คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ สุวรรณประกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับรถประมาทหรือไม่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่อื่นฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง และสิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของคู่สมรส
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นสามแยกติดตั้งสัญญาณจราจรไฟ และขณะเกิดเหตุสัญญาณจราจรไฟเป็นสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวา เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวารถทุกคันที่จะเลี้ยวขวาย่อมเคลื่อนที่แล่นเข้าสู่ทางร่วมทางแยกผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาไปได้ การที่จำเลยขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนมาก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเลี้ยวขวาแล่นผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาเท่านั้น แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการกระทำของผู้ตายที่ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงแล่นเข้าชนรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับโดยที่ไม่ว่าจำเลยหรือผู้ใดก็ไม่อาจคาดคิดได้ จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายประมาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
อนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายประมาทเนื่องจากเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์แล่นสวนทางมาโดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงเป็นเหตุให้ชนเข้ากับด้านหน้าข้างขวาของรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ย. ภริยาของผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย ดังนั้น ย. จึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการปล่อยทรัพย์สิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาลและต้องเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ต่อศาลฎีกากระทำได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) - (5) เท่านั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 มิใช่กรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว การอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาล ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานมาเสร็จสิ้น พยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีอากรเป็นการฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่ามีหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ทุกเดือน และในระหว่างผ่อนชำระโจทก์จะไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยังไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์นั้น ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 สามารถทำนิติกรรมใดอันจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีอากรเป็นการฉ้อฉล แม้มีการผ่อนชำระหนี้
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างชำระแก่กรมสรรพากรโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ทุกเดือน และในระหว่างผ่อนชำระโจทก์จะไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์อีกต่อไป เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์จะไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์นั้นไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมใดอันจะเป็นทางให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบหากเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรต่อไป การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาดหลังจำเลยเสียชีวิต: ทายาทรับช่วงสิทธิหนี้สิน ไม่ต้องออกหมายเรียก
เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ไม่ใช่เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 42 และมาตรา 44 แห่ง ป.วิ.พ. ดังนั้น การขายทอดตลาดจึงดำเนินการไปได้โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกทายาทของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ปืนผิดกฎหมายร่วมกันฆ่าผู้อื่น ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้อาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสามด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวจึงไม่ชอบ และความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวไปฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองแยกต่างกรรมกับความผิดฐานอื่นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานนี้ จึงเป็นเหตุในลักษณะคดีศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการปล้นทรัพย์: การแบ่งหน้าที่และช่วงเวลาที่สำคัญต่อการลงโทษตามมาตรา 340 วรรคสาม
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสามนั้น กฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลงโทษการกระทำของคนร้ายที่ปล้นทรัพย์ด้วยกันว่าถ้าการปล้นทรัพย์นั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำความผิดทุกคนต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำร้ายหรือรู้ตัวผู้ร้ายหรือไม่ และไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในขณะที่มีการทำร้ายหรือไม่ เช่น มีการแบ่งหน้าที่กันทำโดยมีคนร้ายเฝ้าดูต้นทางแต่พวกที่เข้าไปปล้นทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์ก็มีความผิดร่วมกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการกระทำที่ไม่ขาดตอนกันจึงจะเป็นเหตุลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจำเลยที่ 1 และพวกรวมทั้งหมด 6 คน วางแผนปล้นทรัพย์บ้านหลังนี้มาแต่ต้น วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปจับตัวคนรับใช้ในบ้านผู้เสียหายมัดไว้และได้รื้อค้นเอาทรัพย์สินภายในบ้านแล้วกลับไปก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือรออยู่เพื่อเอาทรัพย์สินจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายกับพวกกลับมาบ้านก็ถูกจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือทำร้ายเพื่อปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อยู่ร่วมเพื่อปล้นทรัพย์ด้วยไม่ปรากฏว่าได้รออยู่นอกบ้านเพื่อดูต้นทางหรือย้อนกลับมาอีก หรือรอฟังผลยังสถานที่นัดหมายกัน ทั้งไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับบ้านที่เกิดเหตุ ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็กลับมาหลังจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับไปแล้วเป็นเวลานานถึง 2-3 ชั่วโมง ไม่ต่อเนื่องกับการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์มาแต่ต้น การจะคาดหมายว่าหากผู้เสียหายกับพวกกลับมาและขัดขืนย่อมมีการใช้กำลังประทุษร้ายย่อมเป็นการคาดหมายที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากหมิ่นประมาทและประพฤติเนรคุณ พร้อมการบังคับให้ถอนจำนอง
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้
ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินโมฆะ/โมฆียะ: คำให้การขัดแย้ง, การครอบครอง, และผลของการเช่า
จำเลยให้การว่า โจทก์มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ได้ร่วมกันทำนิติกรรมฉ้อฉลโดยนำเอาเอกสารที่ยังไม่ได้กรอกข้อความใดๆ มาหลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อโจทก์แจ้งข้อความเท็จว่า จะนำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มารังวัดทำแผนที่พิพาทและนำไปเป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดี จำเลยหาได้มีเจตนาทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เท่ากับจำเลยให้การว่า จำเลยแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และในขณะเดียวกันคำให้การจำเลยหมายความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าที่ดินโดยทราบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ดินแต่ต้องการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีคือโจทก์ โดยโจทก์จะนำสัญญาเช่าที่ดินไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มารังวัดทำแผนที่พิพาทและนำไปเป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดี อันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และจำเลยให้การ รวมไปด้วยว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมสัญญาเช่าที่ดิน เพราะจำเลยไม่ได้ทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่เป็นนิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ จำเลยหาได้ยึดถือที่ดินที่เช่าโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ จำเลยไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ว่าก่อนทำสัญญาเช่าที่ดิน จำเลยอาจจะยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนมาก่อนก็ตามโดยผลของสัญญาเช่าที่ดินต้องถือว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองที่ดินเพื่อตนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อ ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัคค้านเข้าไปในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกนั้นเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวม การที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของโจทก์ทั้งห้ากับพวก เท่ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และการที่ ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่นนั้น เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมูลฟ้องของโจทก์ทั้งห้าคดีนี้อาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดก คำฟ้องที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่ ด. ฟ้องจำเลยเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 23