พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5102/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับการทำงานเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างยินยอม และรับทราบการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
จำเลยที่ 1 แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉบับปี 2517 เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉบับปี 2528 แล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีก 3 ครั้ง ซึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนับแต่ฉบับปี 2528 เป็นต้นมาได้มีการกำหนดเรื่องการเกษียณอายุที่ 55 ปีบริบูรณ์ไว้ทุกฉบับและปรากฏว่า โจทก์ได้ลงลายมือชื่อยินยอมปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานไว้ตั้งแต่ปี 2535 และนับแต่ปี 2533 เป็นต้นมาก็ได้มีพนักงานของจำเลยที่ 1 เกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่ออายุ 55 ปี ซึ่งโจทก์รับทราบมาโดยตลอดโดยไม่ได้โต้แย้งใด ๆ จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนของการเกษียณอายุเมื่อ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจากฉบับปี 2517 เป็นฉบับปี 2528 โดยเปลี่ยนแปลงและเพิ่มการเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และฉบับต่อมาซึ่งกำหนดไว้เช่นเดียวกัน จึงมีผลผูกพันโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. กับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 และที่ 7 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้กล่าว โดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ ให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 5 และที่ 7 อุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ไว้พิจารณาต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ศาลอุทธรณ์ภาค 4ก็จะมีคำสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ในชั้นนี้จึงไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 5 และที่ 7 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลไม่รับฟ้อง: เริ่มนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มีความหมายว่า กำหนดระยะเวลา 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นซึ่งได้รับคำฟ้องไว้แต่แรกมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 พร้อมกับมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 กำหนดระยะเวลา 60 วัน ย่อมนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มิใช่นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวันที่ประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ การขยายเวลา และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นสิทธิของคู่ความแต่ละคนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งเมื่อได้กระทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้นไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง: สัญญาขนส่งระหว่างประเทศ, การยอมรับเงื่อนไข, การรับช่วงสิทธิประกันภัย
บริษัท ก. โดยบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งมีข้อความกำหนดว่า เป็นการเข้าทำสัญญาตามเงื่อนไขด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และเงื่อนไขดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อความจำกัดความรับผิดว่าความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง เสียหาย ล่าช้า... ถูกจำกัดตามใบตราส่ง คือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่ง หรือ 9.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์ (20 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม) ที่ใบกำกับสินค้าระบุราคาสินค้าว่ามีมูลค่า 5,080 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่องมูลค่าการขนส่ง (Total Declared Value For Carriage) ระบุไว้เพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่าการขนส่งรายพิพาทนี้บริษัท ก. เจ้าของสินค้าได้มอบหมายให้บริษัท พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งแทน โดยมีพนักงานของบริษัทดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ส่ง ทั้งได้ความว่า มีประเพณีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศกำหนดไว้เช่นนั้น บริษัท ก. ได้ใช้บริการของจำเลยทั้งสองมาหลายครั้งจึงฟังได้ว่า บริษัท ก. ผู้ตราส่งยอมรับข้อตกลงตามเงื่อนไขข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 แล้ว จำเลยทั้งสองย่อมรับผิดต่อบริษัท ก. เป็นจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน ความรับผิดในสัญญาประกันภัย การรับชำระเงินล่วงหน้า และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอ้างเอกสาร: การชำระค่าเอกสารครั้งแรกยังคงมีผล แม้มีการพิจารณาคดีใหม่และการนำสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ได้ชำระค่าอ้างเอกสารทั้งสองฉบับในชั้นสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวไว้แล้ว แม้ต่อมาศาลจะให้พิจารณาคดีใหม่ และโจทก์นำสืบอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานอีก ก็ต้องถือว่าค่าอ้างเอกสารที่โจทก์ชำระไว้แต่เดิมเป็นค่าอ้างเอกสารที่โจทก์นำสืบและอ้างส่งเป็นพยานด้วย โดยโจทก์ไม่จำต้องแถลงต่อศาลขอถือเอาค่าอ้างเอกสารเดิมเป็นการชำระค่าอ้างเอกสารใหม่ ที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3605/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานว่าทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ...ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะ หรือความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในการครอบครองเพื่อขาย จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ผู้ร้องขอให้ริบย่อมต้องตามข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตามมาตรา 29 (1) (2) ว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือได้ทรัพย์สินมาโดยสุจริต ที่ผู้คัดค้านที่ 2 นำสืบว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาจากการประกอบกิจการบริษัท 2 แห่ง โดยมีหลักฐานเป็นสำเนาใบสำคัญรับและใบเสร็จรับเงิน และเคยชำระภาษีตามสำเนาใบสำคัญจ่าย 2 ฉบับ นั้นไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีหลักฐานทางบัญชีแสดงรายรับและรายจ่ายของบริษัททั้ง 2 แห่ง หรือบริษัททั้ง 2 แห่ง เคยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากร อันแสดงให้เห็นว่าการประกอบกิจการของบริษัทดังกล่าวมีรายได้เพียงใด ข้อนำสืบของผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำพิพากษาศาล: จำเลยไม่อาจอ้างความเสียหายเพื่อหลีกเลี่ยงการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความเสียหายที่จะต้องได้รับมาปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในอันที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญเพียงว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2547 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพของผู้เสียหายทั้งห้า ด้วยการส่งหรือรับภาพด้วยคลื่นความถี่ ด้วยวิธีการแพร่กระจายไปในตัวนำไฟฟ้า ในงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งห้าเหตุเกิดที่ ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความชัดแจ้งเพียงเฉพาะข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ แต่เมื่อมิได้บรรยายให้ชัดเจนว่า งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแต่ละรายที่ถูกละเมิดในช่วงเวลาและสถานที่ดังกล่าวคือรายการใดบ้าง และรายการใดเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรายใด มีรายละเอียดของลักษณะงานพอสังเขปเช่นใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจทำให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้ถึงการมีลิขสิทธิ์ในรายการแต่ละรายการและความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแต่ละราย รวมทั้งลักษณะการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่องานแพร่เสียงแพร่ภาพส่วนที่มีลิขสิทธิ์ได้ ถือไม่ได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิด และข้อเท็จจริงอีกทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)