พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากเอกสารสิทธิปลอม ต้องกระทบต่อทรัพย์สินโดยตรง จึงถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายอาญา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารสิทธินั้น แต่ข้อความในเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลยทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินเพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอมจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกตามที่โจทก์ฟ้อง หากผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกก็ชอบที่จะไปดำเนินคดีในทางแพ่งได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์อาญา: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด
หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมขึ้นไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลย ทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอม จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: เจ้าของต้องพิสูจน์ตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนของกลางไม่ได้
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: การจับกุมที่ชอบด้วยกฎหมายและการหมดอายุคดี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 บัญญัติว่า ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับโดยไม่ชักช้า และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิด โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ดังนั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 การที่จำเลยถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือมาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นผู้ต้องหาและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ เพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องที่ส่งผลต่อการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอแก้ไขบทลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดความผิดก่อนที่ศาลชั้นพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง หากจำเลยเห็นว่าที่จำเลยรับสารภาพไปจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลล่างทั้งสองย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดโดยการแบ่งบรรจุและการบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกข้อหาเกินคำขอ
มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดกาแฟโดยยังมีหลอดกาแฟหลายหลอดที่เตรียมไว้เพื่อการแบ่งบรรจุเช่นนี้ ถือว่าเป็นารผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 ดังกล่าว
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำว่า เพื่อจำหน่ายนั้น โจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำว่า เพื่อจำหน่ายนั้น โจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางหลังศาลมีคำสั่งริบทรัพย์แล้วเกิน 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 36
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นในคดีก่อนกับคดีนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกันทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้น ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลังที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางซ้ำซ้อนและการขอคืนของกลางหลังพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 36
คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ตาม ป.อ. มาตรา 36 ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกันแต่ฟ้องคดีคนละคราว ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน รวมทั้งธนบัตรของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจึงพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ถึงที่สุด และผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุดที่สั่งริบ
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
คดีก่อนกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางแล้ว จำเลยในคดีดังกล่าวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางในคดีนี้เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คดีก่อนกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางแล้ว จำเลยในคดีดังกล่าวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางในคดีนี้เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกศาลไม่อาจใช้ถอนการบังคับคดีได้ หากโจทก์ปฏิเสธ และประเด็นใหม่มิอาจยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จำเลยไม่ชำระหนี้ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้ถอนการบังคับคดีโดยอ้างว่าจำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลงใหม่นอกศาลแก่โจทก์แล้ว โจทก์ปฏิเสธข้ออ้างของจำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการนอกศาล โดยศาลมิได้รับรู้ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวหากมีอยู่จริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อเป็นเหตุให้ถอนการบังคับคดีหาได้ไม่