พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้เพื่อแสดงลักษณะการใช้
ภาพประดิษฐ์ และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ดังที่ปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตรงส่วนด้านล่าง เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเครื่องหมายทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้นำสืบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เห็นว่า นอกจากผู้ขอจดทะเบียนจะแสดงภาพประดิษฐ์ของตัวเครื่องหมายการค้าในคำขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนให้ปรากฏในคำนำขอจดทะเบียนอันเป็นการเพิ่มเติมไปจากการแสดงให้เห็นถึงตัวเครื่องหมายการค้าได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า ภาพประดิษฐ์และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อของโจทก์เป็นเพียงภาพเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ มิได้มีความหมายสื่อไปถึงว่าเป็นภาพเครื่องหมายที่ถูกแสดงประกอบวิธีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22195/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาเจตนาเลียนแบบและความแตกต่างของเครื่องหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เหตุเกิดระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงวันฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับความคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าในวันเกิดเหตุคดีนี้ จึงมีอำนาจฟ้อง
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือ คำว่า I - VISON ซึ่งเครื่องหมายการค้าของฝ่ายโจทก์มีรูปวงรีแบบเปิดอยู่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม และเครื่องหมายการค้าของฝ่ายจำเลยที่ 1 มีคำว่า by SAMART เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเช่นกัน ดังนั้น หากเมื่อพิจารณาในส่วนอักษรโรมัน I และคำว่า VISION แล้ว รูปลักษณะเครื่องหมายทั้งสองมีถ้อยคำสาระสำคัญเหมือนกันและเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่วไปหากไม่ใช้ความสังเกตย่อมมีความเห็นไปได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรโรมัน I และคำว่า VISION ต่างเป็นถ้อยคำสามัญ โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันเอาไว้ใช้เพียงผู้เดียว และโจทก์ยังได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน I แล้ว เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้ดัดแปลงประดิษฐ์ตัวอักษร S ตรงกลางเครื่องหมาย และยังเพิ่มคำว่า by SAMART ด้านล่างของเครื่องหมาย เพื่อให้แตกต่างจากของโจทก์ และหากจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์ในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์แล้วก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะอ้างอิงแสวงหาประโยชน์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะอยู่ระหว่างอุทธรณ์แต่ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือคำว่า ว่า I - VISION ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 โดนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือ คำว่า I - VISON ซึ่งเครื่องหมายการค้าของฝ่ายโจทก์มีรูปวงรีแบบเปิดอยู่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม และเครื่องหมายการค้าของฝ่ายจำเลยที่ 1 มีคำว่า by SAMART เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเช่นกัน ดังนั้น หากเมื่อพิจารณาในส่วนอักษรโรมัน I และคำว่า VISION แล้ว รูปลักษณะเครื่องหมายทั้งสองมีถ้อยคำสาระสำคัญเหมือนกันและเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่วไปหากไม่ใช้ความสังเกตย่อมมีความเห็นไปได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรโรมัน I และคำว่า VISION ต่างเป็นถ้อยคำสามัญ โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันเอาไว้ใช้เพียงผู้เดียว และโจทก์ยังได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน I แล้ว เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้ดัดแปลงประดิษฐ์ตัวอักษร S ตรงกลางเครื่องหมาย และยังเพิ่มคำว่า by SAMART ด้านล่างของเครื่องหมาย เพื่อให้แตกต่างจากของโจทก์ และหากจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์ในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์แล้วก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะอ้างอิงแสวงหาประโยชน์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะอยู่ระหว่างอุทธรณ์แต่ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือคำว่า ว่า I - VISION ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 โดนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21854/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ: หลักเกณฑ์ความถูกต้องและอำนาจฟ้องร้อง
โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมทั้งสองเบิกความเป็นพยาน เมื่อหนังสือรับรองมีผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อและมีการรับรองต่อ ๆ กันมาตามลำดับ โดยมีตัวแทนของผู้มีอำนาจจะกระทำแทนโจทก์ร่วมทั้งสองยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองจะไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก แต่ก็มีตัวแทนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือหนังสือมอบอำนาจจริง จึงรับฟังได้ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม ไม่ได้บังคับว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก เพียงแต่บัญญัติให้โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อพยานก็เพียงพอ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งกระทำในต่างประเทศดังกล่าวถือว่าได้ว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานโนตารีและของสถานทูตไทยรับรองหนังสือมอบอำนาจของโจทก์อีกชั้นหนึ่งว่า ลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่โนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยจริงอีกชั้นหนึ่งด้วย จึงมีความน่าเชื่อถือ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่นำสืบหักล้างให้เห็นว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสอง และไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์คดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจริง ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ร่วมทั้งสองจึงมีอำนาจร้องทุกข์และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11151/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างออกแบบ: งานออกแบบต้องสร้างสรรค์ใหม่ ห้ามลอกเลียนงานผู้อื่น มิฉะนั้นถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยเป็นผู้มีอาชีพในการรับจ้างออกแบบและเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินธุรกิจของโจทก์ ย่อมทราบดีเกี่ยวกับธุรกิจการค้าขายข้าวของโจทก์ โดยรูปประดิษฐ์รวงข้าวที่จำเลยออกแบบเพื่อใช้กับเครื่องเขียนสำนักงาน ชุดเครื่องแบบ หัวจดหมาย ซองจดหมาย นามบัตร อันเป็นการนำไปใช้ในการประกอบกิจการการค้าขายข้าวของโจทก์ซึ่งควรเป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์เพื่อให้โจทก์ใช้โดยเฉพาะและไม่เหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่มีแต่ก่อให้เกิดความสับสนได้ ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะใช้เป็นเพียงสัญลักษณ์ธรรมดาที่ไม่ถึงขนาดประสงค์จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการก็ตาม สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยออกแบบรูปประดิษฐ์ให้โจทก์ เป็นสัญญาการออกแบบเพื่อใช้ในทางการค้าขายข้าว รูปประดิษฐ์รวงข้าวที่จำเลยออกแบบให้แก่โจทก์ตามสัญญาจึงต้องเป็นรูปประดิษฐ์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ที่นำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา จึงต้องไม่เป็นการลอกเลียนงานหรือทำซ้ำงานของบุคคลอื่น ในอันที่จะทำให้โจทก์ถูกผู้อื่นฟ้องหรือเสียหายในทางการค้า
การที่จำเลยไม่ได้ออกแบบรูปประดิษฐ์รวงข้าวพิพาทด้วยตนเองแต่กลับเพียงดัดแปลงแบบของบุคคลอื่นมาจากเว็บไซต์ซึ่งเหมือนกับรูปประดิษฐ์รวงข้าวในเว็บไซต์ของบุคคลอื่นซึ่งใช้รูปประดิษฐ์กับสินค้าข้าวสารเช่นเดียวกับโจทก์ อันอาจทำให้โจทก์ถูกบุคคลฟ้องร้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปประดิษฐ์รวงข้าว หรือละเมิดเครื่องหมายการค้ารูปประดิษฐ์รวงข้าวอันจะทำให้โจทก์เสียหายทางการค้าได้ จึงเป็นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนนี้ต่อโจทก์
การที่จำเลยไม่ได้ออกแบบรูปประดิษฐ์รวงข้าวพิพาทด้วยตนเองแต่กลับเพียงดัดแปลงแบบของบุคคลอื่นมาจากเว็บไซต์ซึ่งเหมือนกับรูปประดิษฐ์รวงข้าวในเว็บไซต์ของบุคคลอื่นซึ่งใช้รูปประดิษฐ์กับสินค้าข้าวสารเช่นเดียวกับโจทก์ อันอาจทำให้โจทก์ถูกบุคคลฟ้องร้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปประดิษฐ์รวงข้าว หรือละเมิดเครื่องหมายการค้ารูปประดิษฐ์รวงข้าวอันจะทำให้โจทก์เสียหายทางการค้าได้ จึงเป็นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนนี้ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยพิบัติทางทะเลและความรับผิดตามสัญญาประกันภัย การพิสูจน์ความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พฤติการณ์ที่โจทก์ได้ดำเนินการนำเรือทั้งสามลำกลับมาประเทศไทยด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์ รวมทั้งได้เอาประกันภัยเรือทั้งสามลำในระหว่างเดินทางไว้กับจำเลย เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดว่า โจทก์ได้รับโอนความเสี่ยงภัยในเรือทั้งสามลำจากผู้ขายตั้งแต่ก่อนเรือทั้งสามลำออกเดินทางแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรือชูไก 2 ในขณะเรือชูไก 2 สูญหายไป สัญญาประกันภัยเรือชูไก 2 ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของเรือชูไก 2 จากจำเลยได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางทะเลผิดสัญญา การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์ และค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งลำไยอบแห้งจากจังหวัดเชียงใหม่ไปส่งให้แก่บริษัท ซ ที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ จากท่าเรือแหลมฉบังไปส่งที่ท่าเทียบเรือหมายเลข 9 และ 14 ปรากฏว่าจำเลยจัดส่งสินค้าดังกล่าวไปที่ท่าเทียบเรือหมายเลข 4 ท่าเรือไหว่เกาเชียว เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งพยานจำเลยก็ยอมรับว่า ที่เมืองเซี่ยงไฮ้มีท่าเรือขนาดใหญ่อยู่ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือไหว่เกาเชียว ท่าเรือวูซองและท่าเรือหยานชาง และข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างได้ความว่าท่าเรือไหว่เกาเชียวไม่มีท่าเรือหมายเลข 9 และ 14 ดังนั้น จึงรับฟังได้ว่า หากกล่าวถึงท่าเรือหมายเลข 9 และ 14 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ย่อมหมายถึงท่าเรือวูซองหมายเลข 9 และ 14 ดังที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ขนส่งสินค้าของโจทก์ไปยังท่าเรือปลายทางที่ตกลงไว้ การที่บริษัท ซ. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งมารับสินค้าไปจากจำเลยที่ท่าเรือปลายทาง ซึ่งมิใช่ท่าเรือที่ตกลงกันไว้ภายในกำหนดเวลาและสินค้าอยู่ในสภาพปกติไม่มีความเสียหาย ก็ถือได้ว่าการปฏิบัติการชำระหนี้ของจำเลยเป็นกรณีไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้กับโจทก์ หากโจทก์ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1832/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าจากการขนส่งทางเรือ และข้อยกเว้นเหตุสุดวิสัย
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ขนส่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าพิพาทไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง การที่มีผู้ขับเรือนำเรือลำเลียงมารับสินค้าพิพาทเพื่อขนส่งไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสองย่อมเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อสินค้าพิพาทเสียหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 เวลา 9 นาฬิกา ถึงเวลา 16.30 นาฬิกา มีความหมายว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะออกนั่งพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา และพิจารณาคดีต่อเนื่องกันไปจนเสร็จการพิจารณา เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้วก็จะมีคำพิพากษาโดยเร็วต่อเนื่องกันไปเช่นกัน เมื่อจำเลยไม่มาศาลก่อนศาลเริ่มต้นสืบพยานโจทก์โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีจึงถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จการพิจารณาและโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกหน้าสำนวนแสดงว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้ว ต่อมาเวลา 14 นาฬิกา ของวันเดียวกันทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบ มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เสนอคำขอเลื่อนคดีต่อศาลก่อนหรือในวันนัดพิจารณา ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะล่วงเลยเวลานั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151-8152/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สินค้าต่างประเภท แม้เสียงคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HEXAXIM" ของโจทก์ขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกที่ 5 คือ ยา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ของ ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นวัคซีน ส่วนสินค้าของ ค. เป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรค ใช้ในทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับไวรัส แม้เป็นสินค้าจำพวกยาเหมือนกัน แต่มีลักษณะการใช้แตกต่างกัน โดยวัคซีนของโจทก์ใช้ฉีดสำหรับเด็กเพื่อป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน ฯลฯ ไม่ได้จำหน่ายแก่ร้านค้าหรือร้านขายยาทั่วไป แต่ขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายนำสินค้าไปกระจายให้แก่โรงพยาบาลหรือผู้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ วัคซีนนี้ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น บนกล่องระบุชัดเจนว่าเป็นยาอันตราย ผู้ใช้คือแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ส่วนสินค้าเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ที่จดทะเบียนแล้วซึ่งเป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรคใช้ในทางการแพทย์นั้น กลุ่มผู้ใช้สินค้าคือนักเทคนิคการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้สารในการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ เป็นต้น ไม่มีจำหน่ายตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ต้องซื้อจากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิต โดยตัวแทนจะติดต่อกับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยตรงและมีราคาสูง ส่วนวัคซีนตัวแทนจำหน่ายจะติดต่อกับแพทย์ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้ว่าผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "HEXAXIM" กับผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "EXAZYM" เป็นคนละกลุ่มกัน และผู้ใช้สินค้าแต่ละกลุ่มต่างก็เป็นผู้มีวิชาชีพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะทาง ย่อมสามารถแยกแยะสินค้าทั้งสองได้โดยไม่สับสนหรือหลงผิด นอกจากนั้น ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าก็แตกต่างกัน ทั้งไม่ได้วางจำหน่ายในร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าสับสนหรือหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการฟื้นฟูกิจการต่อหนี้ค้ำประกัน: การปลดเปลื้องหนี้และการไม่มีอำนาจฟ้อง
กฎหมายฟื้นฟูกิจการกำหนดให้เจ้าหนี้ในมูลหนี้เงินทั้งหลายของลูกหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทุกประเภทไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขก็ตามได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินทั้งปวงของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้นได้รับการชำระสะสางไปภายในกรอบของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว จะทำให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้มาผูกพันกันตามที่กำหนดไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนหนี้อื่น ๆ ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นลูกหนี้จะได้รับการปลดเปลื้องไป และต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว ในส่วนหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ลูกหนี้ก็คงต้องรับผิดเฉพาะหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ซึ่งยังค้างชำระอยู่ตามที่กำหนดไว้ในแผน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ได้ตกลงผูกพันตนเข้าค้ำประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อบริษัท ท. ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือว่า มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์นั้น ก็เนื่องจากบริษัท ท. เจ้าหนี้ ได้ยื่นคำขอ รับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว ตามมาตรา 90/27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 101 ทั้งนี้เนื่องจากมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อบริษัท ท. และมูลหนี้ตามภาระค้ำประกันนั้นเป็นมูลหนี้จำนวนเดียวกัน หาใช่มูลหนี้ของโจทก์เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและจำเลยได้ชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้ว และศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามแผนอีกต่อไป การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. นั้น โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในการที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในฐานะผู้ค้ำประกันที่ได้ชำระหนี้ไปหาได้ไม่ เนื่องจากหนี้ดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับการปลดเปลื้องไปแล้ว โดยคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ทั้งโจทก์จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในการฟื้นฟูกิจการของจำเลยในหนี้ที่ยังค้างอยู่ก็ไม่อาจทำได้เนื่องจากจำเลยได้ชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง