คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบ หากโต้แย้งเฉพาะคำร้องแก้ไขฟ้อง ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยเพียงแต่โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไรและจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนซื้อขายที่ดิน, การแบ่งกำไร, เงินทดรองจ่าย, การชำระบัญชี, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน 2,110,000 บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก 600,000 บาท มาชำระค่าที่ดินเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน 600,000 บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อน หาใช่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (3) และหลังจากขายที่ดินแล้วจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท และมีการทำบัญชีไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14887/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า: 'กิจการของลูกหนี้' ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าในโรงสีข้าว ทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
กรณีผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 191/34 (1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองนั้น คำว่า "กิจการของฝ่ายลูกหนี้" หาได้มีความหมายจำกัดเพียงว่า ต้องเป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายอีกต่อหนึ่งหรือต้องเป็นการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าเท่านั้นไม่ แต่ต้องพิจารณาถึงลักษณะของการประกอบกิจการของลูกหนี้เป็นกรณีไป
จำเลยที่ 1 ซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14755/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาขายลดตั๋วเงินและอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชี
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินไม่ใช่เป็นสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 1 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ศ. ในอัตราเอ็มโออาร์ บวกร้อยละ 2 ต่อปี และถ้าต่อไปธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกหรืออัตราต่ำลง จำเลยที่ 1 ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดังกล่าวได้แบบไม่ทบต้นจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่ถือได้โดยชอบมาแต่เดิม เมื่อข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้คิดดอกเบี้ยอัตราเอ็มโออาร์บวกร้อยละ 2 ต่อปีตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ตามอัตราที่จะประกาศกำหนด ฉะนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดดอกเบี้ยสำหรับหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอัตราร้อยละ 13 ต่อปี คงที่ตลอดไปนั้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการอายัดทรัพย์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และบริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10532/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเหนือกว่าภาระจำยอม: การจดทะเบียนภาระจำยอมกระทบสิทธิผู้รับจำนอง
จำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 12844 ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอม ซึ่งการจะจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวได้ต้องไม่ทำให้เป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 722 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดถึง 9 ครั้ง ไม่สามารถขายได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ หากมีการจดทะเบียนภาระจำยอมทำให้ราคาทรัพย์จำนองลดลงเป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 ในเวลาบังคับจำนอง สิทธิจำนองของจำเลยที่ 2 ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องส่งมอบที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค เพื่อทำการจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10505/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้: ศาลงดบังคับคดีได้หากจำเลยชำระหนี้ครบถ้วน แม้มีช่วงชำระล่าช้า
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายงวดรวม 7 งวด ผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ ตกลงชำระงวดแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลชำระหนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ช้าไปเพียง 2 วันทำการ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 มีนาคม 2547 กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งในงวดต่อๆ มา เดือนสิงหาคม 2547 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนสิงหาคม 2548 เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เดือนสิงหาคม 2549 และเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จำเลยชำระตรงตามนัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมระงับสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วน-เลิกห้างหุ้นส่วน: ความไม่ไว้วางใจและความเป็นไปไม่ได้ในการดำเนินกิจการต่อ
การที่โจทก์และจำเลยทั้งหกมีข้อพิพาทต่อกันหลายคดี รวมถึงการดำเนินกิจการโรงรับจำนำ ฮ. โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้โจทก์นำเงินรายได้ประจำวันของโรงรับจำนำ ฮ. มาวางศาล และขอให้ตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจบัญชี แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งการเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนเองจึงไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขายหุ้นส่วนของฝ่ายนั้นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ กรณีเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกัน-จำนองยังไม่ระงับ แม้ลูกหนี้ล้มละลาย-เจ้าหนี้ไม่ขอรับชำระหนี้ ผู้ค้ำ-ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ย่อมเป็นผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้หนี้ที่ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ระงับไปเพียงแต่เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องเอาหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้เท่านั้น เมื่อหนี้ยังไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ และหนี้จำนองก็ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้จำนองยังคงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเช่นกัน ดังนั้น จำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองไว้แก่โจทก์ จึงยังคงต้องผูกพันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อไป โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิเช่า: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้ และสิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอด
การที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้จำเลยทั้งสองให้การว่าเป็นฟ้องซ้อน และยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้แล้วศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยเสียได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าที่ดิน 2 แปลงที่ ท. มีต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินแต่ละแปลงดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาเช่าในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาอันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งโจทก์ไม่อาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งคำขอที่ให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินในคดีนี้ยังกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย จึงมิใช่เป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสัญญา ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อันเป็นหนี้เหนือบุคคล หาใช่เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินหรือเป็นทรัพยสิทธิไม่ และการเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้และดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าก็เป็นอันระงับสิ้นสุดลง และไม่เป็นมรดกตกทอดไปถึงทายาททั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีข้อตกลงให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ เพราะหากมีข้อตกลงก็เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าแก่บุคคลภายนอกในระหว่างที่ผู้เช่ามีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 544 เท่านั้น ดังนั้น พินัยกรรมของ ท. ที่ยกสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่โจทก์เกี่ยวกับที่ดินที่เช่าและไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป จำเลยที่ 1 ย่อมพิจารณาให้จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้เช่าที่ดินแต่ละแปลงต่อไปได้
of 40