พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้เช็คไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษตามฟ้องได้ จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการให้บริการฉายหรือให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและมิได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และ 20 วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดและมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว การที่จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความมาปรับบทลงโทษได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย เหตุผิดนัดชำระหนี้และฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา
จำเลยยินยอมรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดเดือนมกราคม 2550 ล่วงเลยกำหนดเวลา และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้เองหลังพ้นกำหนดการชำระค่าที่ดินที่เหลืองวดเดือนมีนาคม 2540 เท่ากับจำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญ และไม่ถือว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงทันทีตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุแต่เพียงว่า ฝ่ายโจทก์ผู้จะซื้อจะชำระค่าที่ดินที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 8 เดือน นับแต่วันทำสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดภายในเดือนมกราคม 2540 และภายในเดือนมีนาคม 2540 สำหรับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าฝ่ายจำเลยผู้จะขายจะจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ แสดงว่าหลังจากโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วยังต้องมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามจะซื้อจะขาย และไม่ปรากฏว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวจะเสร็จสิ้นวันไหน จึงยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะมีกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อใด ทั้งโจทก์ก็ยังมิได้ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายแก่จำเลย ดังนั้น แม้จำเลยจะผิดสัญญาจะซื้อที่ดินดังกล่าวกับเจ้าของเดิมหรือไม่ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์
ภายหลังจากล่วงเลยกำหนดชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดสุดท้าย จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อชำระเงินและรับโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้โดยตรง แต่โจทก์ไม่สามารถตกลงกับเจ้าของเดิมได้ จำเลยมิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือในงวดสุดท้าย ส่วนโจทก์ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามฟ้องให้ กลับร้องดำเนินคดีอาญาซึ่งกันและกัน เป็นข้อแสดงว่าทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันอีกต่อไป ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันโดยปริยาย คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุแต่เพียงว่า ฝ่ายโจทก์ผู้จะซื้อจะชำระค่าที่ดินที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 8 เดือน นับแต่วันทำสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดภายในเดือนมกราคม 2540 และภายในเดือนมีนาคม 2540 สำหรับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าฝ่ายจำเลยผู้จะขายจะจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ แสดงว่าหลังจากโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วยังต้องมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามจะซื้อจะขาย และไม่ปรากฏว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวจะเสร็จสิ้นวันไหน จึงยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะมีกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อใด ทั้งโจทก์ก็ยังมิได้ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายแก่จำเลย ดังนั้น แม้จำเลยจะผิดสัญญาจะซื้อที่ดินดังกล่าวกับเจ้าของเดิมหรือไม่ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์
ภายหลังจากล่วงเลยกำหนดชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดสุดท้าย จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อชำระเงินและรับโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้โดยตรง แต่โจทก์ไม่สามารถตกลงกับเจ้าของเดิมได้ จำเลยมิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือในงวดสุดท้าย ส่วนโจทก์ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามฟ้องให้ กลับร้องดำเนินคดีอาญาซึ่งกันและกัน เป็นข้อแสดงว่าทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันอีกต่อไป ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันโดยปริยาย คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการควบคุมตัวระหว่างพิจารณาแยกจากอำนาจการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจที่ผู้ร้องอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมาย การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการคุมขังระหว่างพิจารณาแยกจากขั้นตอนการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลสั่งประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจ การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การรับเงินเพื่อไม่ต้องควบคุมตัวจำเลยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นำตัวจำเลยทั้งสามมาที่ศาลชั้นต้นเพื่อส่งตัวตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว น. ภริยาของจำเลยที่ 3 ได้มอบเงิน 300 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อไปดำเนินการให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องถูกนำตัวเข้าห้องควบคุม และผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 บอกให้จำเลยทั้งสามรออยู่บริเวณหน้าห้องควบคุมโดยมิได้ส่งตัวจำเลยทั้งสามให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจประจำศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายวันเวลาทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ในฟ้องอาญาต้องชัดเจน การอ้างอิงวันเวลาอื่นไม่เพียงพอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 เป็นจำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด วันเวลาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายรายละเอียดวันเวลาการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) จำเป็นต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 จำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องและตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใดเท่านั้น จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4267/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันลักทรัพย์: การครอบครองทรัพย์สินชั่วคราวไม่ถือเป็นการยักยอก แต่เป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยร่วมกับ ป. ขนท่อแก๊สของผู้เสียหายลงจากรถยนต์บรรทุกที่ ป. เป็นผู้ขับไปไว้ในที่เกิดเหตุเพื่อขายต่อให้แก่บุคคลอื่น การที่จำเลยและ ป. ครอบครองท่อแก๊สในขณะที่นำไปส่งให้ลูกค้าของผู้เสียหายเป็นการครอบครองแทนผู้เสียหายไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองโดยแท้จริงยังอยู่ที่ผู้เสียหาย เมื่อจำเลยนำท่อแก๊สไปกองทิ้งในที่เกิดเหตุจึงเป็นการเคลื่อนย้ายท่อแก๊สจากที่ตั้งปกติเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขายแก่บุคคลอื่น เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ไปจากผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการร่วมกับ ป. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาลต้องกระทำในบริเวณศาล การร้องเรียนผู้พิพากษาไม่ถึงขั้นละเมิด
การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) นั้น จะต้องเกิดขึ้นในบริเวณศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีตามหนังสือร้องเรียนมีพฤติการณ์ละเลยต่อหน้าที่ และด้อยประสบการณ์ในการพิจารณาพิพากษาคดี ฟังความโจทก์ข้างเดียว ตัดสินคดีผิดพลาดไม่ยุติธรรมและลงโทษผิดหลักมนุษยชาติกระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอย่างมากนั้น เป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งขณะนั้นมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ร้องเรียนไปยังศาลชั้นต้นหรือได้ทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าวขึ้นในบริเวณศาลชั้นต้นแต่อย่างใด แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นการก้าวร้าวและดูหมิ่นเสียดสีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นอย่างร้ายแรงโดยปราศจากความเคารพยำเกรงทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันศาลยุติธรรมและอาจทำให้ผู้พิพากษาดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน ซึ่งสมควรที่จะลงโทษให้หลาบจำมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไปก็ตามแต่เมื่อการกระทำของผู้ถูกกล่าวหามิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) จึงไม่อาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาฐานละเมิดอำนาจศาลได้