คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ สุวรรณประกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญด้วยอาวุธเพื่อชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 339 วรรคสอง แม้ไม่มีการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยใช้อาวุธมีดจี้ที่เอวด้านหลังของผู้เสียหาย เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป ครบองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสองแล้ว หาจำต้องมีการประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อรวมโทษแล้วเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. มีเจตนาเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2547 ของศาลชั้นต้น รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลจะต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อมีความเกี่ยวพันกันหลายคดี และจำเลยได้รับโทษเกิน 20 ปี
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นรายสำนวนในความผิดปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม และยักยอกรวม 34 คดี โดยลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการขับรถโดยประมาท: ผู้โดยสารนั่งซ้อนท้ายช่วยรักษาสมดุลย์ถือเป็นความผิดสนับสนุน
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยนั่งโยกตัวไปมาเพื่อไม่ให้รถเสียหลักล้ม ย่อมเป็นการอำนวยความสะดวกให้จำเลยที่ 1 สามารถขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงแซงซ้ายแซงขวารถคันอื่นในลักษณะน่าหวาดเสียว ซึ่งเป็นการขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8) จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมาย "อาวุธปืน" ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ครอบคลุมทั้งปืนมีทะเบียนและไม่มีทะเบียน การพาอาวุธปืนติดตัวต้องได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ว่าหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" จากบทบัญญัติดังกล่าว อาวุธปืนตามความหมายของมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงมีความหมายตามคำนิยายคำว่าอาวุธปืน ซึ่งรวมถึงอาวุธที่มีหมายเลขทะเบียนและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครอง และอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครอง และอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนและไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองด้วย มิได้หมายความเฉพาะอาวุธปืนซึ่งมีหมายเลขทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานด้วยการใช้กำลังและอาวุธ แม้จะออกจากบ้านตามที่ผู้เสียหายไล่ให้ไปแล้ว ก็ยังถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 4 เข้าไปชกต่อย น. บริเวณแคร่หน้าบ้านของ ล. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาของ น. จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีอาวุธมีดเข้าไปช่วยจำเลยที่ 1 และที่ 4 น. วิ่งเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสี่วิ่งตามเข้าไปโดยมีเจตนาทำร้าย น. แม้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการที่จำเลยทั้งสี่ทำร้าย น. มาก่อน แต่เมื่อผู้เสียหายไล่ให้จำเลยทั้งสี่ออกจากบ้าน จำเลยทั้งสี่ก็ออกจากบ้านทันที จะถือว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขยังไม่ได้ แต่ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในบ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธ และโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 และมาตรา 365 (1) (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5538/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่ต้องรื้อถอน
แม้ฎีกาส่วนใหญ่เป็นการคัดลอกข้อความตามที่เคยกล่าวไว้ในอุทธรณ์ แต่เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยให้เหตุผลในปัญหาที่ฎีกาในข้อนี้อย่างเดียวกับคำวินิจฉัยศาลชั้นต้น ฎีกาในส่วนนี้จึงถือว่าได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย หลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีคุมประพฤติ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ จึงลงโทษจำคุกตามโทษที่รอการลงโทษไว้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อ. ฯ มาตรา 17 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาไม่ได้ ที่อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาและศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของต้องด้วยหลักฐานที่น่าเชื่อถือ การจดทะเบียนเป็นหลักฐานเบื้องต้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะคันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำสืบว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางตามที่กล่าวอ้าง แต่ผู้ร้องไม่ได้นำสืบ ย. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลางตามสำเนารายการจดทะเบียน หรือเจ้าของร้านผู้ประมูลขายรถยนต์กระบะของกลาง มาเบิกความสนับสนุนว่าได้ขายรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีเพียงหนังสือมอบอำนาจกับแบบคำขอโอนและรับโอนว่า ย. ลงลายมือชื่อไว้ โดยผู้ร้องยังมิได้ไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของให้เป็นการถูกต้อง แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ แต่ก็เป็นหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าผู้มีชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าจะนำรถยนต์กระบะของกลางไปขายต่อและไม่ต้องการเสียภาษี จึงมิได้ไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของให้เป็นการถูกต้อง ไม่มีเหตุผลให้รับฟัง ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเดี่ยวในคดีจำหน่ายยาเสพติด - น้ำหนักพยานและข้อพิรุธในการสืบสวน
คดีนี้โจทก์มิได้อ้างและนำสายลับซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความทั้ง ๆ ที่สายลับรู้เห็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับสิบตำรวจเอก ส. แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้มีประจักษ์พยานในคดีเพียงปากเดียว ย่อมเป็นการนำสืบพยานเดี่ยวเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกถามค้านในกรณีที่สามารถนำสืบพยานคู่ได้ คำเบิกความของสิบตำรวจเอก ส. ซึ่งเป็นพยานเดี่ยวจึงมีน้ำหนักน้อยและต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง
of 23