พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สมรส ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจยึดได้ แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้บรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1906 ที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องโดยผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี คำร้องของผู้ร้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง โดยผู้ร้องแนบเอกสารการได้มาของที่ดินพิพาทมาท้ายคำร้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องและมีคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำร้องไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวเพื่อไม่ให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวเพื่อไม่ให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สมรส แม้เป็นสินส่วนตัวก็อาจถูกบังคับคดีได้หากเจ้าของยินยอม
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) ที่โจทก์นำยึดมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องด้วยจึงไม่มีอำนาจยึดที่ดินพิพาท ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง และมีคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำร้องไม่ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องรู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5
ผู้ร้องรู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีภาษีอากรและการย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
คดีนี้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดรังวัดที่ดินซึ่งได้นัดไว้ก่อน สอบโจทก์ไม่ค้าน ย่อมถือว่าทนายจำเลยที่ 2 มีเหตุจำเป็นไม่อาจมาศาลได้ ชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ส่งออกสินค้านอกราชอาณาจักรจริง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนบัตรภาษี หากศาลภาษีอากรกลางได้ทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออก อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจให้งดสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาไปเสียทีเดียว จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาออกหรือไม่ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง โดยให้ย้อนสำนวนไปทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์สินรวมที่ไม่สมบูรณ์ หากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งให้เช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
การจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่ ส. เจ้าของรวมคนหนึ่งให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทโดยทำสัญญาเช่าหลังจากโจทก์เจ้าของรวมอีกคนกำลังฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกไปจากที่เช่า ย่อมเป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันตึกแถวพิพาทซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เจ้าของรวมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญาเช่าจึงไม่สมบูรณ์และถือว่าเป็นการใช้สิทธิขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของรวมจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10434-10435/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีมรดก ต้องมีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิในทรัพย์สินนั้นโดยตรง
การร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้พิพากษา แต่คดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดแต่เพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับบ้านที่ดินและเงินฝากในบัญชีธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกโดยให้ปิดบ้าน และห้ามทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10344/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำไม่เข้าข่ายวิ่งราวทรัพย์ แม้ใช้อุบายลักทรัพย์ต่อหน้าบุคคลอื่น
การที่จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อ น. ไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหายโดยพวกของจำเลยลอบลักหยิบเอาบุหรี่ไปโดยไม่ให้บุคคลในร้านเห็น แม้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนฝั่งตรงข้ามจะเห็นเหตุการณ์ขณะพวกของจำเลยลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่ก็ตาม แต่ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนจะเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10344/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องมีการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าต่อหน้าผู้เสียหาย การลักทรัพย์โดยไม่ให้ผู้เสียหายเห็นจึงไม่เข้าข่าย
จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อ น. ไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหาย ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนและเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10335/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จะจ่ายเงินให้ผู้โอนสิทธิเดิม หากไม่ต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างถนนตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับห้างดังกล่าวให้แก่โจทก์และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว โดยโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสำนวนหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าสำเนาหนังสือดังกล่าวไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ดังนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับตามที่โจทก์กล่าวอ้างและยอมรับความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบจำเลยจะมานำสืบภายหลังว่าหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องฉบับที่อยู่ที่จำเลยมีข้อความบางอย่างไม่ครบถ้วนจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอนและการดำเนินการขอความยินยอม
หนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เมื่อปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2534 กำหนดโอนสิทธิการเช่าซึ่งต้องกระทำภายใน 3 เดือนนั้นก็จะครบกำหนดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 การที่คู่สัญญากำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทินเช่นนี้ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อันเป็นกรณีที่ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วคือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 อันเป็นวันที่จำเลยทั้งสามผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้