คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาลี ทัพภวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในที่ดินที่ถูกเวนคืน และกำหนดเงินค่าทดแทนที่เหมาะสม
พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ. นี้ ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. นี้ ให้แก่กระทรวงมหาดไทย" ถ้อยคำตามตัวบทในมาตรานี้ ทำให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งประสงค์ให้ยึดถือแผนที่ท้าย พ.ร.บ. เวนคืนเป็นสำคัญในการกำหนดแนวทางเขตที่จะเวนคืนซึ่งในพื้นที่เวนคืนจะต้องมีการปักหลักเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นระยะก่อนที่จะออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคสาม ของ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการเวนคืนในคดีนี้ หาใช่ว่าให้ยึดถือตามจำนวนเนื้อที่ที่ดินที่ต้องเวนคืนในบัญชีท้าย พ.ร.บ. เป็นสำคัญมากกว่าแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดแต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าที่ดินพิพาทอันสืบเนื่องมาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่ผู้ถูกเวนคืนฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนในเนื้อที่ซึ่งเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม มาตรา 28 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ โดยดอกเบี้ยต้องไม่เกินจากคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15221/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ชัดเจน: ศาลตีความเอื้อประโยชน์ผู้ค้ำประกัน โดยเทียบกับวงเงินที่ระบุในสัญญาอื่น
เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้ง ๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14887/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า: 'กิจการของลูกหนี้' ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าในโรงสีข้าว ทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
กรณีผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 191/34 (1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองนั้น คำว่า "กิจการของฝ่ายลูกหนี้" หาได้มีความหมายจำกัดเพียงว่า ต้องเป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายอีกต่อหนึ่งหรือต้องเป็นการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าเท่านั้นไม่ แต่ต้องพิจารณาถึงลักษณะของการประกอบกิจการของลูกหนี้เป็นกรณีไป
จำเลยที่ 1 ซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการอายัดทรัพย์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และบริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10505/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้: ศาลงดบังคับคดีได้หากจำเลยชำระหนี้ครบถ้วน แม้มีช่วงชำระล่าช้า
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายงวดรวม 7 งวด ผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ ตกลงชำระงวดแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลชำระหนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ช้าไปเพียง 2 วันทำการ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 มีนาคม 2547 กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งในงวดต่อๆ มา เดือนสิงหาคม 2547 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนสิงหาคม 2548 เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เดือนสิงหาคม 2549 และเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จำเลยชำระตรงตามนัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมระงับสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกัน-จำนองยังไม่ระงับ แม้ลูกหนี้ล้มละลาย-เจ้าหนี้ไม่ขอรับชำระหนี้ ผู้ค้ำ-ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ย่อมเป็นผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้หนี้ที่ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ระงับไปเพียงแต่เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องเอาหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้เท่านั้น เมื่อหนี้ยังไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ และหนี้จำนองก็ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้จำนองยังคงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเช่นกัน ดังนั้น จำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองไว้แก่โจทก์ จึงยังคงต้องผูกพันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อไป โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิเช่า: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้ และสิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอด
การที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้จำเลยทั้งสองให้การว่าเป็นฟ้องซ้อน และยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้แล้วศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยเสียได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าที่ดิน 2 แปลงที่ ท. มีต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินแต่ละแปลงดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาเช่าในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาอันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งโจทก์ไม่อาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งคำขอที่ให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินในคดีนี้ยังกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย จึงมิใช่เป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสัญญา ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อันเป็นหนี้เหนือบุคคล หาใช่เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินหรือเป็นทรัพยสิทธิไม่ และการเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาททั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีข้อตกลงให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ เพราะหากมีข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าแก่บุคคลภายนอกในระหว่างที่ผู้เช่ามีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 544 เท่านั้น ดังนั้น พินัยกรรมของ ท. ที่ยกสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่โจทก์เกี่ยวกับที่ดินที่เช่าและไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป จำเลยที่ 1 ย่อมพิจารณาให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้เช่าที่ดินแต่ละแปลงต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินเดือนผู้แทนโดยชอบธรรม: ผู้แทนฯ ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่ได้ฟ้องร่วม
โจทก์ยื่นฟ้องโดยระบุชื่อในช่องจำเลยว่า นาย ธ. โดยนาย ม.ผู้แทนโดยชอบธรรม และบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ม. จำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์คันอื่นที่บุตรผู้เยาว์ของโจทก์นั่งซ้อนท้าย เป็นเหตุให้บุตรผู้เยาว์ของโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องนาย ธ. ผู้ทำละเมิดเป็นจำเลยให้รับผิดผู้เดียว ส่วนผู้ร้องเป็นเพียงผู้แทนโดยชอบธรรมอยู่ในฐานผู้ต่อสู้คดีและดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ร้องเท่านั้น หาใช่เป็นคำฟ้องที่ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยด้วยไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้ร้องยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำแทนจำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมเช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้ผู้ร้องอาจต้องรับผิดร่วมกับจำเลยหากพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยและผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9186/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดี: แม้พ้นกำหนดก็ยื่นได้ แต่ต้องพิสูจน์สถานะไม่ใช่บริวาร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) บัญญัติถึงสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลของผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ว่า ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กำหนดเวลา 8 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลากฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่หาได้บังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะเป็นการตัดสิทธิไม่ให้ยื่นคำร้องในภายหลัง ดังนั้น แม้จะล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องเพื่อขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลได้ กรณีไม่เกี่ยวกับมาตรา 199 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่การยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องตกลงให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการประโยชน์เพียงผู้เดียว และไม่เคยยินยอมให้จำเลยขายที่ดินอันเป็นสินสมรสให้แก่ ห. ก่อนมีการโอนขายกันต่อมาจนถึงโจทก์ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยอมให้จำเลยเป็นตัวแทนถือสิทธิในที่ดินครึ่งหนึ่งแทนผู้ร้องโดยผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ ทั้ง ห. ไม่รู้ว่าจำเลยถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ร้องครึ่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ขายที่ดินนั้นให้แก่ ห. ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยอมให้จำเลยทำการออกหน้าเป็นตัวการขายที่ดินให้แก่ ห. ผู้ร้องจึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของ ห. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเมื่อมีการโอนขายที่ดินกันต่อมาจนถึงโจทก์ ผู้ร้องจึงอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มาใช้ยันโจทก์ไม่ได้ และต้องถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นบริวารของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8960/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการขายทอดตลาด: การฟ้องขับไล่ทำได้ แม้มีการขอเพิกถอน และการโอนสิทธิไม่กระทบอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์กระทำการโดยสุจริต ส่วนข้ออ้างของจำเลยที่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีรู้เห็นเป็นใจกับโจทก์ขายทอดตลาดในราคาต่ำเป็นเรื่องนอกคำให้การ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงไม่รับวินิจฉัย ซึ่งเป็นเหตุผลคนละเหตุกับศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์ย่อมได้สิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 การที่จำเลยและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดก็เป็นเรื่องของการเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 อีกส่วนหนึ่ง ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสมบูรณ์ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีสิทธิให้ออกไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และแม้ว่าโจทก์จะได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่บุคคลอื่นขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่มีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วในขณะยื่นคำฟ้องหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวยังเป็นของจำเลย เพราะการขายทอดตลาดไม่ชอบ และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไว้แล้ว ก็เพื่อประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันจะทำให้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบที่จะมีคำสั่งให้เรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากจำเลยอย่างคดีมีทุนทรัพย์
of 57