ระบุให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดด้วย จึงเป็นกรณีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเนื่องมาจากการพิมพ์คำขอท้ายฟ้องผิดพลาดและมิได้มีการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว จึงมีเหตุสมควรที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเนื่องจากจำเลยไม่ทราบการฟ้องและไม่ได้แต่งตั้งทนายความ
การที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4 มิได้มีภูมิลำเนาที่แท้จริงอยู่ตามฟ้อง ไม่เคยทราบว่าถูกฟ้อง ไม่เคยแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีและไม่เคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่ากับจำเลยที่ 4 อ้างว่าการส่งหมายและกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ดังนั้น หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจนกระทั่งศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยหลงผิด จำเลยที่ 4 ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องของจำเลยที่ 4 ไว้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5275/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การปฏิเสธหนี้โดยอ้างเอกสารปลอม ต้องระบุรายละเอียดการปลอมชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ
แม้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจะอ้างเรื่องเอกสารปลอมขึ้นเป็นเหตุแห่งการปฏิเสธ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าเป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือในส่วนหนึ่งส่วนใด หรือเป็นการปลอมโดยการกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง นอกจากนี้จำเลยทั้งสองอ้างว่าเอกสารเกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของโจทก์กับพวก โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมให้กระทำได้ นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ ก็เป็นการให้การทำนองยอมรับว่าจำเลยทั้งสองเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์จริง แต่ทำไปเพราะถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกล่าวอ้างว่าเอกสารเป็นเอกสารปลอม คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง และไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และมาตรา 172 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของบุคคลภายนอกต่อหนี้ของห้าง ความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ก็หามีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนและบุคคลภายนอกที่เข้าไปดำเนินกิจการ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ การที่จำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมายบังคับคดีสิ้นผลเมื่อเจ้าหนี้ถอนการบังคับคดี แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอเพิกถอนหมายบังคับคดีแล้ว
ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพิกถอนการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยเป็นคำร้องที่สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ขอถอนการบังคับคดีเนื่องจากจำเลยยินยอมชำระหนี้แก่โจทก์จนเป็นที่พอใจ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการบังคับคดีแล้ว ก็ย่อมทำให้หมายบังคับคดีเป็นอันสิ้นผลไป ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีอีกต่อไปและมีคำสั่งจำหน่ายอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ส่วนจำเลยหากถูกโต้แย้งสิทธิหรือได้รับความเสียหายจากการดำเนินการบังคับคดีของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ต้องพิสูจน์เจตนาหรือสำนึกถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) นั้น ต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างต้องกระทำโดยรู้สำนึกของการกระทำว่าจะเกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การที่นาง ศ. เพียงแต่ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างนาง ศ. กับนางสาว ก. ที่นางสาว ก. เป็นบุตรสะใภ้ของนาง ศ. และบุตรชายของนาง ศ. ซึ่งเป็นสามีของนางสาว ก. ทำงานอยู่ในโรงงานอื่นที่โจทก์เห็นว่าเป็นคู่แข่งทางการค้าโดยไม่ปรากฏว่าได้นำความลับของโจทก์ไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอกหรือมีข้อเท็จจริงอื่นใดว่านาง ศ. ได้กระทำการใดที่แสดงถึงความตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้จัดทำข้อห้ามที่ว่าผู้สมัครเข้าทำงานกับโจทก์จะต้องไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับโรงงานที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรปิดประกาศไว้และโจทก์อ้างว่ารับสมัครคนงานใหม่ที่เป็นญาติของคนงานที่ทำในปัจจุบันเพื่อให้คนงานเก่าอธิบายและแจ้งให้คนงานใหม่ทราบถึงกฎข้อบังคับโดยโจทก์ไม่ต้องอธิบายหรือประกาศให้คนงานใหม่ทราบ ก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้ใส่ใจเคร่งครัดใช้กฎข้อบังคับที่อ้างว่ามีอยู่ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ก็ไม่ได้ระบุให้การไม่แจ้งความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานให้โจทก์ทราบเป็นความผิดแต่อย่างใด การที่นาง ศ. ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
of 39