พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6439/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ดินพิพาทไม่ถูกต้อง และประเด็นอายุความการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ยาว 10 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร จำเลยให้การว่า จำเลยสร้างกำแพงบนแนวเขตที่ดินติดต่อ ไม่ได้รุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ตามคำให้การดังกล่าวจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น มิได้เป็นการแย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นจึงยก ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยเองหาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและขัดแย้งกับที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
คำให้การของจำเลยได้กล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทว่าเฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเป็นของจำเลย อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ศาลล่างทั้งสองกลับดำเนินกระบวนพิจารณามาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยได้กล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทว่าเฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเป็นของจำเลย อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ศาลล่างทั้งสองกลับดำเนินกระบวนพิจารณามาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, การพิสูจน์สิทธิ, ข้อจำกัดการฎีกา
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้ครอบครองต่อจากบิดาจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้ครอบครองต่อจากบิดาจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, ประเด็นการฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับ 1375 วรรคสอง
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยขอออกใบจองทับที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนใบจอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยครอบครองต่อจากบิดา ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยขอออกใบจองทับที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนใบจอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยครอบครองต่อจากบิดา ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: วันทำละเมิดสำคัญกว่าผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด หากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายขาดอายุความ
บทบัญญัติมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้น วันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใดย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงแตกต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาทเลินเล่อรังวัดที่ดินออก น.ส.3ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
บทบัญญัติมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้น วันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใดย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงแตกต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาทเลินเล่อรังวัดที่ดินออก น.ส.3ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2543 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: วันทำละเมิดสำคัญกว่าผลของการละเมิด คดีขาดอายุความหากฟ้องพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ บทบัญญัติดังกล่าวที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้นวันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่งวันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงต่างกัน คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาณเลินเล่อ รังวัดที่ดินออก น.ส.3 ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2523 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนอาญา: เชื่อถือได้ว่าเหตุเกิดในเขตอำนาจ แม้ที่เกิดเหตุจริงไม่อยู่ในเขตนั้น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้วพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่นนอกเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น
บริเวณถนนสายบ้านร่องบง - บ้านติ้วที่จ่าสิบตำรวจ ม. กับพวกตั้งจุดตรวจชั่วคราว และจุดที่พบถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนเป็นถนนนอกเขตชุมชน ตลอดแนวถนนไม่มีป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างใดแสดงให้ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือตำบลใด จ่าสิบตรวจ ม. กับพวกผู้ร่วมจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว ย่อมต้องมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งจุดตรวจอยู่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว แม้จำเลยจะโยนเมทแอมเฟตามีนทิ้งในเขตตำบลบ้านหวาย แต่จ่าสิบตำรวจ ม. ก็พบเห็นการกระทำความผิดในเขตตำบลบ้านติ้วและเรียกให้จำเลยหยุดที่จุดตรวจต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเชื่อว่าเหตุเกิดและจำเลยถูกจับในท้องที่ตำบลบ้านติ้ว เมื่อจ่าสิบตำรวจ ม. นำจำเลยพร้อมเมทแอมเฟตามีนส่งมอบให้แก่พันตำรวจตรี ป. ย่อมทำให้พันตำรวจตรี ป. เชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นและจำเลยถูกจับภายในเขตอำนาจของตน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้วย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18
บริเวณถนนสายบ้านร่องบง - บ้านติ้วที่จ่าสิบตำรวจ ม. กับพวกตั้งจุดตรวจชั่วคราว และจุดที่พบถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนเป็นถนนนอกเขตชุมชน ตลอดแนวถนนไม่มีป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างใดแสดงให้ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือตำบลใด จ่าสิบตรวจ ม. กับพวกผู้ร่วมจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว ย่อมต้องมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งจุดตรวจอยู่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว แม้จำเลยจะโยนเมทแอมเฟตามีนทิ้งในเขตตำบลบ้านหวาย แต่จ่าสิบตำรวจ ม. ก็พบเห็นการกระทำความผิดในเขตตำบลบ้านติ้วและเรียกให้จำเลยหยุดที่จุดตรวจต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเชื่อว่าเหตุเกิดและจำเลยถูกจับในท้องที่ตำบลบ้านติ้ว เมื่อจ่าสิบตำรวจ ม. นำจำเลยพร้อมเมทแอมเฟตามีนส่งมอบให้แก่พันตำรวจตรี ป. ย่อมทำให้พันตำรวจตรี ป. เชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นและจำเลยถูกจับภายในเขตอำนาจของตน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้วย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์จากความบกพร่องของทนาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์มาแล้ว 3 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 4 เดือน แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าว มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานที่เป็นทนายความ ข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียในระหว่างทางและการจราจรติดขัด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้ และขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์อยู่ในขณะนั้นตามมาตรา 10 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อชำระหนี้แทนกัน และเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา ทำให้ลูกหนี้เดิมไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนองไว้แก่โจทก์และได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์นั้น น่าเชื่อว่าเป็นการกู้ยืมเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และตามพฤติการณ์ที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ยืมเงินจำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ทั้งยังยอมให้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รวมทั้งรับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวและจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 4 นำเงินที่โจทก์มอบให้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. กับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 และที่ 7 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้กล่าว โดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ ให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 5 และที่ 7 อุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ไว้พิจารณาต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ศาลอุทธรณ์ภาค 4ก็จะมีคำสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 5 และที่ 7 ในชั้นนี้จึงไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 5 และที่ 7 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 5 และที่ 7 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ การขยายเวลา และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นสิทธิของคู่ความแต่ละคนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งเมื่อได้กระทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้นไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า