คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่านา: การปฏิเสธบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. หากผู้เช่าไม่ได้ทำนาเอง
คำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และการพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าการบังคับจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และมาตรา 44
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มุ่งช่วยเหลือคุ้มครองเกษตรกรผู้เช่านาซึ่งเป็นผู้ทำนาโดยเฉพาะให้ได้สิทธิในที่ดินที่ตนทำนา เมื่อโจทก์ผู้เช่านาพิพาทผิดสัญญามิได้ทำนาด้วยตนเองแต่นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เช่านาเพื่อทำนาโดยแท้จริง ต้องถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะซื้อนาพิพาทจากจำเลยผู้รับโอนตามมาตรา 54 การที่โจทก์ฟ้องบังคับซื้อนาจากจำเลยเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และการบังคับตามคำชี้ขาดของ คชก. จังหวัดที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ชอบที่ศาลจะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้
ราคาตลาดที่จำเลยยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธราคาที่โจทก์ขอซื้อที่นาไม่ใช่ทุนทรัพย์ที่จำเลยเรียกร้อง แม้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาก็หาต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ตามราคาตลาดที่กล่าวอ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยและพืชล้มลุกไม่เข้าข่ายการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คชก.วินิจฉัยผิด ศาลมีอำนาจปฏิเสธบังคับตามคำชี้ขาด
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเป็นจดหมายหลัก จึงได้ให้คำนิยามไว้ในหมวด 2 การเช่านาในมาตรา 21 ว่า "นา" หมายความว่า ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ "ทำนา" หมายความว่า การเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่า พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติคำนิยามไว้โดยเฉพาะ จะนำเอาความหมายตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้มาใช้บังคับไม่ได้
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การเสนอขายใหม่ตามกฎหมาย และผลผูกพันตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนาที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความจำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคสี่เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยนอกจากนี้ จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายต่อ - คชก.มีอำนาจชี้ขาด - ราคาซื้อขายตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนา ที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่ จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความ จำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคสี่ เมื่อเป็นเช่นนี้กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง คชก.ตำบล บ. ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอและคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 วรรคสองแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล บ. ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา 250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเช่าทำนา, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คชก.ตำบล ค.วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3 ยังไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 58
แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมากซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท & การวินิจฉัยผิดสัญญา: ศาลฎีกาเน้นการพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา & สิทธิของผู้เช่าที่ดิน
คชก.ตำบล ค. วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3ยังไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมาก ซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่ โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้ วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะ ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการซื้อที่ดินคืนหลังคำวินิจฉัย คชก. และการฟ้องซ้ำ: โจทก์ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยก่อนจึงมีสิทธิซื้อ
ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 7308 ของ ฉ. และที่ดินโฉนดเลขที่ 7309 ของ ส. เพื่อใช้ทำนาต่อมา ฉ. และ ส.ได้ขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ30,000 บาท โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน โจทก์เคยติดต่อขอซื้อที่ดินคืน แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย โจทก์จึงร้องขอต่อ คชก.ตำบลให้มีคำวินิจฉัย คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยให้โจทก์ซื้อที่ดินทั้งสองแปลงจากจำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ 250,000บาท โจทก์ไม่พอใจจึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดพิจารณาและมีคำวินิจฉัยยืนตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวแก่โจทก์ในราคาไร่ละ 30,000 บาทคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด เพราะตราบใดคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้ ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทำนองเดียวกันอีกและอ้างว่าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล และ คชก.จังหวัดขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงต้องขอให้ศาลบังคับคดีตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล และ คชก.จังหวัด ให้จำเลยทั้งสามขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7308 และ 7309 แก่โจทก์ในราคาไร่ละไม่เกิน 60,000 บาท นั้นประเด็นพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการแต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้หรือไม่ แม้ราคาที่โจทก์ขอซื้อคืนในคดีก่อนและในคดีนี้จะแตกต่างกันก็ตาม แต่ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดนั้นจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินที่เช่าคืนตามราคาที่โจทก์ต้องการได้หรือไม่นั่นเอง จึงหาใช่เป็นเรื่องการบังคับคดีตามมาตรา 58 แต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่าคู่ความในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9935/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการ คชก. มีส่วนได้เสีย ทำให้คำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยได้
เมื่อ ช.กรรมการคชก.ตำบลลำโพเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสอง ช. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีพิพาทรายนี้คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลลำโพ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 18 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ศาลมีอำนาจปฎิเสธไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าและสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก. ที่ถึงที่สุดคือไม่ยอมให้โจทก์เช่าทำนาในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่อไปตามเดิม และไม่ยอมขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ตามที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย การที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.จังหวัด ทั้งสองกรณีนี้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้อยู่แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ที่ถึงที่สุดคือไม่ยอมให้โจทก์เช่าทำนาในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่อไปตามเดิมและไม่ยอมขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ตามที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.จังหวัดทั้งสองกรณีนี้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดได้อยู่แล้วโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
of 3