พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และผลผูกพันจากการใช้สิทธิของทายาท
ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัดค้านในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดอำนาจเจริญขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกเป็นการใช้สิทธิ์อันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลจังหวัดอำนาจเจริญมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมการที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลยย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดก เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกจึงเป็นเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดก เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกจึงเป็นเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9940/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องกระสุนปืนที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้น กฎหมายอาวุธปืน และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 4 นัดของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่งได้ แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีเครื่องกระสุนปืนตามฟ้องไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9890/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูทำอนาจารนักเรียนในความดูแล ศาลตัดสินผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ประกอบ 285
จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ แม้ธนาคารคิดดอกเบี้ยภายในกรอบประกาศ แต่การหักชำระหนี้ต้นเงินชอบด้วยกฎหมาย
ธนาคาร ก. ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 14 เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมที่ธนาคาร ก. ทำกับจำเลยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และประกาศธนาคาร ก. เรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดให้สินเชื่อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสินทรัพย์หนี้สินรายจำเลยมาและคิดดอกเบี้ยตามประกาศทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวที่ธนาคาร ก. มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในขณะทำสัญญานั้นจึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 14 เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวร้อยละ 19 ต่อปี จึงเป็นโมฆะแม้ตามความเป็นจริงธนาคาร ก. จะคิดดอกเบี้ยภายในกรอบของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคาร ก. ซึ่งไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลับกลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนผิดนัด แต่เมื่อเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกค้าของธนาคาร ก. ที่ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินแล้วธนาคาร ก. นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่ธนาคารคิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยอันตกเป็นโมฆะตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ที่ศาลชั้นต้นนำเงินที่จำเลยชำระดอกเบี้ยซึ่งตกเป็นโมฆะไปหักชำระหนี้ต้นเงินจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกค้าของธนาคาร ก. ที่ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินแล้วธนาคาร ก. นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่ธนาคารคิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยอันตกเป็นโมฆะตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ที่ศาลชั้นต้นนำเงินที่จำเลยชำระดอกเบี้ยซึ่งตกเป็นโมฆะไปหักชำระหนี้ต้นเงินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญาประนีประนอมตามยอมได้หากเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา จึงอยู่ในบังคับที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในสัญญาดังกล่าวได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำ และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาในฎีกาที่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ขึ้นมาโต้แย้งว่า การได้มาซึ่งพยานหลักฐานในส่วนดังกล่าวมิชอบไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แต่หาได้เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อเอาชนะคดีโดยชัดแจ้งไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียง 95,476.24 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริง - ทุนทรัพย์น้อยกว่า 95,476.24 บาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นพยานหลักฐาน
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เพียงแต่อ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ขึ้นมาโต้แย้งว่าการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในส่วนดังกล่าวมิชอบ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง หาได้เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อเอาชนะคดีโดยชัดแจ้งไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียง 95,476.24 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10262/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาให้สินเชื่อและการรับทำการงานแทน ธนาคารมีสิทธิเรียกคืนเงินทดรองจ่ายภายใน 2 ปี
แม้สัญญาให้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตโจทก็กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อให้จำเลยใช้บัญชีดังกล่าวเบิกถอนเงินโดยการใช้เช็คที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้และมีข้อตกลงให้โจทก์หักทอนเงินในบัญชีเพื่อการชำระหนี้ใดๆ ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาใช้เงินสินเชื่อข้อ 11 ระบุไว้ว่า หากผู้กู้นำเงินสดและ / หรือเช็คเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวันที่ผู้กู้เปิดไว้โดยผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ใดๆ แก่ธนาคาร ผู้กู้ยอมให้ธนาคารโอนเงินจำนวนดังกล่าวหรือที่เรียกเก็บได้ตามเช็คเข้าฝากในบัญชีเงินฝากประเภทไม่มีดอกเบี้ยที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นทันที ทั้งนี้ ผู้กู้ตกลงและรับทราบว่าในเวลาใดๆ เวลาหนึ่ง ยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีกระแสรายวันจะมีจำนวนเท่ากับศูนย์ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน ทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีก็ปรากฏว่าจำเลยใช้เช็คที่โจทก์มอบให้เบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเพียงช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยเบิกถอนเงินโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ในการคิดดอกเบี้ยเนื่องจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยแบบทบต้นแต่อย่างใด บัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้จึงเป็นเพียงบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเรดดี้เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย และคงชำระหนี้แต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เบิกถอนเงินสดจากพนักงานของโจทก์หรือจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติโดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์เท่านั้น ซึ่งหากจำเลยเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่นๆ โจทก์ก็ต้องออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อน อันเป็นการรับทำการงานแทนนั่นเอง ส่วนการมอบเช็คให้จำเลยไว้ใช้ในการเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย หรือการออกรหัสประจำตัวแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยสามารถใช้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตผ่านทางซิตี้โฟนแบงก์กิ้งได้นั้น ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลยรีบเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2546 ตามที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งพ้นกำหนด 2 ปี แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เบิกถอนเงินสดจากพนักงานของโจทก์หรือจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติโดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์เท่านั้น ซึ่งหากจำเลยเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่นๆ โจทก์ก็ต้องออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อน อันเป็นการรับทำการงานแทนนั่นเอง ส่วนการมอบเช็คให้จำเลยไว้ใช้ในการเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย หรือการออกรหัสประจำตัวแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยสามารถใช้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตผ่านทางซิตี้โฟนแบงก์กิ้งได้นั้น ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลยรีบเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2546 ตามที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งพ้นกำหนด 2 ปี แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8897/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกในการคัดค้านการบังคับคดี: กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความและการไม่มีการบังคับคดียึดทรัพย์
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 228 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น แต่สำหรับคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ระหว่างพิจารณา โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม มิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ และต้องนำทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาด จึงหาอาจนำบทบัญญัติ มาตรา 288 มาใช้บังคับไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก และตามคำร้องของผู้ร้องมีประเด็นพิจารณาเพียงว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันจัดสรรที่ดินและบ้าน, สัญญาจะซื้อจะขาย, ผิดสัญญา, สิทธิเลิกสัญญา
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านจัดสรรจากจำเลยได้ชำระเงินงวดให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาในวันที่ 11 เมษายน 2540 แต่จำเลยก็ยังมิได้พัตนาที่ดินและปลูกสร้างบ้านให้โจทก์แล้วเสร็จจนล่วงเลยไปจนกระทั่งปี 2545 แสดงว่าจำเลยไม่อาจปฎิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาได้ โจทก์จึงมีสิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ก่อน