พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์: สิทธิครอบครองเดิม vs. การได้กรรมสิทธิ์ใหม่หลังมีโฉนด
ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นที่ดินซึ่งบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ การที่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องขอว่าผู้ร้องซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะส่วนจาก ป. โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่ได้มีการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันอันเป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงเหตุแห่งการที่ผู้ร้องได้ที่ดินมาครอบครอง เมื่อที่ดินมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ผู้ร้องจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น ผู้ร้องจะครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ต่อมาหลังจากผู้ร้องซื้อที่ดินแล้ว ที่ดินดังกล่าวได้ออกหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน ดังนั้น การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ซึ่งเมื่อนับระยะเวลาการครอบครองตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดินถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปีแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องไม่บังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้บทกฎหมายหนี้จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/27 แห่ง ป.พ.พ. เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้อันเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยมิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนอง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญมิใช่ฟ้องบังคับจำนองถึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 ต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์ฟ้องคดีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 วันที่ 26 มกราคม 2550 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 ฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: การฟ้องเรียกชำระหนี้เงินกู้กับทายาทเมื่อเลยกำหนดอายุความ และการฟ้องบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามอยู่ใต้บังคับมาตรา 193/27 เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้ว แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง อันเป็นการบังคับตามทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ แต่โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ชำระหนี้อันเป็นตัวเงินคืนต้นเงินและดอกเบี้ย มิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 จึงต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01: ศาลชั้นต้นพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากยังไม่ฟังพยาน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว หาใช่มีเจตนาตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4 - 01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย อันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ ส่วนที่ดินพิพาทจะสามารถดำเนินการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินได้จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องและระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก.4-01: การบังคับสัญญาเมื่อยังไม่เปลี่ยนสถานะโฉนด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย ข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้วางเงินมัดจำค่าที่ดินให้กับผู้จะขายเป็นเงิน 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือ 10,000,000 บาท ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อชำระภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 แต่ถ้าหากปรากฏว่าผู้จะซื้อได้ดำเนินการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินแล้วเสร็จก่อนที่จะถึงวันนัดชำระเงินส่วนที่เหลือ ผู้จะซื้อจะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 10,000,000 บาท ให้กับผู้จะขายในวันประกาศแจกโฉนดที่ดิน และผู้จะขายตกลงส่งมอบการครอบครองให้กับผู้จะซื้อนับแต่วันที่ผู้จะซื้อชำระราคาที่ดินครบถ้วน เมื่อพิจารณาจากข้อสัญญาดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว หาใช่มีเจตนาที่ตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย อันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ ส่วนที่ดินพิพาทจะสามารถดำเนินการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 และออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินได้จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องและระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก.4-01: เจตนาซื้อขายเมื่อแปลงสภาพเป็นโฉนด มิใช่โมฆะ
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว มิได้มีเจตนาตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายที่จะตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม กรณีแบบคำขอโอนรถยนต์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การแก้ไขฐานความผิดตามกฎหมายอาญา
แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ แม้จะเป็นแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก แต่ก็เป็นแบบพิมพ์สำหรับผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนและรับโอนรถยนต์นำไปกรอกข้อความลงไปได้เอง แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการจดทะเบียนในใบคู่มือจดทะเบียนเท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยที่ 1 ทำคำขอโอนทะเบียนรถยนต์ปลอมขึ้นทั้งฉบับนั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265 และใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินยืนยันสิทธิของโจทก์ที่ได้มาจากการซื้อขาย และแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการรื้อถอน
ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในกรณีที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูก ให้โจทก์ดำเนินการแทน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับ: คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นที่สุดและไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้วจำเลยที่ 2 จะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและการหักเงินประกันความเสียหาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้รับโอนไม่ผูกพันตามสัญญาเดิม
โจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทมาจาก ป. โดยมีจำเลยเช่าตึกแถวดังกล่าวจาก ป. อยู่ก่อนแล้ว โดยจำเลยชำระเงินประกันความเสียหายจากการเช่าให้ ป. ใช้จำนวนหนึ่ง เงินประกันการเช่านี้เป็นเงินประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เช่าและผู้ให้เช่าเดิม แม้ระบุไว้ในสัญญาเช่าก็เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่า ทั้งไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าตามที่ ป.พ.พ. กำหนดไว้จึงไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า กรณีไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับไป ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 569 วรรคสอง การคืนเงินประกันการเช่าจึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ในฐานะผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ต้องรับผิดคืนเงินประกันการเช่าศาลอุทธรณ์จึงไม่มีสิทธินำเงินประกันการเช่าจำนวน 72,000 บาท มาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าโจทก์ได้