พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังมีคำพิพากษา และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การวางเงินค่าธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ทำให้สัญญาเปลี่ยนเป็นแยกคิดภาษี หากไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบรวม 3 รายการ จำนวน 40,499,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้วโดยถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ กำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ ซึ่งขณะนั้นกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 353) พ.ศ.2542 ปรับปรุงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมซึ่งจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ลดลงเป็นอัตราร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นไป โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยเป็นงวดๆ จำเลยได้รับมอบงานและชำระค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนกระทั่งรับมอบงานเรียบร้อยโดยคำนวณหักภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 และจำเลยไม่ได้ชำระค่าส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน ร้อยละ 3 เป็นเงิน 366,838.65 บาท ให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า สัญญาว่าจ้างที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมีข้อความว่า "ค่าจ้างและการจ่ายเงิน (สำหรับสัญญาที่เป็นราคาเหมารวม) ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้างจำนวน 40,499,000 บาท (สี่สิบล้านสี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท (สามล้านหกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยยี่สิบเจ็ดบาทยี่สิบเจ็ดสตางค์) ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ ดังนี้...ฯลฯ...เห็นได้ชัดว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงให้การจ้างครั้งนี้เป็นสัญญาที่เป็นราคาเหมารวมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะนั้นจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว หาได้มีข้อความให้แยกคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต่างหากจากจำนวนเงินค่ารับเหมาทั้งหมดไม่ การที่สัญญามีข้อความระบุค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ไว้ด้วยเป็นเพียงกำหนดรายละเอียดไว้เท่านั้น หามีผลทำให้สัญญาจ้างเหมาราคารวมดังกล่าวกลับกลายเป็นสัญญาที่แยกความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปต่างหากไม่ นอกจากนั้นข้อความในข้อ 4 ยังได้กำหนดให้ถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ อีกด้วย อันเป็นการแสดงชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะทำสัญญาให้เป็นสัญญาจ้างเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วย หากโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาเหมารวมก็ชอบที่จะระบุไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งว่าไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย จำเลยจึงต้องชำระเงินส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 366,838.65 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน มิใช่เพียงกล่าวอ้างว่าเสียเปรียบ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนโดยเห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้รับมอบฉันทะของทนายจำเลยจดวัดนัดผิดพลาดฟังไม่ขึ้น ทั้งคำร้องของจำเลยมิได้แสดงข้อคัดค้านโดยชัดแจ้งซึ่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 207 ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยเพียงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าไต่สวนโดยไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้าง, เงินช่วยเหลือพิเศษ และการกำหนดค่าเสียหาย
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชอบด้วยกฎหมาย โดยฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฟังมาเป็นยุติว่า โจทก์เลิกจ้างเพราะผู้กล่าวหาไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานล่วงเวลา และเรื่องโจทก์ประสบภาวะขาดทุนโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาแต่แรกในหนังสือเลิกจ้าง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาเพราะผู้กล่าวหาขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และโจทก์ขาดทุน อีกทั้งเป็นการเลิกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างในการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างได้และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้ถือเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม เงินช่วยเหลือพิเศษดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเป็นกรณีพิเศษที่โจทก์เลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายเงินคนละกรณีกัน โจทก์จะถือว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ และเมื่อจำเลยในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้พิจารณากำหนดค่าเสียหายโดยการนำเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างแล้วมาประกอบการพิจารณาด้วย ย่อมเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว และมิใช่กรณีที่จำเลยกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเกินไปกว่าคำร้องขอ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างในการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างได้และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้ถือเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม เงินช่วยเหลือพิเศษดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเป็นกรณีพิเศษที่โจทก์เลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายเงินคนละกรณีกัน โจทก์จะถือว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ และเมื่อจำเลยในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้พิจารณากำหนดค่าเสียหายโดยการนำเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างแล้วมาประกอบการพิจารณาด้วย ย่อมเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว และมิใช่กรณีที่จำเลยกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเกินไปกว่าคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับซื้อทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์ แม้มีเจตนาค้ากำไร แต่ฟ้องไม่ชัดเจน ศาลลงโทษเฉพาะฐานรับของโจร
จำเลยรับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อ แม้จะเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไรก็ตาม แต่เมื่อคำบรรยายฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยรับของโจรเพื่อค้ากำไร จึงมิอาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทดังกล่าว คงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากงานที่สั่งทำ กรณีผู้รับจ้างขาดความชำนาญ
จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดวิธีการให้ผู้รับจ้างตัดต้นไม้และให้คนควบคุมดูแลการตัดต้นไม้ตลอดเวลา แต่ในวันที่มีการตัดต้นไม้และทำให้ไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของโจทก์ขาดก่อให้เกิดความเสียหายกลับไม่มีผู้ใดควบคุม การที่ผู้รับจ้างไม่มีความรู้ความชำนาญในการตัดต้นไม้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างข้างเคียงหรือไม่ยอมทำตามวิธีการที่ถูกต้อง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีปิดหมายที่ไม่ชอบ ศาลเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาและให้นัดฟังใหม่
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 และศาลจะต้องมีคำสั่งอย่างเป็นกิจจะลักษณะว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ แต่คดีนี้ไม่ปรากฏชัดว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 ไม่สามารถจะกระทำได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะแต่ประการใด การที่ในหมายนัดมีข้อความเป็นตรายางประทับว่าไม่มีผู้รับให้ปิดหมายนั้น ข้อความดังกล่าวอาจประทับในภายหลังจากที่ผู้พิพากษาได้ลงลายมือชื่อในหมายแล้วก็เป็นได้เมื่อเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปส่งให้จำเลยและทนายจำเลยโดยวิธีปิดหมายดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยและทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยฟังโดยชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีปิดหมายที่ไม่ชอบ ศาลเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาและให้นัดฟังใหม่
ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่ของศาลนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปส่งให้จำเลยและทนายจำเลยโดยวิธีปิดหมายจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยและทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปในวันนัดจึงถือไม่ได้ว่าได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยชอบ ศาลฎีกาเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส. โดยยอมร่วมรับผิดกับ ส. จำเลยที่ 4 ในฐานะสามีของจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ส. ลูกจ้างโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ และทำหนังสือรับสภาพหนี้กำหนดว่าจะชำระเงินให้แก่โจทก์งวดแรกในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ดังนี้ ความรับผิดของ ส. เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กำหนดเวลานี้เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุทุจริตยักยอกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2536 แต่เมื่อ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระเงินคืนแก่โจทก์ งวดแรก 200,000 บาท ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 การรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และอายุความที่สะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 กรณีหาใช่การรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ไม่ เมื่อต่อมาปรากฏว่า ส. ไม่ชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 เมษายน 2537 เมื่อนับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มนับอายุความใหม่ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลของการสละสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างชำระ
ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทกันหลายเรื่องได้มีการเจรจากันหลายครั้งก่อนหน้านี้ และโจทก์เป็นผู้คิดคำนวณเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากจำเลยเองโดยมีจำนวนเงินสูงกว่าสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับโดยรวมเงินค่าจ้างค้างและเงินค่าตำแหน่งไว้แล้ว และตามบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุว่าโจทก์พอใจในข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใด ๆ อีกต่อไป เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างค้างชำระและเงินค่าตำแหน่งเพราะได้นำไปรวมไว้ในเงินช่วยเหลือตามบันทึกข้อตกลงแล้ว บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850