คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาลี ทัพภวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อโดยมิชอบ และการดำเนินการเรื่องคู่ความหลังมรณะไม่ถูกต้อง
โจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย โดยจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์และไม่ปรากฏว่าได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาดังกล่าว แล้วต่อมา ย. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ กรณีจึงย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ของ ย. ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ ย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้นั้น จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษา 2 คน ได้ทำการพิจารณาและพิพากษายกฟ้องตามคำพิพากษา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะนั้นเป็นผู้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา และนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 นั้น มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา โดยผู้พิพากษาคนดังกล่าวไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนี้และมิใช่บุคคลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29(3) ที่จะมีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาหลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนี้แล้วได้ ทั้งคดีนี้มิใช่เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 จึงเป็นคำพิพากษาที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อพิพาทโต้แย้งกันว่า จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดทำกิจการทำไม้ป่าชายเลนที่ได้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนเอกสารหมาย จ.4 เป็นการชั่วคราวอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนกับโจทก์หรือไม่ และจะต้องจ่ายเงินชดเชยความเสียหายกับคืนเงินประกันในการที่จะต้องชำระเบี้ยปรับตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด อันเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนตามที่คู่ความทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วทำคำพิพากษาใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 โดยมิได้มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยซ้ำอีกแล้วสรุปว่าโจทก์ไม่อาจเรียกเงินค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินวางประกันความเสียหายตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน เนื่องจากขณะฟ้อง สัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันจนสิ้นอายุสัมปทานตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ที่ทบทวนมติเดิมตามเอกสาร หมาย จ.35 เป็นทำนองว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าของที่ดินและสังคม
จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผู้แทนดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนจำเลย แม้พระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน แต่อธิบดีกรมทางหลวงก็ต้องปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยภายในกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนและการกำหนดราคาที่เป็นธรรม
การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ย สำหรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินเนื้อที่ 41.70 ตารางวา ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 แล้วทำสัญญาซื้อขายที่ดินเนื้อที่ 17.30 ตารางวา ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2540 นับแต่วันดังกล่าวไป 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินแก่โจทก์คือ วันที่ 25 ตุลาคม 2540 และวันที่ 2 มกราคม 2541 ตามลำดับ อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวหาใช่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับทั้งหมด โดยผู้รับมีสิทธิจัดการทรัพย์สินเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม พินัยกรรมไม่เป็นโมฆะ
พินัยกรรมที่ระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้แก่จำเลยไว้ในพินัยกรรมเพียงผู้เดียว และระบุประเภทของทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินใดๆ รวมทั้งสิทธิเรียกร้องของเจ้ามรดกที่มีต่อลูกหนี้ให้ตกแก่จำเลย แม้จะมีข้อความในพินัยกรรมว่า จำเลยจะยกทรัพย์สินหรือแบ่งปันให้แก่ผู้ใดเมื่อเจ้ามรดกได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก็สุดแต่ใจจะเห็นสมควร ข้อกำหนดดังกล่าวหาได้กำหนดให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ แทนเจ้ามรดกไม่ แต่มีความหมายว่า เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะดำเนินการอย่างไรต่อไปโดยจะยกทรัพย์มรดกหรือแบ่งปันให้แก่ผู้ใดหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยตามแต่จะเห็นสมควร ไม่ใช่ให้จำเลยเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกทั้งหมดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของจำเลย ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถยนต์: การจ้างซ่อมเพื่อกิจการประกันภัย เข้าข้อยกเว้นอายุความ 2 ปี ใช้ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำการซ่อมรถยนต์ผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์เรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: กรณีอุทธรณ์ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 8,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันกู้เงินจนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด คืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 ทั้งเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 จึงบังคับดอกเบี้ยได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร คืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โดยให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามอุทธรณ์ ทุกข์ของจำเลยย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยเรียกร้องให้รับผิดลดลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจำกัดเฉพาะผลโดยตรง การทวงหนี้และดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรง
ค่าเสียหายเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดนั้นเป็นค่าเสียหายซึ่งเป็นผลธรรมดาหรือผลโดยตรงจากการไม่ชำระหนี้ แต่ค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้และฟ้องคดี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฟ้องอุทธรณ์ฎีกาและบังคับคดีมิใช่ผลเกิดขึ้นโดยตรงจากการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ และไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษอันลูกหนี้อาจคาดเห็นหรือควรได้คาดเห็น ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดีให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง โจทก์เป็นผู้อุทธรณ์และเป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เป็นพับจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินหลังการโอนสิทธิ - การกำหนดส่วนแบ่งต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวมอื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเพื่อขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน เมื่อแบ่งแยกที่ดินเป็นของโจทก์ตามส่วนที่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานผู้จัดการมรดกของ ฉ. แล้ว ที่ดินส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสามและเจ้าของรวมคนอื่นๆ ยังคงถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่ การจะแบ่งที่ดินที่เหลือให้เป็นส่วนของจำเลยทั้งสามแยกต่างหากจากเจ้าของรวมคนอื่นอีกหรือไม่เพียงใด ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสามและเจ้าของรวมคนอื่นที่ต้องว่ากล่าวกันเอง โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้แบ่งแยกที่ดินในส่วนของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินที่เหลือดังกล่าวด้วยไม่ ทั้งการกำหนดส่วนแบ่งของจำเลยทั้งสามตามคำขอของโจทก์ย่อมกระทบต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีกับจำเลยทั้งสาม คำขอของโจทก์ที่ให้แบ่งแยกที่ดินเป็นของจำเลยทั้งสามจึงไม่อาจบังคับได้ เป็นผลให้ต้องยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์: กรณีคัดค้านมูลหนี้ร่วมรับผิด
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงินของโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินที่จำนอง เมื่อสัญญากู้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ด้วย จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ทั้งมิได้อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงไม่ต้องรับผิดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คัดค้านมูลหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้ฟ้องบังคับจำนอง หรือมีจดหมายบอกกล่าว
ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 โดยหาจำต้องฟ้องร้องขอบังคับจำนองก่อนหรือต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่แล้วไม่เพราะกฎหมายมิได้มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองดังกล่าว และการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็มิใช่การฟ้องบังคับจำนองโดยตรง ผู้รับจำนองจึงไม่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองในทรัพย์จำนองที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยึดไว้แล้วได้
of 57