คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาลี ทัพภวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ UPS ไม่เป็นแบตเตอรี่ ภาษีสรรพสามิตถูกต้อง ศาลสั่งคืนดอกเบี้ย
เครื่องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่หรือ UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ เครื่อง UPS ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4)
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ UPS ไม่ใช่แบตเตอรี่: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย
เครื่อง UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ นอกจากนี้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ ดังนั้น เครื่อง USP จึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4) จึงเก็บภาษีสรรพสามิตตามการประเมินในรายการของเครื่อง UPS ไม่ได้
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การเวนคืนตามกฎหมายอื่นควบคู่กัน เพื่อให้เป็นธรรม
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่มุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์หรือผู้ทรงสิทธิอื่น แต่มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้ดังเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 อย่างเป็นธรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารในสำนวนคดี – ศาลรับฟังได้หากจำเลยมีสิทธิซักค้านและหักล้าง
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ แต่ยื่นบัญชีระบุพยานระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับ โดยไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไรบ้างก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย โดยพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วตามที่ระบุในคำฟ้อง ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเอกสารที่โจทก์ประสงค์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวล้วนเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบสวนในคดีนี้ทั้งสิ้น โจทก์มีอำนาจนำพยานเอกสารดังกล่าว เข้าสืบได้ เมื่อจำเลยซึ่งถูกอ้างเอกสารดังกล่าวมายันย่อมซักค้านได้ และถ้าเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมนำพยานที่เกี่ยวข้องมานำสืบหักล้างพยานเอกสารที่โจทก์นำเข้าสืบได้ มิได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างไร การยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานโดยไม่ระบุเอกสารเฉพาะเจาะจง และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานโดยอันดับ 7 มิได้อ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ เพียงระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไร แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9725/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กและการพรากผู้เยาว์: อำนาจปกครองมารดาและการกระทำอนาจาร
เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะและพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยดึงผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปในห้องพักของจำเลยแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 รวม 2 ครั้ง เป็นการกระทำอันมีเจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แล้ว เพราะจำเลยนำสืบรับว่ามีบุตรและภริยาอยู่แล้ว ย่อมไม่อยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร รวม 2 กระทง ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำของโรงเรียนที่เกิดเหตุระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกิจธุระจึงให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยนั้น จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันจะเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 คงมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยในครั้งนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบแจ้งคำชี้ขาดต้องมีเหตุผลประกอบ หากไม่มีถือว่าไม่ชอบตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
โจทก์มีหน้าที่ต้องกรอกรายการในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 20 แต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเบื้องต้นสำหรับให้เทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สินเพื่อประเมินค่ารายปีและค่าภาษีที่จะต้องเสียเท่านั้น เมื่อใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจที่ชัดแจ้ง โจทก์ย่อมไม่ทราบเหตุผลในการทำคำชี้ขาดได้ ใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งคำชี้ขาดที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีภาษีอากร: การฟ้องคดีเดิมซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 319/2547 ของศาลภาษีอากรกลาง เป็นการขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน คู่ความเดียวกันและคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีภาษีป้าย: การจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเมื่อมีหนังสือแจ้งการประเมินหลายฉบับ และประเด็นเจ้าของป้าย
โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายไปยังจำเลยจำนวน 2 ฉบับ ทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์จึงต้องแยกพิจารณาตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ เพราะการประเมินภาษีป้ายแต่ละป้ายแต่ละปีภาษีสามารถแยกจากกันได้ ดังนั้น ภาษีป้ายตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาท 15,400 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 25 จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายตามฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นเจ้าของป้ายตามฟ้องหรือไม่ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นเจ้าของป้ายตามฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบและถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจาณราคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีบรรจุแยกสินค้าของการรถไฟฯ ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออก โดยผู้ดำเนินการที่สถานีดังกล่าว จะขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำส่งสินค้าที่จะส่งไปต่างประเทศมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ จึงเป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ คือการรับขนสินค้าตามมาตรา 6 (2) และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ดังนั้น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง จึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
ปัญหาว่าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามฟ้องได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน การที่โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาสัมปทานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยให้แก่จำเลยที่ 1 ไป โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 26 ที่จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่
of 57