คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถ: สัญญาจ้างทำของ vs. ธุรกิจการค้าของจำเลย
โจทก์ประกอบกิจการรับซ่อมรถจึงเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ประกอบการรับประกันวินาศภัยทุกประเภทมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลย การซ่อมรถให้แก่ผู้เอาประกันวินาศภัยจึงเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าซ่อมรถของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) จึงมีอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์ได้ซ่อมรถยนต์ตามคำสั่งของจำเลยและไม่ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จแล้ว โจทก์ก็ย่อมที่จะบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ซ่อมรถยนต์เสร็จตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมจากจำเลยดังกล่าวถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับโอนจากการประนีประนอมยอมความ: สิทธิเด็ดขาดก่อนเจ้าหนี้เดิม แม้ยังไม่ชำระเงินทั้งหมด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่า ผู้ร้องและจำเลยสมคบกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยเจตนาไม่สุจริต เพื่อให้ทรัพย์สินพ้นจากการบังคับดคีและทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้ผู้ร้องตามมูลหนี้สัญญาจะซื้อจะขายและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนย่อมเกิดขึ้นทันทีแม้ผู้ร้องจะต้องชำระเงินที่เหลือจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยก็ตาม การที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินที่เหลือจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทนเท่านั้นหามีผลทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนเหนือที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิขอให้บังคับยึดที่ดินพิพาททั้งสองเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้อันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อชำระหนี้ การแสดงเจตนาและผลทางกฎหมาย
จำเลยแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตีใช้หนี้และส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 525 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครองจึงถือได้ว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ได้มาตามสัญญายกให้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังเพิกถอนการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชีและให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนและให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดตามคำขอของโจทก์แล้ว จึงเป็นกรณีผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง ซึ่งศาลย่อมมีอำนาจตั้งผู้ชำระบัญชีได้ และตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติบังคับศาลให้ต้องตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นคนกลางได้ ไม่เป็นการมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดมิได้เกิดจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายอันจะเป็นเหตุให้สมควรตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี จึงเห็นสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสมัครใจให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นไม่ใช่เฉพาะโจทก์ตามคำขอ
ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง มิได้บังคับศาลต้องแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีได้ และไม่เป็นการมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดตามประกาศยึดทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำยึด มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์ดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามมาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใหญ่บ้านสนับสนุนทำบัตรประชาชนปลอม ความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน และประมวลกฎหมายอาญา
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือ โดยลงลายมือชื่อรับรองอันเป็นเท็จลงในด้านหลังของคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน ว่า จ. คือ บ. ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 241 เป็นลูกบ้านในหมู่บ้านซึ่งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ แม้จะไม่มีคำว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน แต่ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานแล้ว เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านย่อมเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯ การรกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคสาม ซึ่งมีโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 1 ปี ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยตามมาตรา 14 (1) (3) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และลงโทษจำคุกจำเลย 8 เดือน นั้น เห็นว่าไม่ถูกต้อง และเป็นการวางโทษที่ต่ำกว่ากฎหมาย แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. แต่เห็นควรปรับบทให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296-297/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ว. กรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 เคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ระงับการชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนโดยระบุว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลแล้วซึ่งเป็นหนังสือลงวันที่ 2 เมษายน 2546 ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ว่าเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 จึงรับฟังไม่ได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าถูกโจทก์ฟ้อง อย่างช้าที่สุดก็ในวันที่ 2 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่ ว. ทำหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังมีเวลาอีกหลายวันพอแก่การจัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลได้ เนื่องจากวันที่ 12 เมษายน 2546 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นวันเสาร์ ต่อจากนั้นเป็นวันหยุดตรุษสงกรานต์ซึ่งศาลหยุดทำการ แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้จัดทำคำให้การมายื่นต่อศาลในวันแรกที่ศาลเปิดทำการไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดยื่นคำให้การไปแล้วหลายวัน จำเลยที่ 1 จึงได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 มิได้สนใจเกี่ยวกับการที่ถูกโจทก์ฟ้องและไม่เอาใจใส่ที่จะดำเนินการต่อสู้คดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การบังคับคดีต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รับฟังในคดีอาญา
เรื่องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในคดีอาญาพนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองบุกรุกที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันสร้างบ้านพักอาศัยเป็นบ้านชั้นเดียว ตัวบ้านทิศตะวันตกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ด้านหลังบ้านมีสุขา และเล้าไก่ อยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อหาบุกรุก ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า บ้าน สุขา และเล้าไก่ของจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้พิพากษาคดีส่วนแพ่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทตามแผนที่พิพาทที่ทำไว้ในคดีอาญา ในการปฎิบัติตามคำพิพากษาศาลุอทธรณ์ภาค 5 ที่จำเลยทั้งสองต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจึงต้องถือตามแนวที่ปรากฏในแผนที่พิพาทดังกล่าว เพราะหากถือตามแนวที่เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดบ้านของจำเลยทั้งสองก็จะอยู่นอกแนวและไม่ถูกบังคับคดีซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในคดีอาญา
of 40