พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้องได้ หากมีเหตุผลสมควรและมิได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้เกิดขึ้นภายหลังคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและหากเห็นว่ามีการกระทำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
แม้ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างตรงไปตรงมาว่า คำสั่งทิ้งฟ้องของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งมิชอบอย่างไร แต่เมื่อพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วก็พอแปลได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงและถึงแม้ความเข้าใจผิดของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นศาลหรือคู่ความหรือเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนโจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่สามารถมาศาลในวันนัดพร้อมได้ทันตามกำหนดเนื่องจากรถยนต์เสียระหว่างเดินทางมาศาล ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง โดยมี ช. เจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดีเบิกความรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้ทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อศาล ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาถึงศาลล่าช้ากว่ากำหนดและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในวันเดียวกันนั้น จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์รถเสียไม่อาจมาศาลได้ทันตามกำหนด แม้การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์จะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาล ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและหากเห็นว่ามีการกระทำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
แม้ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างตรงไปตรงมาว่า คำสั่งทิ้งฟ้องของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งมิชอบอย่างไร แต่เมื่อพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วก็พอแปลได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงและถึงแม้ความเข้าใจผิดของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นศาลหรือคู่ความหรือเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนโจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่สามารถมาศาลในวันนัดพร้อมได้ทันตามกำหนดเนื่องจากรถยนต์เสียระหว่างเดินทางมาศาล ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง โดยมี ช. เจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดีเบิกความรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้ทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อศาล ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาถึงศาลล่าช้ากว่ากำหนดและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในวันเดียวกันนั้น จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์รถเสียไม่อาจมาศาลได้ทันตามกำหนด แม้การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์จะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาล ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7980/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลมีอำนาจไต่สวนเหตุผลที่โจทก์ไม่ได้มาศาลเพื่อพิจารณาว่าเป็นการทิ้งฟ้องจริงหรือไม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามมาตรา 226 (1)
ศาลชั้นต้นได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และหากเห็นว่ามีการกระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ศาลชั้นต้นได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และหากเห็นว่ามีการกระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซ้ำ โดยชี้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการพิจารณาตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยมีเนื้อหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาไปแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยดังกล่าว อันเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจนว่าศาลชั้นต้นยกเรื่องอื่นขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาในประเด็นที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาไปแล้ว โดยพยายามเบี่ยงเบนให้เกิดเป็นประเด็นใหม่ขึ้นในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วสรุปทำนองว่าโจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นการพิพากษาซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้เป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การกระทำใหม่หลังฟ้องคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อนหากเป็นคนละมูลเหตุ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 227/2546 กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 227/2546 กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7552/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกด่าทอและข่มขู่ด้วยอาวุธ: การลดโทษอาญาฐานฆ่า
จำเลยเป็นบิดาของผู้เสียหาย คืนเกิดเหตุผู้เสียหายดื่มสุราจนเมา จำเลยได้ไล่ให้ผู้เสียหายไปนอนที่บ้าน ไม่ให้นอนที่กระท่อมของจำเลย ผู้เสียหายไม่ยอมไปได้ด่าจำเลยเสียๆ หายๆ ด่าว่า พ่อหัวควย พ่อเหี้ย พ่อสัตว์ ไม่รักลูก แล้วผู้เสียหายกลับออกไป 2 ถึง 3 นาทีได้กลับมาใหม่เพื่อมาเอาห่อยาเส้น จำเลยไล่ผู้เสียหายกลับไปนอนที่บ้านอีกครั้ง แต่ผู้เสียหายไม่ยอมไป กลับด่าจำเลยเช่นเดียวกับครั้งแรกและด่าให้อวัยวะเพศชายอีก ทั้งผู้เสียหายมีมีดยาว 1 ศอกอยู่ในย่ามและท้าจำเลยให้ออกมาฟันกัน ประกอบกับโจทก์ฎีการับว่า จำเลยโกรธแค้นที่ผู้เสียหายไม่เคารพยำเกรงและด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคาย ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบิดาใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดย พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อขาดการออก พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดิน ศาลพิจารณาค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์มาตรา 21
ขณะที่ออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ เวนคืนที่ดินของโจทก์นั้น พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...ฯ ได้หมดอายุบังคับใช้ไปแล้วโดยไม่มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ สืบติดต่อเนื่องมา กรณีต้องถือว่าเป็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ โดยไม่มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เข้ากรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองสรุปรวมกันได้ว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 23 มาใช้โดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนที่ดินถูกจำกัดจากสายส่งไฟฟ้า และอำนาจจำเลยในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยกำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินพิพาท ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถูกเขตเดินสายไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็น ส.เจ้าของที่ดินเดิมในขณะที่จำเลยดำเนินการสำรวจ หรือจะเป็นโจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่รวมถึงการถูกตัดรอนสิทธิในการใช้ที่ดินดังกล่าวด้วย และเมื่อโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดให้ ไม่ว่าโจทก์จะรับหรือไม่รับเงินที่จำเลยฝากไว้กับธนาคารออมสิน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารออมสินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 30 ทวิ ประกอบมาตรา 30 วรรคสาม ทั้งกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติขั้นตอนให้โจทก์มีหน้าที่ต้องโต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก่อนฟ้องคดีในกรณีที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่จำเลยกำหนดต่อคณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มได้ ประกอบกับจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นว่ามากเกินไปหรือไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมแก่สังคมอย่างไร จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
จำเลยประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 พร้อมทั้งปิดประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการตำบลก่อนวันสำรวจไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่า ส.จะทราบหรือไม่ก็ตาม โดยผลแห่งกฎหมายต้องถือว่าได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในบังคับมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดในเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่า จำเลยได้มีหนังสือแจ้งแก่ ส.เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกสายไฟฟ้าพาดผ่านทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่ถูกเขตเดินสายไฟฟ้าอันจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้นก็ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะในขณะนั้นโจทก์ยังมิใช่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์เพิ่งรับโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540 และเริ่มถมดินปลูกสร้างบ้านพิพาทวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ภายหลังจากที่จำเลยมีหนังสือแจ้ง ส.นาน 1 ปี ถึง 2 ปี ทั้งเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยได้ลงประกาศกำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอกับที่ทำการตำบลมาแล้ว 3 ปี ถึง 4 ปี ซึ่งหากแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นละเมิด ก็คงเป็นละเมิดต่อ ส.ได้เท่านั้น ไม่อาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยในมูลละเมิด อีกทั้งการปลูกสร้างบ้านของโจทก์ในที่ดินพิพาทในเขตเดินสายไฟฟ้าภายหลังการประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง โดยแจ้งชัดจำเลยจึงมีอำนาจรื้อถอนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 32 วรรคสอง
แม้ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาตรา 32 วรรคสอง จะบัญญัติให้จำเลยมีอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นตามควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่จำเลยไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาเขตเดินสายส่งไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อย่างไรก็ตามกรณีโจทก์กับจำเลยยังมีข้อพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปก็เพื่อให้ศาลรับรองอำนาจดังกล่าวของจำเลยและให้จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพื่อยุติข้อโต้แย้งของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การเรื่องอายุความไม่ขัดแย้งกับการชำระหนี้ ศาลวินิจฉัยอายุความได้
จำเลยให้การตอนแรกว่าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่กลับให้การตอนหลังว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ไม่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง เนื่องจากการที่ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิดโดยเถียงว่าหนี้ขาดอายุความนั้นหาได้มีข้อจำกัดว่าลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ได้เฉพาะในกรณีที่ยังมิได้มีการชำระหนี้เท่านั้นไม่ การที่จำเลยให้การตัดฟ้องโจทก์ในตอนหลังว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ จึงไม่อาจแปลความหมายได้ว่า จำเลยยังมิได้ชำระหนี้ คำให้การของจำเลยจึงมิได้ขัดแย้งกันเอง
จำเลยให้การโดยระบุเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะมีการซื้อขายสินค้ากันเมื่อปี 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อปี 2548 นั้น เป็นการต่อสู้เรื่องอายุความในกรณีผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าตามที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ทั้งนี้โดยจำเลยไม่จำต้องอ้างมาตราในกฎหมายมาในคำให้การ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับบทกฎหมายเอง คำให้การของจำเลยจึงชัดแจ้ง
จำเลยให้การโดยระบุเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะมีการซื้อขายสินค้ากันเมื่อปี 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อปี 2548 นั้น เป็นการต่อสู้เรื่องอายุความในกรณีผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าตามที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ทั้งนี้โดยจำเลยไม่จำต้องอ้างมาตราในกฎหมายมาในคำให้การ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับบทกฎหมายเอง คำให้การของจำเลยจึงชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงและการไม่มีอำนาจฟ้อง การขอห้ามจำเลยงดจ่ายไฟฟ้าเป็นคำขอที่ไม่ชอบ
การที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับปรุงเพิ่มไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามปกติอันพึงกระทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ แม้ในตอนท้ายของหนังสือจะมีข้อความขอให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปชำระ มิฉะนั้นจำเลยจะดำเนินการตามระเบียบก็ตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์จะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ แม้ต่อมาหากปรากฏว่าจำเลยดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ต้องชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยหรือไม่ เพราะศาลอาจมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น ลำพังหนังสือของจำเลยที่แจ้งไปยังโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำของจำเลยที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษายกเลิกหนังสือดังกล่าวได้ ส่วนที่โจทก์มีคำขอบังคับห้ามจำเลยงดจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่โจทก์ซึ่งหมายถึงการระงับหรืองดกระทำการดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไปนั้น เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าและการมีอำนาจฟ้อง คดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าการแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเป็นสิทธิที่จำเลยทำได้ และโจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับปรุงเพิ่มไปชำระแก่จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามปกติอันพึงกระทำได้ แม้ในตอนท้ายของหนังสือจะมีข้อความขอให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปชำระ มิฉะนั้นจำเลยจะดำเนินการตามระเบียบ ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์จะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ การที่จำเลยดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ต้องชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยหรือไม่ ฉะนั้น ลำพังหนังสือของจำเลยที่แจ้งไปยังโจทก์จึงไม่เป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนที่โจทก์มีคำขอบังคับห้ามจำเลยงดจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่โจทก์ ซึ่งหมายถึงการระงับหรืองดกระทำการดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไปนั้น เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง