คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8317/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระเงินค่าซื้อทรัพย์: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีดุลพินิจชอบธรรมในการไม่อนุญาต หากข้ออ้างของผู้ซื้อมีน้ำหนักน้อย
ในเบื้องต้นผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือออกไปอีกมีกำหนด 3 เดือน โดยอ้างว่าร่วมทุนกับบุคคลอื่นซื้อทรัพย์รายนี้ ปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ลงทุนเป็นเงินสดในอัตราร้อยละ 3 ของราคาที่ดินที่ซื้อเท่านั้น ส่วนผู้ร่วมลงทุนอื่นซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินร่วมกันลงทุนถึงร้อยละ 97 ทั้งในคำร้องก็ไม่ได้ระบุหรือแสดงเหตุผลอื่นอันสมควรให้เห็นว่าผู้ซื้อทรัพย์และผู้ร่วมลงทุนอื่น ได้ดำเนินการระดมทุนด้วยวิธีใดข้ออ้างของผู้ซื้อทรัพย์ในเรื่องนี้จึงมีน้ำหนักน้อย ส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์อ้างว่าเงินที่ต้องชำระส่วนที่เหลือเป็นเงินจำนวนมากไม่อาจรวบรวมมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทันภายในกำหนดนั้น ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้เรียกเก็บราคาที่ดินส่วนที่เหลือ 7,460,000 บาท แต่เนื่องจากเห็นว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้น จึงให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพียงร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อได้เป็นเงิน 413,050 บาท เพื่อหักเงินมัดจำที่วางไว้แล้วคงให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเพิ่ม 363,050 บาทเท่านั้น กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไม่ให้ขยายระยะเวลาการชำระเงินจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันและยกคำร้องหากไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ไปในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงกรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง โดยอนุโลม มาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้... ฯลฯ... ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินจำนวน 4,000,000 บาท มาวางเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ภายในวันที่ 11 กันยายน 2549 จำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปอีก
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า จะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดในคำพิพากษา และสิทธิการบังคับจำนองเหนือที่ดินที่แบ่งแยก
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยพิมพ์ตัวเลขโฉนดที่ดินผิดพลาด ศาลชั้นต้นมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเพียงการแก้ไขในรายละเอียดให้ตรงตามความเป็นจริง มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
โฉนดที่ดินที่จำนองมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองมิได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยอันจะทำให้การบังคับคดีไม่เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314-8315/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินและการบังคับคดีหลังแบ่งแยกที่ดิน การจำนองยังคงครอบคลุมถึงที่ดินที่แบ่งแยกไปหากไม่ได้รับความยินยอม
การแบ่งแยกที่ดินที่จำนองโฉนดเลขที่ 685 ออกเป็นหลายแปลงตามโฉนดเลขที่ 55728 ถึง 55735 ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 717

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมยกฟ้องเพราะขาดอำนาจฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาคดี สามารถฟ้องใหม่ได้
เดิมโจทก์และ ว. ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหายที่โจทก์และ ว. ต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดความเชื่อถือในการประกอบอาชีพจากการที่ถูกจำเลยฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรณียังไม่ถือว่าโจทก์และ ว. ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยในอันที่จะทำให้โจทก์และ ว. ใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์และว. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เป็นกรณีศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นแห่งคดีฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 148 และมาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายในชั้นอุทธรณ์ต้องไม่เกินคำฟ้องเดิม และประเด็นการหักเงินค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 180,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 198,000 บาท โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 ขอถือทุนทรัพย์ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเงิน 180,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ขอถือทุนทรัพย์ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเงิน 198,000 บาท จึงรับฟังได้ว่าค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เรียกร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาเพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บางส่วนแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 330,000 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและประเด็นการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 180,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 198,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 บรรยายฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่า โจทก์ที่ 2 ขอถือทุนทรัพย์ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเงิน 180,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ขอถือเงินจำนวน 198,000 บาท เป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้องเพิ่มไปจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 330,000 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าจำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นเงิน 180,000 บาท ขอให้นำจำนวนเงินดังกล่าวหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นั้น เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การครอบครองปรปักษ์ต้องสุจริต
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนบ้านและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ จำเลยให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทราคา 104,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 104,000 บาท ส่วนค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันหลังจากวันฟ้องเป็นค่าเสียหายในอนาคตไม่อาจนำไปคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาได้ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้องได้ หากมีเหตุผลสมควรและมิได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้เกิดขึ้นภายหลังคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและหากเห็นว่ามีการกระทำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
แม้ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างตรงไปตรงมาว่า คำสั่งทิ้งฟ้องของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งมิชอบอย่างไร แต่เมื่อพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วก็พอแปลได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงและถึงแม้ความเข้าใจผิดของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นศาลหรือคู่ความหรือเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนโจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่สามารถมาศาลในวันนัดพร้อมได้ทันตามกำหนดเนื่องจากรถยนต์เสียระหว่างเดินทางมาศาล ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง โดยมี ช. เจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดีเบิกความรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้ทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อศาล ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาถึงศาลล่าช้ากว่ากำหนดและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในวันเดียวกันนั้น จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์รถเสียไม่อาจมาศาลได้ทันตามกำหนด แม้การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์จะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาล ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
of 40