คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รัตน กองแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้ให้เช่าที่ล็อกร้านอาหารของผู้เช่าที่ผิดสัญญา ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า จำเลยที่ 1 จึงให้จำเลยที่ 2 ไปล็อกกุญแจปิดร้านอาหารเพื่อมิให้โจทก์เช่าต่อไป โดยจำเลยที่ 1 คิดว่าตนเองมีอำนาจกระทำการได้ตามสัญญาเช่าที่ระบุว่าถ้าผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ให้เช่าย่อมทรงสิทธิในการกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญานี้โดยพลัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการขาดเจตนาที่จะกระทำผิดฐานบุกรุก ทั้งข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิได้เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดจ่ายเงินวางคดีแรงงานเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้ได้ และสิทธิในการบังคับคดี
วัตถุประสงค์ของการวางเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างที่ถึงแก่ความตายจะได้รับเงินจำนวนที่มีสิทธินั้น เงินที่นายจ้างนำไปวางจึงยังไม่ตกเป็นของลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 แต่ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางงดการจ่ายเงินที่โจทก์ได้วางศาลไว้ก่อนฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นกรณีที่โจทก์ร้องขอก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งให้จ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสี่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์และเพื่อบังคับตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อันเป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 ซึ่งโจทก์สามารถกระทำได้และกรณีสมควรมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดจ่ายเงินวางศาลกรณีลูกหนี้มีหนี้อื่นตามคำพิพากษา เพื่อบังคับคดีตามสิทธิเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างจำนวน 8,000 บาท และคืนเงินประกันการทำงานจำนวน 3,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 11,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกเงินโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินที่ยักยอก ศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่ยักยอกไปจำนวน 77,281.25 บาท โจทก์ยื่นคำร้องขอให้งดการจ่ายเงินที่โจทก์นำมาวางศาลก่อนฟ้องคดีให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการวางเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงิน ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างที่ถึงแก่ความตายจะได้รับเงินตามจำนวนที่มีสิทธินั้น เงินที่นายจ้างนำไปวางจึงยังไม่ตกเป็นของลูกจ้าง สำหรับกรณีนี้แม้จะยุติว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเนื่องจากศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 แต่ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางงดการจ่ายเงินที่โจทก์ได้วางศาลไว้ก่อนฟ้องคดีนั้นเป็นกรณีที่โจทก์ร้องขอก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งให้จ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสี่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์และเพื่อบังคับตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ดังกล่าว เป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 ซึ่งโจทก์สามารถกระทำได้และกรณีสมควรมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาต่อไป โดยให้งดการจ่ายเงินส่วนที่โจทก์วางต่อศาลแรงงานกลางก่อนฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนด้านสภาพแห่งข้อหาและค่าเสียหาย ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยผิดสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์เพียงว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้บอกว่าเสียหายอย่างไรบ้าง จำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่าใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากเนื่องจากเจ้าของทรัพย์ติดตามคืนทรัพย์สิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อฝาก
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนอง จำนองและขายฝากให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงไม่มีกำหนดอายุความ
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การแต่งตั้งผู้จัดการและการมอบอำนาจตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดได้แต่งตั้งให้บริษัท ก. เป็นผู้จัดการ บริษัท ก. ได้แต่งตั้งให้ บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนในฐานะผู้จัดการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง บ. ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ด้วยตามมาตรา 36 (3) ทั้งมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีตามข้อบังคับของโจทก์ที่ระบุให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด บ. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมกับการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: คำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องเนื่องจากเห็นว่าคดีมิได้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม กรณีจึงไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลและผู้ร้องเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องและสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า อนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้รวบรวมถ้อยสำนวนส่งศาลฎีกา กรณีถือได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้โดยชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 ประกอบพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตามพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นคำร้องขอที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: การยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมหรือไม่ชอบตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ที่ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่านาย ย. เสียสิทธิในการรับสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรมการที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น: ต้องยื่นต่อ กกต. เท่านั้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้ให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลพิพากษาให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
of 39