คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ สุวรรณประกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินจากการฉ้อโกง: ผลกระทบของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อคำขอทางแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินจากการฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางาน สิทธิระงับเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยคืนเงิน 220,000 บาท แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี แล้ว ยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 อีกบทหนึ่งด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายได้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอมาได้ แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวด้วยก็ตาม
ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก โดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถกีดขวางทาง-ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลยกฟ้องข้อหาจอดรถ และให้รอการลงโทษ
ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อเหตุเกิดขณะจำเลยจอดรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามบทมาตราดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์ต่อเนื่อง: การกระชากทรัพย์สินและการใช้กำลังหลบหนีถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสอง
พวกจำเลยคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยซึ่งนั่งซ้อนท้ายกระชากสร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหาย แม้จำเลยไม่ได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากกระชากสร้อยคอแล้วจำเลยกับพวกขับจักรยานยนต์หลบหนี ผู้เสียหายกับพวกติดตามไปทันทีจนพบและจะเข้าจับจำเลย จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการวิ่งราวทรัพย์ ถือว่าจำเลยมีเจตนาใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกสองคนชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ และโดยใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83,340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิของเจ้าของร่วมและการดำเนินการหากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ตั้งอยู่บนชั้นที่ 6 ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของห้องชุดดังกล่าวต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิเจ้าของร่วมและการดำเนินการตามกฎหมาย
ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเป็นทรัพย์สินซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน การจัดการทรัพย์ส่วนกลางต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 17, 33, 35, 36 และ 37 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับ โจทก์และเจ้าของห้องชุดต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารเนื่องจากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่ต้องบอกกล่าวกำหนดเวลา
จำเลยก่อสร้างอาคารไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และจนถึงเวลาที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย จำเลยก็ยังก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จ พฤติการณ์เช่นนี้โจทก์หาจำต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อนบอกเลิกสัญญาไม่ เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ไม่อาจหรือไม่มีเจตนาที่จะชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาได้อยู่ดี โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ชอบแล้ว เมื่อสัญญาเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้และเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และผลกระทบจากความเข้าใจผิดเรื่องกระบวนพิจารณา
คดีโจทก์มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ตลอดจนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยต่อมาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ต้นดำเนินการอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์มาทำให้โจทก์ผิดหลงเข้าใจว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยเข้าใจว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์หรือได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจำนอง: สิทธิในการบอกล้างนิติกรรมและผลกระทบต่อคู่กรณี
จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไว้กับจำเลยที่ 2 นิติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นด้วยกับการกระทำของจำเลยที่ 1 นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามมาตรา 175 และการที่โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าเป็นการบอกล้างแล้ว นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท ปลอมเอกสารราชการใช้กับรถยนต์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
หนังสือรับรองของอัยการสูงสุดระบุว่า "เห็นว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย อัยการสูงสุดจึงรับรองฎีกาของโจทก์ เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" ข้อความในหนังสือแสดงว่าอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะได้รับวินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ฎีกา ถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221
จำเลยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปใช้ โดยนำไปติดไว้ที่รถยนต์กระบะของกลางใช้ขับไปตามถนนสาธารณะเพื่อให้เจ้าพนักงานหรือผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม เป็นเอกสารที่แท้จริง เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง และเข้าใจว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
of 23