พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: สิทธิได้รับค่าทดแทนตกเป็นของผู้รับโอนเดิมก่อนการเวนคืน
ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีประกาศให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน หากเจ้าหน้าที่เวนคืนจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ตกลงกันได้หรือ วางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้ถือว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นับแต่วันชำระเงินหรือวางเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 วรรคท้ายประกอบมาตรา 11 วรรคสอง
ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงถูกเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงส่วนที่ถูกเวนคืนย่อมตกเป็นของฝ่ายจำเลยตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสองแปลงโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาชัยภูมิ ในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับโดยไม่ต้องมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินทั้งสองแปลงตามมาตรา 15 ในภายหลังอีก กรณีถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ส่วนที่ถูกเวนคืนรวมเนื้อที่ 111 ตารางวา ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 เป็นต้นไป
เมื่อผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น แต่ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนตามมาตรา 18 (1) และไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามต่อไป มิได้เรียกร้องเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่ผู้ร้อง
ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงถูกเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงส่วนที่ถูกเวนคืนย่อมตกเป็นของฝ่ายจำเลยตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสองแปลงโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาชัยภูมิ ในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับโดยไม่ต้องมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินทั้งสองแปลงตามมาตรา 15 ในภายหลังอีก กรณีถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ส่วนที่ถูกเวนคืนรวมเนื้อที่ 111 ตารางวา ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 เป็นต้นไป
เมื่อผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น แต่ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนตามมาตรา 18 (1) และไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามต่อไป มิได้เรียกร้องเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ตัวแทนผู้ฝาก การฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์และ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์จึงไม่มีมูล
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรจากการให้บริการทำธุรกรรมทางด้านการเงินและรับฝากเงิน เงินที่จำเลยที่ 1 รับฝากไว้จากโจทก์ จำเลยที่ 1 สามารถที่จะนำเงินออกไปใช้แสวงหาประโยชน์อย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอความเห็นชอบจากผู้ฝาก เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้ครบจำนวนตามกำหนดเวลาเท่านั้น และมีอำนาจหรือสิทธิตัดสินใจในการบริหารเงินที่รับฝากไว้ตามกิจการของตนเองได้โดยลำพัง จำเลยที่ 1 จึงมิได้มีฐานะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของโจทก์ตามความหมายแห่ง ป.อ. มาตรา 353 ดังนั้น หากโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินฝากกับจำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง โจทก์ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอากับจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งเท่านั้น
ข้อหาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นบทบัญญัติที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ อีกทั้งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีเสร็จการไต่สวนมูลฟ้อง แต่ก่อนอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 5 อ้างว่าเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นใหม่ภายหลัง โจทก์ไม่อาจอ้างได้ก่อนในวันนัดไต่สวนครั้งสุดท้าย ซึ่งเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเอกสารที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องและนำพยานมาสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว พยานเอกสารที่โจทก์ขอระบุเพิ่มเติมจึงมิใช่เอกสารสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดผลคดีให้เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 5 ของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ข้อหาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นบทบัญญัติที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ อีกทั้งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีเสร็จการไต่สวนมูลฟ้อง แต่ก่อนอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 5 อ้างว่าเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นใหม่ภายหลัง โจทก์ไม่อาจอ้างได้ก่อนในวันนัดไต่สวนครั้งสุดท้าย ซึ่งเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเอกสารที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องและนำพยานมาสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว พยานเอกสารที่โจทก์ขอระบุเพิ่มเติมจึงมิใช่เอกสารสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดผลคดีให้เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 5 ของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ กรณีความผิดพรากเด็กและกระทำชำเราโดยมีการสมรสภายหลัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 ถึงวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนมิถุนายน 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ... แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้สืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดในวันเวลาใด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลย คือจำเลยกระทำความผิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ซึ่งมาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) เป็นคุณกว่ามาตรา 277 วรรคท้าย (ที่แก้ไขใหม่) เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ดังนี้ สำหรับความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการขายสิทธิการเช่าและการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระบุปีภาษี รายละเอียดแสดงการคำนวณภาษี ภาษีที่ต้องชำระ เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งแสดงเหตุผลที่ประเมินไว้ท้ายหนังสือดังกล่าว สำหรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายการยอดขายและภาษีขาย ผลการตรวจยอดขายในเดือนพิพาท ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ยอดแตกต่างภาษีขาย รายการคำนวณภาษี รายการเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ รวมภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ทั้งมีเหตุผลประเมินที่ด้านหลังและข้อควรทราบระบุว่า โจทก์มีรายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ และเป็นกรณีประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับคำวินิจฉัย อุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. และบริษัทดังกล่าวตีราคาสิทธิการเช่าเป็นหุ้นให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องนำเงินลงทุนเป็นการแลกเปลี่ยน โจทก์จึงได้รับประโยชน์เท่ากับมูลค่าสิทธิที่ระบุในงบการเงินของบริษัท ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าบริษัท น. ให้สัตยาบันเกี่ยวกับสัญญาหรือค่าใช้จ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อยู่อาศัยเดิมก่อนการจัดตั้งบริษัท จึงถือเอารายจ่ายดังกล่าวนั้นมาตีราคาเป็นมูลค่าหุ้นของโจทก์ไม่ได้ เจ้าพนักงานหักค่าใช้จ่ายการโอนสิทธิการเช่าตามหลักฐานที่ปรากฏตามความจำเป็นและสมควร โดยคำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของเนื้อที่ที่ดินถือว่าเป็นธรรมแล้ว เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์โจทก์นำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2549 โดยขอเครดิตภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 247) พ.ศ.2534 และเจ้าพนักงานได้ประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนซื้อ อากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแล้ว เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเงินได้ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับรายจ่าย เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลดได้ จึงให้โจทก์เสียภาษีและเงินเพิ่มตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมีความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นมูลค่าหุ้น กรณีถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1 (8) (9) แห่ง ป.รัษฎากร มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/3 (1) เจ้าพนักงานประเมินตามมูลค่าที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทเป็นการถูกต้องแล้ว เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลด โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น เห็นได้ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจครบถ้วนแล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ถือครองเป็นระยะเวลาสั้นมากไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อมาเพื่อจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญหรือได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินสมกับเนื้อที่ แต่หลังจากซื้อที่ดิน 1 เดือน โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์ไม่มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณตามมาตรา 48 (1) และ (2) และไม่อาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร และมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกัน โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ผู้เช่าได้กระทำลงในที่ดินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารพาณิชย์ อาคารอพาร์ตเมนต์และอาคารสรรพสินค้าที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่เช่าออกให้บุคคลอื่นเช่า จึงมีลักษณะต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาเข้าสืบสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว แม้โจทก์ทำสัญญากับกรมการศาสนาโดยเป็นผู้เช่า ก็เป็นการสืบสิทธิของ ป. เจ้ามรดกผู้เช่าเดิม แต่สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสินสมรส จึงเป็นมรดกของ ป. เพียงกึ่งหนึ่ง เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว และบริษัท น. ออกหุ้นตามมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าหุ้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. ถือว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงกึ่งหนึ่ง
ป.ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ก่อน จ. และ ฉ. ทำสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนกับ ป.และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท น. แสดงว่า ป. ทำสัญญาในฐานะส่วนตัว มิใช่ตัวแทนบริษัทดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนเป็นเพียงหน่วยภาษี มิใช่มีสภาพบุคคลที่จะเป็นตัวการดังที่โจทก์อ้าง
ค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่กรมการศาสนาไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายโฉนด โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. เฉพาะโฉนดเลขที่ 1946 การที่เจ้าพนักงานประเมินเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเนื้อที่ดินแต่ละโฉนดจึงสมเหตุผล ส่วนค่ารื้อถอนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมเจ้าพนักงานประเมินยอมให้ถือเป็นรายจ่ายของที่ดินแต่ละโฉนดตามจำนวนเงินและหลักฐานของแต่ละแปลงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิการเช่าทั้งหมด เจ้าพนักงานประเมินมิได้โต้แย้งว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี แม้โจทก์มีเงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ก็มิได้ห้ามโจทก์หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน การที่เจ้าพนักงานประเมินยอมให้นำรายจ่ายดังกล่าวเต็มจำนวนมาคำนวณภาษีเงินได้จึงเหมาะสมและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
มาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร ที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ใช้เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิใช่เป็นกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นผลผูกมัดถึงการวินิจฉัยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. สิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งเป็นทางการค้าหรือหากำไรต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งไม่มีกรณีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา โจทก์ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ค่าเช่าบ้านที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์การประเมินข้อนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้ ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ถือครองเป็นระยะเวลาสั้นมากไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อมาเพื่อจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญหรือได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินสมกับเนื้อที่ แต่หลังจากซื้อที่ดิน 1 เดือน โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์ไม่มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณตามมาตรา 48 (1) และ (2) และไม่อาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร และมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกัน โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ผู้เช่าได้กระทำลงในที่ดินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารพาณิชย์ อาคารอพาร์ตเมนต์และอาคารสรรพสินค้าที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่เช่าออกให้บุคคลอื่นเช่า จึงมีลักษณะต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาเข้าสืบสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว แม้โจทก์ทำสัญญากับกรมการศาสนาโดยเป็นผู้เช่า ก็เป็นการสืบสิทธิของ ป. เจ้ามรดกผู้เช่าเดิม แต่สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสินสมรส จึงเป็นมรดกของ ป. เพียงกึ่งหนึ่ง เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว และบริษัท น. ออกหุ้นตามมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าหุ้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. ถือว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงกึ่งหนึ่ง
ป.ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ก่อน จ. และ ฉ. ทำสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนกับ ป.และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท น. แสดงว่า ป. ทำสัญญาในฐานะส่วนตัว มิใช่ตัวแทนบริษัทดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนเป็นเพียงหน่วยภาษี มิใช่มีสภาพบุคคลที่จะเป็นตัวการดังที่โจทก์อ้าง
ค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่กรมการศาสนาไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายโฉนด โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. เฉพาะโฉนดเลขที่ 1946 การที่เจ้าพนักงานประเมินเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเนื้อที่ดินแต่ละโฉนดจึงสมเหตุผล ส่วนค่ารื้อถอนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมเจ้าพนักงานประเมินยอมให้ถือเป็นรายจ่ายของที่ดินแต่ละโฉนดตามจำนวนเงินและหลักฐานของแต่ละแปลงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิการเช่าทั้งหมด เจ้าพนักงานประเมินมิได้โต้แย้งว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี แม้โจทก์มีเงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ก็มิได้ห้ามโจทก์หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน การที่เจ้าพนักงานประเมินยอมให้นำรายจ่ายดังกล่าวเต็มจำนวนมาคำนวณภาษีเงินได้จึงเหมาะสมและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
มาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร ที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ใช้เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิใช่เป็นกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นผลผูกมัดถึงการวินิจฉัยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. สิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งเป็นทางการค้าหรือหากำไรต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งไม่มีกรณีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา โจทก์ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ค่าเช่าบ้านที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์การประเมินข้อนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้ ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 และการลดโทษก่อนนำมารวมโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้" ข้อความของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่า อัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะพิจารณาลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทงแล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และ 78: ลำดับการลดโทษและการปรับโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้..." ฉะนั้นจากข้อความของบทบัญญัติของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่าอัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงพิจารณาลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทง แล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองใน ภ.บ.ท.5 และการซื้อขายที่ดินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ให้ ร. บุตรชายแจ้งสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเอง ต่อมา ร. ถึงแก่ความตายหลังจากนั้นจำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ร. ไปแจ้งสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ใหม่ต่อผู้ใหญ่บ้านว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอันเป็นความเท็จ ต่อมาโจทก์และบุตรชายนำคนงานไปตัดอ้อยในที่ดินพิพาท จำเลยกับบริวารเข้าขัดขวาง จึงขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ส่วนจำเลยให้การว่าเมื่อต้นปี 2534 จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ในราคา 220,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยการปลูกต้นอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยให้การยอมรับว่าเดิมโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ร. แต่จำเลยให้การว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลย ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้แก่ ร. ครอบครองในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ ร. นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้ายราคาน้ำมันไม่ใช่ป้ายเพื่อการค้าตามพรบ.ภาษีป้าย ศาลสั่งคืนเงินค่าภาษีที่ประเมินเกิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีสถานีบริการน้ำมันประจำปี 2545 ถึงปี 2548 ครั้งแรก ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ และยังไม่มีการยกเลิกการประเมิน เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อนายกเทศมนตรีจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 ได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายครั้งแรกในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันเฉพาะในส่วนที่มีเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินให้เสียภาษีป้ายปีละ 366 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ที่วินิจฉัยให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และให้เรียกเก็บภาษีป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และป้ายราคาน้ำมันเพิ่มเติมจากโจทก์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายครั้งที่สอง ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ให้เรียกเก็บภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าโจทก์ยังมีความรับผิดในหนี้ค่าภาษีตามการประเมินในส่วนที่ไม่มีการยกเว้นตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์และไม่มีเหตุที่จะทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ต้องเสียไป โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 33
ป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันเป็นป้ายที่แสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 7 กับประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 พ.ศ.2535 เรื่อง ให้ผู้จำหน่ายปลีกแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม ลงวันที่ 10 กันยายน 2535 และฉบับที่ 249 พ.ศ.2541 ลงวันที่ 23 เมษายน 2541 จึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ แม้ในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันจะอยู่ใต้ส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และอยู่ในโครงสร้างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อป้ายในส่วนนี้ไม่ใช่ป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 จึงไม่อาจนำไปคำนวณรวมกับป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" เพื่อประเมินให้เสียภาษีป้ายได้อีก การประเมินให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนของเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าภาษีตามการประเมินในส่วนนี้ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้คืนเงินในส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่กลับนำเงินในส่วนนี้ไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินในกรณีที่โจทก์ได้ชำระภาษีตามการประเมินภาษีในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันให้เสียภาษีป้ายรวม 4 ปีภาษี พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
ป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันเป็นป้ายที่แสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 7 กับประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 พ.ศ.2535 เรื่อง ให้ผู้จำหน่ายปลีกแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม ลงวันที่ 10 กันยายน 2535 และฉบับที่ 249 พ.ศ.2541 ลงวันที่ 23 เมษายน 2541 จึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ แม้ในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันจะอยู่ใต้ส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และอยู่ในโครงสร้างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อป้ายในส่วนนี้ไม่ใช่ป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 จึงไม่อาจนำไปคำนวณรวมกับป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" เพื่อประเมินให้เสียภาษีป้ายได้อีก การประเมินให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนของเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าภาษีตามการประเมินในส่วนนี้ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้คืนเงินในส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่กลับนำเงินในส่วนนี้ไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินในกรณีที่โจทก์ได้ชำระภาษีตามการประเมินภาษีในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันให้เสียภาษีป้ายรวม 4 ปีภาษี พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: ป้ายราคาน้ำมันไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ เนื่องจากเป็นป้ายแสดงราคาสินค้าควบคุม
เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายครั้งแรก แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ให้เรียกเก็บภาษีจากป้ายที่มีข้อความว่า ESSO และป้ายราคาน้ำมัน เป็นป้ายประเภทที่ 2 และให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มเติม โดยจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายครั้งที่ 2 ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกการประเมินครั้งแรก ก็ต้องถือว่าโจทก์ยังมีความรับผิดในหนี้ค่าภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ไม่มีเหตุที่จะทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เสียไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้
ป้ายพิพาทเป็นป้ายแสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 54) และประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด (ฉบับที่ 200 และฉบับที่ 249) ป้ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
แม้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ไม่คืนเงินในส่วนนี้ให้โจทก์ กลับนำไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้โจทก์ 1,464 บาท แต่กรณีที่โจทก์ขอให้คืนเงิน 35,016 บาท ที่โจทก์ได้ชำระไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 35,016 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินไปแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง กรณีจึงไม่อาจคืนเงินให้แก่โจทก์ได้
ป้ายพิพาทเป็นป้ายแสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 54) และประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด (ฉบับที่ 200 และฉบับที่ 249) ป้ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
แม้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ไม่คืนเงินในส่วนนี้ให้โจทก์ กลับนำไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้โจทก์ 1,464 บาท แต่กรณีที่โจทก์ขอให้คืนเงิน 35,016 บาท ที่โจทก์ได้ชำระไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 35,016 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินไปแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง กรณีจึงไม่อาจคืนเงินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – จำเลยไม่ได้โต้แย้งเหตุผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างเฉพาะเจาะจง
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น มิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แม้จำเลยจะมีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225