คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5794/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีโฉนด ผู้ครอบครองมีเจตนาเป็นเจ้าของและครอบครองนานเกิน 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์
การที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยมีลักษณะเป็นการครอบครองเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ ทั้งปรากฏว่าที่ดินที่ครอบครองนั้นเป็นที่ดินมีโฉนดที่บุคคลมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แม้จะเป็นการครอบครองโดยเข้าใจว่าเป็นของตน โดยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินมีโฉนดของบุคคลอื่นก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นเรื่องถือไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่มีเจตนาเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2401 ตลอดมาด้วยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่ปี 2521 โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ระยะเวลาที่ผู้ร้องครอบครองจนถึงวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อศาลเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การขาดอายุความต้องระบุเหตุแห่งการขาดอายุความชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนี้ นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญากู้และสัญญาจำนอง และจำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไร เพราะเหตุใด และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์ผิดกฎหมาย, ความรับผิดของสมาชิก, สิทธิเรียกร้องของผู้เล่นแชร์, การประมูลและการรับผิด
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 (3) ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2534) ที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เป็นการห้ามนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ ทั้งมาตรา 7 ยังระบุว่าบทบัญญัติมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์อีกด้วย การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5298/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญาที่ไม่เป็นธรรม: คดีสินเชื่อส่วนบุคคล
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่า มูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติวงเงินสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลย ณ ที่ทำการของโจทก์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเห็นได้ว่าเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลย อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงปทุมวัน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแขวงปทุมวันได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์ใช้โทรศัพท์แจ้งเรื่องการอนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลยเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเท่านั้น หาทำให้มูลคดีที่เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมาย ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ดังนั้น การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะคิดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเป็นค่าบริการครั้งแรก และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่างหากจากดอกเบี้ยปกติที่เรียกเก็บโดยใช้ชื่อเรียกแตกต่างออกไป แต่ผลประโยชน์ดังกล่าวก็เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์จากการได้กู้ยืมเงิน ดังนั้น เงินที่โจทก์คิดเป็นค่าบริการครั้งแรกและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยของสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์ได้รับผลประโยชน์คิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดตามสัญญาได้แก่ ค่าบริการครั้งแรก ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและดอกเบี้ยที่เรียกเก็บรายเดือน อันเป็นการคำนวณจากต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดที่คำนวณไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา 2 ปี โดยจำเลยต้องผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนโดยที่จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระมิได้ลดลงตามสัดส่วนของต้นเงินที่ลดลง จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat rate) เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยตามอัตราปกติ (Effective rate) ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ข้อตกลงที่เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการกู้ยืมในสัญญาในส่วนที่ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลย และต้องหักเงินค่าบริการครั้งแรกที่โจทก์เรียกเก็บไปแล้วออกจากต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2550)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และผลกระทบจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
การถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: การสะดุดหยุดของอายุความจากการชำระหนี้และการฟ้องคดี
จำเลยชำระหนี้ตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 แม้การฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แต่คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 นั้น ถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ได้ฟ้องคดีก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง อายุความสำหรับการฟ้องคดีใหม่จึงยังคงต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เพราะมิใช่เป็นกรณีที่อายุความได้ครบกำหนดไปแล้วระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เพราะเหตุที่จำเลยชำระหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
โจทก์แก้ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไม่ขาดอายุความดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนของบัตรดังกล่าว รวมทั้งในส่วนของบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าแก่โจทก์เป็นเงินรวม 409,081.12 บาท เต็มจำนวนตามฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4021/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความต้องแสดงเหตุแห่งการขาดในคำให้การ ศาลไม่รับวินิจฉัยหากไม่ชัดเจน
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำต้องให้การแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย เมื่อจำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเนื่องจากจำเลยไม่เคยนำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้าบทกฎหมายที่ถูกต้อง แม้ฟ้องอ้างลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนโดยตั้งข้อหามาในคำฟ้องไว้อย่างไรก็ไม่ผูกมัดให้ศาลต้องนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องนั้นมาปรับแก่คดีดังที่โจทก์ตั้งข้อหาเท่านั้น แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. มีมติให้ถอนหุ้นของ ส. มารดาเลี้ยงของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตาย โดยจะจ่ายเป็นเงินตอบแทนให้แก่โจทก์และ น. น้องสาวโจทก์คนละ 200,000 บาท และได้ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นอาของโจทก์ เพื่อให้นำไปซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น. จำเลยที่ 2 มอบเงินดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยแจ้งวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาจำเลยทั้งสองซื้อบ้านและใส่ชื่อ น. เป็นเจ้าของบ้านโดยไม่มีชื่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยังแจ้งแก่ น. ห้ามมิให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยในบ้านโดยเด็ดขาด โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองคืนเงินส่วนของโจทก์ ดังนี้ หากฟ้องโจทก์เป็นความจริง ก็มิใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้ในลักษณะเป็นตัวแทนจัดการซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์บังคับตามกฎหมายที่ใช้ ณ เวลาอุทธรณ์ แม้กฎหมายแก้ไขภายหลังก็ใช้จำกัดสิทธิไม่ได้
สิทธิของคู่ความที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยยื่นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 นั้น ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ เดิม มีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงไม่เป็นที่สุด ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ เดิม ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงชอบที่จะรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไว้วินิจฉัย แม้ต่อมาขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 309 ทวิ เดิม และให้ใช้ความในมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขใหม่แทน ซึ่งกำหนดให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นที่สุดก็ตาม แต่ไม่อาจนำมาใช้จำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ได้ เนื่องจากขณะผู้ซื้อทรัพย์ใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์จนเสร็จสำนวนและมีคำพิพากษามานั้น ย่อมเป็นการพิจารณาและพิพากษาโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
เจ้าหนี้จำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องฟ้องบังคับจำนองโดยตรงที่จะต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
of 40