คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาลี ทัพภวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินกรณีเดินสายส่งไฟฟ้า พิจารณาจากราคาประเมินและสภาพที่ดิน ณ วันประกาศเขตสำรวจ
วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าคือ วันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งจำเลยได้ประกาศ เรื่อง กำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้า ขนาด 230 กิโลโวลต์ จากโรงไฟฟ้าราชบุรีไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยสมุทรสาคร 2 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 ดังนั้น วันที่จะพิจารณาถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในแนวเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าสายนี้คือ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8317/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระเงินค่าซื้อทรัพย์: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีดุลพินิจชอบธรรมในการไม่อนุญาต หากข้ออ้างของผู้ซื้อมีน้ำหนักน้อย
ในเบื้องต้นผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือออกไปอีกมีกำหนด 3 เดือน โดยอ้างว่าร่วมทุนกับบุคคลอื่นซื้อทรัพย์รายนี้ ปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ลงทุนเป็นเงินสดในอัตราร้อยละ 3 ของราคาที่ดินที่ซื้อเท่านั้น ส่วนผู้ร่วมลงทุนอื่นซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินร่วมกันลงทุนถึงร้อยละ 97 ทั้งในคำร้องก็ไม่ได้ระบุหรือแสดงเหตุผลอื่นอันสมควรให้เห็นว่าผู้ซื้อทรัพย์และผู้ร่วมลงทุนอื่น ได้ดำเนินการระดมทุนด้วยวิธีใดข้ออ้างของผู้ซื้อทรัพย์ในเรื่องนี้จึงมีน้ำหนักน้อย ส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์อ้างว่าเงินที่ต้องชำระส่วนที่เหลือเป็นเงินจำนวนมากไม่อาจรวบรวมมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทันภายในกำหนดนั้น ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้เรียกเก็บราคาที่ดินส่วนที่เหลือ 7,460,000 บาท แต่เนื่องจากเห็นว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้น จึงให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพียงร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อได้เป็นเงิน 413,050 บาท เพื่อหักเงินมัดจำที่วางไว้แล้วคงให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเพิ่ม 363,050 บาทเท่านั้น กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไม่ให้ขยายระยะเวลาการชำระเงินจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันและยกคำร้องหากไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ไปในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงกรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง โดยอนุโลม มาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้... ฯลฯ... ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินจำนวน 4,000,000 บาท มาวางเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ภายในวันที่ 11 กันยายน 2549 จำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปอีก
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า จะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดในคำพิพากษา และสิทธิการบังคับจำนองเหนือที่ดินที่แบ่งแยก
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยพิมพ์ตัวเลขโฉนดที่ดินผิดพลาด ศาลชั้นต้นมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเพียงการแก้ไขในรายละเอียดให้ตรงตามความเป็นจริง มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
โฉนดที่ดินที่จำนองมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองมิได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยอันจะทำให้การบังคับคดีไม่เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินและการบังคับคดีหลังแบ่งแยกที่ดิน การจำนองยังคงครอบคลุมถึงที่ดินที่แบ่งแยกไปหากไม่ได้รับความยินยอม
การแบ่งแยกที่ดินที่จำนองโฉนดเลขที่ 685 ออกเป็นหลายแปลงตามโฉนดเลขที่ 55728 ถึง 55735 ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 717

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง และผลของการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ในครั้งแรกที่มีการรังวัดการเวนคืนที่ดินและคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตารางละ 35,000 บาท โจทก์พอใจและไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาล ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้ต้องเวนคืนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้น เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินในเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์จะอ้างความเสียหายจากเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่มาเป็นเหตุอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินจากการเวนคืนโดยการดำเนินการของจำเลยในครั้งแรกที่โจทก์พอใจไปแล้วด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมยกฟ้องเพราะขาดอำนาจฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาคดี สามารถฟ้องใหม่ได้
เดิมโจทก์และ ว. ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหายที่โจทก์และ ว. ต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดความเชื่อถือในการประกอบอาชีพจากการที่ถูกจำเลยฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรณียังไม่ถือว่าโจทก์และ ว. ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยในอันที่จะทำให้โจทก์และ ว. ใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์และว. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เป็นกรณีศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นแห่งคดีฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 148 และมาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8090/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลรองรับ โดยอ้างอิงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อพิจารณา หากไม่มีเหตุผลรองรับ คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองจะต้องมีเหตุผล และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำในหนังสือแจ้งคำชี้ขาดของผู้บริหารของจำเลยแล้ว เห็นได้ว่า จำเลยมิได้อ้างอิงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายใดมายืนยันว่า การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยคงอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีซึ่งจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยเท่านั้น ทั้งข้ออ้างดังกล่าวไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องให้เหตุผลในข้อกฎหมายที่จะต้องอ้างอิงแต่อย่างใด หนังสือแจ้งคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การครอบครองปรปักษ์ต้องสุจริต
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนบ้านและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ จำเลยให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทราคา 104,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 104,000 บาท ส่วนค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันหลังจากวันฟ้องเป็นค่าเสียหายในอนาคตไม่อาจนำไปคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาได้ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 57