พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีอาญาที่มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยกับ ส. ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับมานำสืบและแสดงเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 180 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์นำการกระทำของจำเลยในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องจำเลยอีก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปลอมเอกสารสิทธิและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งแตกต่างกัน แต่มูลคดีนี้ก็มาจากการกระทำอันเดียวกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายลงโทษคนละฉบับ กรณีมีวัตถุออกฤทธิ์ในครอบครองและไม่มีประกาศให้เป็นยาเสพติด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคีตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ โดยไม่ปรากฏว่ามีประกาศกำหนดให้คีตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ อันจะมีผลให้การมีคีตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 67 และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อีกต่อไป จึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 67 ไม่ได้ กรณีนี้มิได้เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยคนละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดฐานลักทรัพย์: การกระทำที่เข้าข่ายช่วยเหลือผู้กระทำผิด และการตีความฟ้อง
จำเลยที่ 1 ลักสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์โดยกระชากเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปโดยทุจริต โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามฉกฉวยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเช่าซื้อ โดยแยกหนี้ค่าเช่าซื้อออกจากหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นหนี้ที่เกิดจากจำเลยค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อผู้ร้อง ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกจากจำเลยเป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของผู้ใช้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินจากจำเลยในกรณีจำเลยผิดสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นหนี้ที่ผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่จำเลยค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกกลับคืนมาแล้วนำออกจำหน่ายหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวต่อไปในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเลิกสัญญา หนี้ทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงเป็นหนี้คนละส่วนกัน ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดฐานแจ้งความเท็จและปลอมเอกสารราชการ โดยจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่มีความผิด และให้ยกคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7711/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในความผิดที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการฎีกาขัดกับคำรับสารภาพ
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7558/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังไม่โอนจนกว่าชำระค่ารถครบถ้วน สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459
ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ของกลางระหว่างจำเลยกับผู้ร้องตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายเมื่อผู้ร้องชำระราคาส่วนที่เหลือแล้ว เป็นสัญญามีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 การที่จำเลยส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์และลงลายมือชื่อในแบบคำขอโอนและรับโอน พร้อมมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไว้ให้ผู้ร้อง เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่ผู้ร้องในการไปจดทะเบียนรับโอนเมื่อได้มีการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วเท่านั้น มิได้ทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยังคงค้างชำระราคารถยนต์อยู่ 50,000 บาท กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังไม่ได้โอนไปเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: เงื่อนไขการอนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)ฯ โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 ทวิ คือ หากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "โจทก์อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย รับอุทธรณ์ สำเนาให้อีกฝ่าย ให้เจ้าพนักงานศาลส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กองทุนหมู่บ้านมีอำนาจร้องทุกข์ ยักยอกทรัพย์โดยจำเลย การจับกุมและการฟ้องคดี
การที่จำเลยยักยอกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิที่ได้มาจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ค. โดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของกองทุนหมู่บ้าน ค. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของสมาชิกและจำเลย การร้องทุกข์ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกร่วมกันใช้รถกระบะของกลางบรรทุกถังเรี่ยไรของกลางนำไปตั้งไว้ตามชุมชนในตำบลที่เกิดเหตุ เพื่อหลอกลวงประชาชนที่พบเห็นและใช้รถกระบะของกลางบรรทุกทรัพย์ที่ได้มาจากการหลอกลวงด้วยนั้น รถกระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกใช้เดินทางไปมาในการกระทำความผิดเท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)