คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รัตน กองแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้ล้มละลาย: การส่งหนังสือทวงหนี้ตามภูมิลำเนาและการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
ก่อนฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือลงวันที่ 5 กันยายน 2548 เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้นำหนังสือดังกล่าวไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 5/619 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย แต่ไม่พบจำเลยและไม่มีผู้ใดรับไว้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงมีหนังสือให้จำเลยไปรับหนังสือดังกล่าว แต่จำเลยไม่ไปรับหนังสือภายในกำหนด เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงส่งหนังสือคืนแก่โจทก์ หลังจากนั้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งโดยส่งให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว ปรากฏว่ามี อ. ซึ่งระบุว่าเป็นย่าของจำเลยเป็นผู้รับไว้แทน ดังนั้นจากพฤติการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: การทวงถามหนี้โดยชอบ และข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จำเลยจึงได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ต้องยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการนำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้ซื้อไปแล้วการชำระหนี้ของลูกหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายจึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ เป็นการขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินโดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2883 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เมื่อเจ้าหนี้มิได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพยืปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีในเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ล้มละลาย: ต้องยื่นตามกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดแม้มีเหตุสุดวิสัยก็ไม่อาจใช้ได้
ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้อื่นซื้อไปแล้ว การชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งสองจึงตกเป็นพ้นวิสัยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย จึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ทั้งสอง เป็นการประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 ซึ่งครบกำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2546 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้ว แม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่ามีสิทธิขอรับชำระหนี้กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 92 นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และการบังคับคดี: อำนาจฟ้อง, การริบของกลาง, และการแบ่งค่าปรับให้เจ้าของลิขสิทธิ์
ของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยการขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ที่ไม่ปรากฏผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมไม่มีผู้เสียหายรายใดที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และมาตรา 121 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับยังไม่มีการพิจารณาความผิดของจำเลยส่วนนี้ และรับฟังเป็นยุติยังไม่ได้ว่าของกลางเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จึงต้องคืนให้แก่เจ้าของ
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเท่านั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้ เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่กลับพิพากษาให้จ่ายค่าปรับให้แก่ผู้เสียหายกึ่งหนึ่งโดยมิได้ระบุว่าให้จ่ายจากค่าปรับที่จำเลยชำระตามความผิดฐานใด จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การพิพากษาเฉพาะของกลางที่มีผู้ร้องทุกข์ และการแก้ไขค่าปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานยึดแผ่นวีซีดี และ ซีดีคาราโอเกะ เพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสอง 430 แผ่น และที่ไม่ปรากฏเจ้าของลิขสิทธิ์อีก 21 แผ่น เป็นของกลาง ตามคำฟ้องแสดงว่าของกลาง 21 แผ่น ดังกล่าวยังไม่มีผู้เสียหายไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับของกลาง 21 แผ่น นี้ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในส่วนนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีอาญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง จึงฟังไม่ได้ว่าของกลางทั้ง 21 แผ่น เป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ให้คืนของกลาง 21 แผ่น แก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: สัญชาติผู้สร้างสรรค์และสถานที่สร้างสรรค์งาน
โจทก์มีสัญชาติเยอรมัน แต่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าประเทศที่โจทก์ถือสัญชาติเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี หรือขณะสร้างสรรค์งานโจทก์อยู่ในราชอาณาจักรหรือประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งาน หรืองานของโจทก์ได้มีการโฆษณางานในราชอาณาจักรหรือประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีแล้ว อันเป็นเงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตฟ้องได้ แม้ไม่มีภูมิลำเนาในไทย
นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้โดยไม่มีข้อจำกัดว่านิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศนั้นต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์เป็นผู้ขนส่งและเป็นเจ้าของตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากผู้ขายที่สาธารณรัฐเกาหลีมายังประเทศไทย โดยใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่ง และเงื่อนไขการขนส่งเป็นแบบซีวาย/ซีวาย ซึ่งหมายความว่า เมื่อสินค้าถึงท่าปลายทางจำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งมีหน้าที่รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจรับสินค้าที่สถานที่ของตนแล้วนำตู้สินค้ามาคืนแก่ผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อรับสินค้าแล้ว แต่ไม่นำต้นฉบับใบตราส่งไปเวนคืนหรือให้ประกันเพื่อรับมอบสินค้า ทำให้ตัวแทนโจทก์ไม่สามารถออกใบปล่อยสินค้าได้ เป็นเหตุให้ตู้สินค้าของโจทก์คงค้างที่ท่าเรือ โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในตู้สินค้าดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายและเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ละเมิดลิขสิทธิ์ vs. ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษกรรมเดียว
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ส่วนความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้กฎหมายจะบัญญัติองค์ประกอบความผิดและโทษในการกระทำดังกล่าวไว้คนละมาตรา แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ล้วนมีเจตนาที่จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน ความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการ นอกจากนี้มาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันนี้ยังกำหนดให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 38 ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 ด้วยในตัว จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการเป็นใบอนุญาตเดียวกันได้ เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้รวมกันมาในข้อเดียวกันการกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นกระทำกรรมเดียวกัน
of 39