พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช่าที่ดิน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน หากไม่ปฏิบัติตามเป็นการฟ้องคดีไม่ชอบ
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้นผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเสียก่อนกล่าวคือต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา54ของพระราชบัญญัติดังกล่าวหากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัยซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา56ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีกผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา57ของพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้นจึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วยจึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6953/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนนาพิพาทตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ศาลบังคับขายได้ตามคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์ร้องขอซื้อนาพิพาทต่อ คชก. ตำบล และ คชก. ตำบลวินิจฉัยให้โจทก์ซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยทั้งสองซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันโดยมิได้กำหนดราคาให้ เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคสองแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลที่ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลไม่ได้ระบุให้ซื้อนาพิพาทคืนได้ในราคาเท่าใด จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจะให้โจทก์ซื้อในราคาใดเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะนำเรื่องคำเสนอคำสนองมาใช้ในกรณีนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์สนองตอบว่าจะซื้อนาพิพาทตามราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้มิได้เพราะจะขัดกับคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ซึ่งถือเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วว่าให้โจทก์ซื้อนาพิพาทได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองโอนขายนาพิพาทแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ตามคำขอท้ายฟ้องเป็นการพิพากษาไม่เกินคำขอ ส่วนการกำหนดราคานาพิพาทเป็นเรื่องโจทก์กะประมาณราคาของนาพิพาทในราคา 1,075,831 บาทเพื่อคำนวณเสียค่าขึ้นศาล การที่จำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าซื้อนาพิพาทมาในราคา1,175,831 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับตามมาตรา 54แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 คำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่เกินคำขอ
คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลไม่ได้ระบุให้ซื้อนาพิพาทคืนได้ในราคาเท่าใด จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจะให้โจทก์ซื้อในราคาใดเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะนำเรื่องคำเสนอคำสนองมาใช้ในกรณีนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์สนองตอบว่าจะซื้อนาพิพาทตามราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้มิได้เพราะจะขัดกับคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ซึ่งถือเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วว่าให้โจทก์ซื้อนาพิพาทได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองโอนขายนาพิพาทแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ตามคำขอท้ายฟ้องเป็นการพิพากษาไม่เกินคำขอ ส่วนการกำหนดราคานาพิพาทเป็นเรื่องโจทก์กะประมาณราคาของนาพิพาทในราคา 1,075,831 บาทเพื่อคำนวณเสียค่าขึ้นศาล การที่จำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าซื้อนาพิพาทมาในราคา1,175,831 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับตามมาตรา 54แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 คำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6953/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้รับโอนทราบฐานะผู้เช่า และผลของการไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล
การที่โจทก์ร้องขอซื้อนาพิพาทต่อ คชก.ตำบล และคชก.ตำบล วินิจฉัยให้โจทก์ซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยทั้งสองซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันโดยมิได้กำหนด ราคาให้ เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ได้ คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ได้ระบุให้ซื้อนาพิพาทคืนได้ในราคาเท่าใด จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจะให้โจทก์ซื้อในราคาใดเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะนำเรื่องคำเสนอคำสนองมาใช้ในกรณีนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์สนองตอบว่าจะซื้อนาพิพาทตามราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้มิได้เพราะจะขัดกับคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลซึ่งถือเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วว่าให้โจทก์ซื้อนาพิพาทได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองโอนขายนาพิพาทแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ตามคำขอท้ายฟ้องเป็นการพิพากษาไม่เกินคำขอ ส่วนการกำหนดราคานาพิพาทเป็นเรื่องโจทก์กะประมาณราคาของนาพิพาทในราคา 1,075,831 บาท เพื่อคำนวณเสียค่าขึ้นศาล การที่จำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าซื้อนาพิพาทมาในราคา 1,175,831 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 คำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด – การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาทพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อ คชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่รู้ว่า พ.โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ สิทธิของผู้เช่าในการซื้อคืน
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาท พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อคชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน 15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่รู้ว่า พ. โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอโอนนาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเช่าที่ดินฯ คือต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องต่อศาล
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนโอนนาให้แก่ผู้เช่านาโดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือผู้เช่าจะต้องร้องขอต่อคชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยก่อน ตามมาตรา 54 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยเป็นประการใด ผู้ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด และหากมีการอุทธรณ์ต่อไปยัง คชก.จังหวัด และยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ผู้ไม่พอใจจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัย แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัย ตามมาตรา 56 และ 57 คำว่า อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัดตาม มาตรา 56 ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 หมายความว่า "มีสิทธิ" คู่กรณีจะใช้สิทธิก็ได้ ไม่ใช้สิทธิก็ได้ กล่าวคือเมื่อ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตามมีสิทธิที่จะเลือกอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเลือกที่จะไม่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลก็ถึงที่สุด ตามมาตรา 56 วรรคสอง เมื่อถึงที่สุดแล้วคู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาล เมื่อโจทก์ใช้สิทธิขอซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลาสองหรือสามปีต่อ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด แล้ว แม้ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัดจะได้มีคำวินิจฉัยเลยกำหนดสองปีหรือสามปีตามมาตรา 54 วรรคแรกก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ต่อศาลภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 57 วรรคแรก ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าฟ้องผู้รับโอนต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดี
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อน หากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยัง คชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการโอนขาย: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คชก. ก่อนฟ้อง
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อนหากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยังคชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 173วรรคสอง (1)