พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นความรับผิดในฐานะตัวการเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นผู้กระทำละเมิด
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการหรือไม่ ดังนั้นเมื่อคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกับ ป. ผู้ขับรถยนต์คนเกิดเหตุ จึงมิได้เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ใช้ ป. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อรถยนต์คันดังกล่าวชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในเหตุละเมิดตามฟ้อง เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ถือเป็นการต้องห้ามฎีกาตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิด โดยลักรถยนต์คันพิพาทไปขณะที่ออกเวรปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้ว อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะส่วนตัว กับบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดในฐานะผู้ว่าจ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ อันเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าวให้เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์เมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และประเด็นการเป็นทายาท
ที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท แต่ปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ให้แก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่นๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นการฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับขาดสิทธิชำระหนี้, สิทธิไล่เบี้ยผู้ค้ำประกัน/จำนอง, การผิดนัดชำระหนี้, การบังคับจำนอง
ตามข้อตกลงซื้อขายหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนเดือนละ 1,000,000 บาท ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนดอันเป็นการผิดข้อตกลงแล้วเท่านั้น ค่าตอบแทนรายเดือนดังกล่าวจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าหากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ยังจะต้องดำเนินการเช่นนั้นอีกต่อไปจนสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคหนึ่ง ซึ่งหากเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป คดีได้ความว่า หลังจากพ้นเวลาที่กำหนดคือวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 ยังมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมขาดไป
สิทธิของของโจทก์ที่ 1 ที่จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 724 เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ได้บังคับจำนองแล้วแต่อย่างใด สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
สิทธิของของโจทก์ที่ 1 ที่จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 724 เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ได้บังคับจำนองแล้วแต่อย่างใด สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกับการขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน/จำนองสิทธิไล่เบี้ยเมื่อชำระหนี้หรือบังคับจำนอง
ข้อตกลงซื้อขายหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ข้อ 3 วรรคแรก มีข้อความว่า "ผู้ขายตกลงเป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินของบริษัท ก. มีวงเงินค้ำประกัน 350,000,000 บาท ต่อไปจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2534... และภายในวันที่ 3 เมษายน 2534 เช่นกัน ผู้ซื้อจะดำเนินการให้ธนาคารปลดผู้ขาย ส. และ ว. ออกจากเป็นผู้ค้ำประกัน และปลดจำนองทรัพย์สินซึ่งจำนองประกันหนี้สินของบริษัท ก. ทั้งหมด" วรรคสอง มีข้อความว่า "ถ้าหากล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ ผู้ซื้อและบริษัท ก. ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขายเดือนละ 1,000,000 บาท ทุกๆ เดือนจนกว่าผู้ขายจะหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง" ซึ่งหมายความว่า โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนรายเดือนต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อหุ้นจากโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองให้สำเร็จได้อันเป็นการผิดข้อตกลงแล้วเท่านั้น ค่าตอบแทนรายเดือนจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ระบุว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายเวลาที่กำหนดแล้ว ยังจะต้องดำเนินการเช่นนั้นอีกต่อไปจนสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก ซึ่งหากเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป
หลังจากพ้นกำหนดวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ที่ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สทิธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมเป็นอันขาดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก
สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตาม มาตรา 724 บัญญัติให้ผู้จำนองที่เข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ได้ชำระไป และถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ผู้จำนองก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนอง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้เข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารได้บังคับจำนองแล้ว สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
หลังจากพ้นกำหนดวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ที่ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สทิธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมเป็นอันขาดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก
สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตาม มาตรา 724 บัญญัติให้ผู้จำนองที่เข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ได้ชำระไป และถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ผู้จำนองก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนอง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้เข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารได้บังคับจำนองแล้ว สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารและเงินให้ผู้จัดการคนใหม่ หากไม่ส่งมอบถือเป็นความผิด
โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการของโจทก์ มีหน้าที่นำเงินกองทุนนิติบุคคล เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางฝากธนาคาร จัดทำและเก็บรักษาสมุดรายงานการประชุม เอกสารทางบัญชี บัญชีรายรับรายจ่าย งบประมาณประจำปี งบดุล รายงานประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ต่อมาเมื่อโจทก์แต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์แล้ว อ. ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบเงินกองทุนนิติบุคคล เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง รวมทั้งเอกสารทั้งหมดแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบเงินที่เหลือพร้อมเอกสาร หากคืนเอกสารไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการเพียงพอให้จำเลยที่ 3 เข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 จะได้รับเงินจากเจ้าของร่วมแต่ละห้องเมื่อใดและกระทำผิดหน้าที่เมื่อใด โจทก์กำหนดค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าการแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยที่ 3 ให้การในข้อนี้เพียงว่าที่ประชุมเจ้าของร่วมอาคารชุดที่พิพาทไม่ได้มีมติแต่งตั้งให้ อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ อ. ขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนข้อบังคับต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยพลการและไม่มีสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้องเช่นนี้ ประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องจึงมีว่า ที่ประชุมเจ้าของร่วมของโจทก์มีมติแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีข้อเท็จจริงโต้แย้งกันว่า การประชุมเจ้าของร่วมของโจทก์ในการลงมติแต่งตั้งผู้จัดการของโจทก์ดังกล่าวมีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับของโจทก์ แม้ข้อเท็จจริงฟังว่ามีเจ้าของร่วมของโจทก์เข้าร่วมประชุมจำนวนไม่ถึงหนึ่งในสามของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ทำให้มีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งจะมีผลให้การแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ชอบตามที่จำเลยที่ 3 ฎีกา แต่ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดีที่จำเลยที่ 3 ได้ให้การไว้ แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งคู่ความอาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าการแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยที่ 3 ให้การในข้อนี้เพียงว่าที่ประชุมเจ้าของร่วมอาคารชุดที่พิพาทไม่ได้มีมติแต่งตั้งให้ อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ อ. ขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนข้อบังคับต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยพลการและไม่มีสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้องเช่นนี้ ประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องจึงมีว่า ที่ประชุมเจ้าของร่วมของโจทก์มีมติแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีข้อเท็จจริงโต้แย้งกันว่า การประชุมเจ้าของร่วมของโจทก์ในการลงมติแต่งตั้งผู้จัดการของโจทก์ดังกล่าวมีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับของโจทก์ แม้ข้อเท็จจริงฟังว่ามีเจ้าของร่วมของโจทก์เข้าร่วมประชุมจำนวนไม่ถึงหนึ่งในสามของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ทำให้มีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งจะมีผลให้การแต่งตั้ง อ. เป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ชอบตามที่จำเลยที่ 3 ฎีกา แต่ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดีที่จำเลยที่ 3 ได้ให้การไว้ แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งคู่ความอาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาอาวุธปืนติดตัวในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีเหตุผลอื่นใดก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยรับฝากอาวุธปืนของกลางไว้จาก ป. แล้วนำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของในรถยนต์ของ ม. โดยจำเลยนั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปด้วย เมื่อจำเลยนั่งโดยสารรถยนต์ของ ม. จากร้านอาหาร จ. ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ถึงบริเวณที่เกิดเหตุสี่แยกบรมราชชนนี อันเป็นเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนที่จำเลยอ้างว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของ ส. ได้นำมาฝาก บ. ไว้จะไปทำธุระในเมือง แต่ บ. กลัวว่าบุตรของตนซึ่งยังเล็กและซุกซนจะได้รับอันตรายจึงฝากจำเลยไว้ ก็มิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนต้องมีอาวุธปืนของกลางติดตัวไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานทางวิดีโอและคำให้การในคดีข่มขืน แม้ผู้เสียหายไม่สามารถเบิกความได้
โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายที่ 1 มาเบิกความเป็นพยาน เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ย้ายที่อยู่หาตัวไม่พบ คำให้การของผู้เสียหายที่ 1 ในชั้นสอบสวนแม้เป็นพยานบอกเล่า แต่ผู้เสียหายที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวน นักจิตวิทยาและพนักงานอัยการโดยมีการบันทึกภาพและเสียงไว้ตามแถบวิดีทัศน์วัตถุพยานหมาย ว.จ.1 อันเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายที่ 1 ได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ในชั้นพิจารณาของศาลประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย และมาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามมาตรา 269/7, การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเฉพาะโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันใช้และฐานร่วมกันนำเข้าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมจากกระทงละ 2 ปี และ 4 ปี เป็นกระทงละ 1 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อแต่ละกระทงยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันปลอม นำเข้า และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงินสด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/7 ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในความผิดดังกล่าวกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวางโทษจำคุกให้หนักขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และเนื่องจากเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และมาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันปลอม นำเข้า และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงินสด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/7 ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในความผิดดังกล่าวกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวางโทษจำคุกให้หนักขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และเนื่องจากเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และมาตรา 213 ประกอบมาตรา 225