คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ สุวรรณประกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อจำเลยโดยตรง แม้ทนายไม่ได้รับแจ้งนัด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ" ไว้ว่า หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ดังนั้น ทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตาม ป.วิ.อ. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยจำเลยเคยยื่นคำร้องขอคัดสำเนาเอกสารในสำนวนเพื่อยื่นอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง และจำเลยพูดและฟังภาษาไทยได้บ้าง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษาโดยไม่ต้องมีล่าม จึงเป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ทนายจำเลยทราบ จะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปรึกษากับทนายจำเลยในการยื่นฎีกาหรือไม่อย่างไร ก็ไม่เป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งนัด
ทนายจำเลยมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (3) และมาตรา 2 (15) การที่ศาลจังหวัดนนทบุรีอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้ว ทั้งจำเลยซึ่งเป็นชาวต่างประเทศเข้าใจผลแห่งคำพิพากษาโดยไม่ต้องมีล่าม จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 182 วรรคสองและวรรคสามแล้ว ไม่มีเหตุยกเลิกการอ่านคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ทนายจำเลยทราบ จะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปรึกษากับทนายจำเลยในการยื่นฎีกาหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเอารถจักรยานยนต์ไปเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่ลักทรัพย์ แม้ใช้วิธีการไม่ชอบธรรม
จำเลยที่ 1 ทวงเงินจาก อ. ไม่ได้ จึงพาพวกไปทวงเงินจาก อ. ในเวลาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อ อ. ไม่ยอมคืนเงินและไม่ยอมออกมาพบจึงใช้อำนาจบังคับโดยพลการเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปขณะนั้น แม้ข้อเท็จจริงปราฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกใช้กุญแจที่ไม่ใช้กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางติดเครื่องยนต์นำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไป อีกทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางมีราคา 26,000 บาท สูงกว่าจำนวนหนี้ 300 บาท อยู่มากก็ตาม จำเลยที่ 1 กับพวกคงไม่ได้คิดว่ารถจักรยานยนต์ของกลางมีราคาสูงเท่าใด หากแต่ต้องการเพียงให้ อ. ที่จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์นำเงินมาชำระหนี้ตนเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงมิได้มีเจตนาเอารถจักรยานยนต์ของกลางไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์หลายกรรมต่างกัน การเรียงกระทงลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละกระทงระบุถึงวันเวลาที่จำเลยนำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารวม 14 ครั้ง และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดเดือนมีนาคม 2544 จำเลยได้เบียดบังเงินค่าสินค้าของผู้เสียหายที่ลูกค้าแต่ละรายชำระให้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,720 บาท ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว แม้ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงมิได้บรรยายว่าจำเลยได้รับเงินค่าผ่อนชำระสินค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด จึงรวมเป็นเงินที่จำเลยเบียดบังไป ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยย่อมทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินค่าสินค้าจากลูกจ้างงวดละเท่าใด เพราะจำเลยเป็นผู้รับชำระจากลูกค้าด้วยตนเอง ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงจึงไม่เคลือบคลุม
เงินค่าสินค้าที่จำเลยยักยอกไปแต่ละครั้ง เกิดจากการที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแต่ละรายต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นเงินค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ลูกค้าชำระให้ต่างคราวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การเรียงกระทงความผิด และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละกระทงระบุถึงวันเวลาที่จำเลยนำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 จำเลยได้เบียดบังเงินค่าสินค้าของผู้เสียหายที่ลูกค้าแต่ละรายชำระให้ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยไปตามจำนวนที่กล่าวในฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,720 บาท เป็นคำฟ้องที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยได้รับเงินค่าผ่อนชำระค่าสินค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยย่อมจะทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินจากลูกค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เพราะจำเลยเป็นผู้รับชำระจากลูกค้าด้วยตนเองอีกด้วย ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเรียงกระทงเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาที่ระบุในฟ้องจำเลยได้นำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าแต่ละรายตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง ด้วยกัน และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยยักยอกเงินค่าสินค้าของลูกค้าทั้ง 14 ราย ไปเมื่อวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 แต่เงินค่าสินค้าที่จำเลยยักยอกไปแต่ละครั้งนั้น เกิดจากการที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแต่ละรายต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นเงินค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ลูกค้าชำระให้ต่างคราวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 14 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่ใช้บรรทุกน้ำหนักเกินตาม พ.ร.บ.ทางหลวง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกทรายซึ่งมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวงฯ และขอให้ศาลสั่งริบรถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) แม้ พ.ร.บ.ทางหลวงฯ มาตรา 61, 73 มิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำมาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามมาตรา 17 แห่ง ป.อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบในคดีอาญา: เจ้าของแท้จริงที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สิน หากปรากฏว่า ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินแก่เจ้าของ ดังนั้น การใช้สิทธิตาม ป.อ. มาตรา 36 จึงเป็นการที่บุคคลภายนอกใช้สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบโดยมิต้องคำนึงถึงว่า สิทธิของบุคคลภายนอกจะสืบเนื่องมาจากการกระทำอันเป็นการละเมิดหรือการผิดสัญญา ทั้งการที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิทางแพ่งกับจำเลยที่ 1 และร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนก็เป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซ้อหรือของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงใหม่เกินเลย
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี ริบของกลางและให้จำเลยใช้เงินจำนวน 8,770,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,760,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยคดีโดยอาศัยการหยิบยกสรุปข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำเบิกความของพยานนั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี ริบของกลางและให้จำเลยใช้เงินจำนวน 8,770,000 บาท แก่โจทก์ร่วมเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,760,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ถูกจำกัดด้วยสภาพภูมิประเทศและถนนสูงกว่า ทำให้ที่ดินไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
แม้แต่เดิมโจทก์ใช้ลำห้วยหนองแสงที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์จำเลยเข้าออกสู่ถนนสาธารณะซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ แต่เมื่อในภายหลังได้มีการราดยางและยกระดับถนนสาธารณะสูงขึ้นจนสูงระดับศีรษะ ทำให้โจทก์ใช้ลำห้วยหนองแสงเป็นทางเข้าออกได้ลำบาก เนื่องจากตามปกติลำห้วยหนองแสงซึ่งลึกประมาณ 1 เมตร มีสภาพแห้งไม่มีน้ำ เวลาฝนตกจึงจะมีน้ำขัง แต่เป็นเวลาไม่นานก็จะแห้งอีก ไม่อาจใช้สัญจรไปมาตามปกติได้ ลำห้วยหนองแสงจึงไม่มีสภาพเป็นทางสาธารณะ เมื่อพิจารณาสภาพของลำห้วยหนองแสงในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ต่ำปละลึกไม่สะดวกที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะที่มีระดับสูงกว่ามากเช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ดินโจทก์มีทางออกได้ แต่มีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากขวางอยู่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง และต้องบังคับตามความในมาตรา 1349 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าที่ดินโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางที่จำเลยจะเสียหายน้อยที่สุดเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
of 23