พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7681/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีพิพาทที่ดิน: การยื่นเอกสารใหม่ และทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้ไปยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยทั้งห้าจึงมิใช่เป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วงดวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์และผู้มีชื่อใน ส.ค.1 เคยไปติดต่อกับเจ้าพนักงานที่ดินตามต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์และผู้มีชื่อใน ส.ค. 1 ได้ติดต่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ยอมออกให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงในประเด็นพิพาทข้อนี้เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นและวินิจฉัยว่า ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่รับวินิจฉัยให้ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายว่าเอกสารท้ายอุทธรณ์ของโจทก์นั้น โจทก์ไม่อาจนำมาสู่ศาลชั้นต้นได้เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำเอกสารบางส่วนออกไปจากสารบบที่ดินที่เป็นของโจทก์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงนำมามอบให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เคยติดต่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือขอออกโฉนดที่ดินหรือไม่ อันเป็นข้อกฎหมายทำนองว่า มีพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้โจทก์นำเอกสารนี้มาแสดงตั้งแต่ในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เพราะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 88,000 บาท แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายข้อนี้ให้เป็นคุณแก่โจทก์ อันทำให้โจทก์สามารถโต้แย้งข้อเท็จจริงต่อไปได้ว่า เคยยื่นขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไว้ตั้งแต่ปี 2517 แต่เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้ายรายปี: การประเมินถูกต้องตามกฎหมาย แต่เงินเพิ่มยกเว้นเมื่อแก้ไขแบบแสดงรายการก่อนแจ้งการประเมิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายเป็นรายปี ซึ่งคำว่า รายปี ย่อมมีความหมายว่า เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายปีละหนึ่งครั้งเพียงคราวเดียวโดยไม่ต้องคำนึงว่าป้ายได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ในปีนั้นครบทั้งปีหรือไม่ ยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่กำหนดว่าเฉพาะป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ไม่ต้องเสียภาษีป้ายเป็นรายปีแต่ให้คิดเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี เท่านั้น
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และไม่มีเหตุสมควรลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บังคับลำดับขั้นตอนของการดำเนินการเป็นลำดับไป ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยออกหมายเรียกให้ธนาคารพาณิชย์ส่งหลักฐานบัญชีเงินฝากของโจทก์ก่อนออกหมายเรียกโจทก์เพื่อประมวลผลว่ามีเหตุสมควรที่จะออกหมายเรียกโจทก์มาทำการตรวจสอบหรือไม่ มิใช่เป็นการทำผิดลำดับขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 ย่อมเป็นหมายเรียกที่ชอบแล้ว และมาตรา 19 ไม่ได้บัญญัติว่า หมายเรียกให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ดังนั้น แม้หมายเรียกเป็นแบบพิมพ์ของกรมสรรพากรซึ่งแตกต่างกันกับแบบพิมพ์ที่โจทก์อ้างก็ไม่ทำให้หมายเรียกที่ออกชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องเสียไป
ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 41 มีหลักการว่า คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง โดยส่งหนังสือขอเพิ่มเติมเหตุผลในการประเมินก่อนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือและส่งไปยังผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 34 อันเป็นกฎหมายเฉพาะ ทั้งยังให้โอกาสโจทก์อุทธรณ์เพิ่มเติมได้อีกด้วย เมื่อพิเคราะห์หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 12) ทั้ง 9 ฉบับ มีรายการจำนวนเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท ค่าลดหย่อนของคณะบุคคล เงินได้หลังหักค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิที่นำไปคำนวณภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระยังขาดไป เบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือ 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร คำนวณถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ระบุเหตุผลที่ประเมินว่า จากการตรวจสอบข้อมูลหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อมูลรับรองงบการเงินและรายการยอดนำฝากบัญชีธนาคาร ปรากฏว่าคณะบุคคล ด. ไม่ได้นำเงินได้พึงประเมินประเภทค่าสอบบัญชีตามมาตรา 40 (6) และเงินได้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) จากนั้นระบุจำนวนเงิน จึงประเมินให้คณะบุคคลต้องรับผิดชำระภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเพิ่มเติม ส่วนหนังสือเรื่องขอเพิ่มเติมเหตุผลในหนังสือแจ้งการประเมิน มีรายละเอียดจากการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารของคณะบุคคล ด. หักด้วยดอกเบี้ยเงินฝาก คงเหลือยอดเงินฝากบัญชี จากนั้นเป็นการแจ้งรายการตรวจสอบจากหลักฐานหน่วยราชการ พยานบุคคลและพยานหลักฐานอื่น ตลอดจนหลักฐานที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ด. ชี้แจงเงินได้พึงประเมินเปรียบเทียบกับจำนวนเงินฝาก ข้อมูลหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อมูลรับรองงบการเงินของกรมสรรพากรที่นำมาคำนวณเพื่อประเมินภาษีในแต่ละรายการให้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 12) และใบแนบหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง แล้ว
ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 41 มีหลักการว่า คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง โดยส่งหนังสือขอเพิ่มเติมเหตุผลในการประเมินก่อนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือและส่งไปยังผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 34 อันเป็นกฎหมายเฉพาะ ทั้งยังให้โอกาสโจทก์อุทธรณ์เพิ่มเติมได้อีกด้วย เมื่อพิเคราะห์หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 12) ทั้ง 9 ฉบับ มีรายการจำนวนเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท ค่าลดหย่อนของคณะบุคคล เงินได้หลังหักค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิที่นำไปคำนวณภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระยังขาดไป เบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือ 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร คำนวณถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ระบุเหตุผลที่ประเมินว่า จากการตรวจสอบข้อมูลหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อมูลรับรองงบการเงินและรายการยอดนำฝากบัญชีธนาคาร ปรากฏว่าคณะบุคคล ด. ไม่ได้นำเงินได้พึงประเมินประเภทค่าสอบบัญชีตามมาตรา 40 (6) และเงินได้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) จากนั้นระบุจำนวนเงิน จึงประเมินให้คณะบุคคลต้องรับผิดชำระภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเพิ่มเติม ส่วนหนังสือเรื่องขอเพิ่มเติมเหตุผลในหนังสือแจ้งการประเมิน มีรายละเอียดจากการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารของคณะบุคคล ด. หักด้วยดอกเบี้ยเงินฝาก คงเหลือยอดเงินฝากบัญชี จากนั้นเป็นการแจ้งรายการตรวจสอบจากหลักฐานหน่วยราชการ พยานบุคคลและพยานหลักฐานอื่น ตลอดจนหลักฐานที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ด. ชี้แจงเงินได้พึงประเมินเปรียบเทียบกับจำนวนเงินฝาก ข้อมูลหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อมูลรับรองงบการเงินของกรมสรรพากรที่นำมาคำนวณเพื่อประเมินภาษีในแต่ละรายการให้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 12) และใบแนบหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน & การลดโทษจากความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 ว่า หลังจากจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจออกตรวจที่เกิดเหตุเห็นเหตุการณ์จึงเข้าระงับเหตุ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 โดยเจตนาฆ่า แต่ลูกระเบิดไม่ระเบิด ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ถึงแก่ความตาย ซึ่งถ้อยคำที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนนี้มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยกับพวกรู้แล้วว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจกำลังจะมาจับกุมจำเลยกับพวกจากการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการต่อสู้และขัดขวางมิให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตนได้ โจทก์ไม่ต้องบรรยายถ้อยคำว่า "ต่อสู้" หรือ "ขัดขวาง" ที่มีความหมายอย่างเดียวกันซ้ำในคำฟ้องอีก คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 จึงครบองค์ประกอบความผิดและเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริงกับการป้องกันตน ศาลฎีกายกเหตุสำคัญผิดให้จำเลย ไม่ผิดฐานฆ่า
จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเพราะผู้ตายใช้อาวุธปืนเด็กเล่นเล็งมายังกลุ่มของจำเลยก่อน ทำให้จำเลยสำคัญผิดว่ากำลังจะถูกผู้ตายใช้อาวุธปืนยิง จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกันตนอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เหตุที่จำเลยเพิ่งยกข้อต่อสู้นี้ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัย ก็เนื่องมาจากจำเลยเพิ่งทราบข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนอันเป็นประโยชน์แก่จำเลย เพราะหลังจากเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งสำนวนการสอบสวนคดีนี้มาประกอบการวินิจฉัย ซึ่งเอกสารในสำนวนการสอบสวนนั้นมีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวน ศาลจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากสำนวนการสอบสวนที่โจทก์ไม่ได้อ้างส่งศาลเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการส่งหมายนัดชี้สองสถานทำให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทัน ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวน
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดชี้สองสถานหลังจากวันที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้หมายแจ้งนัดชี้สองสถานถึง 16 วัน จนเป็นผลให้โจทก์ทราบนัดชี้สองสถานล่าช้าตามไปด้วยและทำให้โจทก์เหลือระยะเวลาไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้น การที่ในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางด่วนมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่เหลือระยะเวลาเพียงพอที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 20 ประกอบข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 15 วรรคแรก ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานมิใช่ความผิดของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาตั้งแต่ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ จนถึงชั้นพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่ชั้นพิจารณาสั่งบัญชีระบุพยานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - ความผิดกรรมเดียว - การแก้ไขบทลงโทษ - อำนาจปกครอง
ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า ธ. นำผู้เสียหายมาฝากไว้กับ ส. ภริยาของจำเลยช่วยดูแลเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาของผู้เสียหาย ดังนั้น อำนาจปกครองยังคงอยู่กับ ธ. ผู้เป็นบิดาของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 285
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8646/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ความผิดหลายกรรมต่างกันและการลดโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 7,500 บาท จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ เนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน เป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเป็นไปตามรายการที่แจ้งประเมินและขอบเขตที่ผู้เสียภาษีร้องขอให้พิจารณาใหม่
จำเลยมีใบแจ้งรายการประเมิน ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 มีข้อความสรุปได้ว่า ด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร กำหนดค่ารายปีและค่าภาษีที่พึงชำระสำหรับทรัพย์สินของโจทก์รวม 5 รายการ แต่ไม่ปรากฏการกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีสำหรับทรัพย์สินซึ่งเป็นกองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่อง ดังนั้น กองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่องจึงมิใช่รายการหรือประเภทแห่งทรัพย์สินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับการประเมินจะต้องพึงชำระค่าภาษีตามการประเมินของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เฉพาะ 5 รายการตามใบแจ้งรายการประเมิน แต่ใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยกลับมีรายการเพิ่มเติมโดยประเมินค่ารายปีและค่าภาษีของกองพัสดุกับพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งนอกเหนือจากใบแจ้งรายการประเมินของจำเลย และนอกเหนือจากรายการที่โจทก์ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ดังนั้น ใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 นั่งรถยนต์มากับจำเลยที่ 1 และได้รู้เห็นจำเลยที่ 3 ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 3 มัด ให้แก่สายลับภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 4 มัด แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสรู้เห็นการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยที่ 1 กับสายลับ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นอกจากพบเงินจำนวน 50,000 บาท ที่สายลับใช้ล่อซื้อแล้วยังพบเงินอีก 20,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นค่าเมทแอมเฟตามีนอยู่ในช่องเก็บของข้างที่นั่งคนขับ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มาซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 มัด รวม 2,000 เม็ด จากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ครอบครองเมทแอมเฟตามีนที่จะซื้อเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังจะส่งมอบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 พยายามมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด ไว้ในครอบครอง เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ต้องด้วยข้อสันนิษฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 2,000 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย