คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจำนอง แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาและหมายบังคับคดี
ป.พ.พ. มาตรา 719 วรรคสอง ให้อำนาจแก่ผู้รับจำนองที่จะยึดเอาสิ่งปลูกสร้างอันผู้จำนองปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 พร้อมกับที่ดินด้วยโดยไม่จำต้องขอให้ศาลระบุในหมายบังคับคดีว่าให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองด้วย และมิใช่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกเหนือจากที่ได้ระบุในหมายบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งโจทก์ไม่จำต้องแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่าหากขายสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมไปด้วยจะทำให้การขายทอดตลาดกระทำได้ง่ายและจะได้ราคาแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบของที่ดิน แม้สัญญาจำนองมิได้ระบุ
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แม้สัญญาจำนองจะมิได้ระบุให้การจำนองครอบไปถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยึดสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 พร้อมที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดได้โดยอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 719 วรรคสอง ที่ให้อำนาจผู้รับจำนองยึดเอาสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดรวมไปกับที่ดินได้ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำนอง โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลระบุในหมายบังคับคดี กับไม่จำต้องระบุในคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีว่าให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนอง และไม่จำต้องแสดงหลักฐาน ให้ศาลเห็นว่าหากขายสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมไปจะทำให้การขายทอดตลาดกระทำได้ง่ายและจะได้ราคาด้วย ทั้งการบังคับคดีดังกล่าวก็มิใช่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกเหนือจากที่ได้ระบุในหมายบังคับคดีแต่อย่างใด การยึดทรัพย์ของโจทก์เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจำนองดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีจำนองเดิมถึงที่สุดแล้ว ฟ้องใหม่โต้แย้งการมอบอำนาจเดิม ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อน ร่วมกันรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับพวกรวม 6 คน ในฐานะที่จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทและที่ดินแปลงอื่นพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ทำสัญญาจำนองที่ดินรวมที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ไว้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองรวมทั้งที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยที่ 6 ในคดีก่อนจนกว่าจะครบ ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่า การมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย นิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้ละคดีก่อนจึงมีมูลมาจากสัญญาจำนองฉบับเดียวกัน เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างในคดีก่อนว่า โจทก์ (จำเลยที่ 2 ในคดีนี้) ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) และจำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่หาได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทกับโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งๆ ที่โจทก์อาจต่อสู้ไว้ในคดีก่อนเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทได้ ฉะนั้น แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมาแสดง การทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะมิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อนก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงความถูกต้องของสัญญาจำนองที่ดินพิพาท และโจทก์ไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไว้แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั่นเอง เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ก็เป็นบุคคลที่โจทก์อ้างว่ารับมอบอำนาจซึ่งสืบสิทธิมาจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกภายใต้กฎหมายอิสลาม: ข้อจำกัดและคำวินิจฉัยเด็ดขาดของดะโต๊ะยุติธรรม
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับเรื่องมรดกซึ่งเกิดในจังหวัดปัตตานีและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิก จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 ซึ่งให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 4 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและให้คำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามแล้วว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอิสลามและคำวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามของดะโต๊ะยุติธรรมดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาดตามมาตรา 4 วรรคสาม ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน-การบอกเลิกสัญญาเช่า-อำนาจฟ้อง: กรณีมิสซังถือครองที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์นานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดินพิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ข้อ 5 และข้อ 18 ไม่ให้มิสซังถือที่ดินแทนผู้อื่น แต่ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนมิสซัง เมื่อมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอุทธรณ์ เนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นยังมิได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้อง ไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดียังไม่เสร็จไปจากศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาขอสินเชื่อทำที่สาขาอื่น ไม่ถือเป็นมูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลชั้นต้น
จำเลยทำสัญญาขอสินเชื่อจากโจทก์สาขารังสิตซึ่งมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น มูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์โอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซีคอนสแควร์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นนั้น ธนาคารดังกล่าวเป็นเพียงธนาคารซึ่งจำเลยมีบัญชีเงินฝากอยู่เท่านั้น ไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ อีกทั้งไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยจะต้องไปรับเงินกู้จากโจทก์โดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุแห่งข้อพิพาท ไม่ใช่แค่สถานที่โอนเงินหรือมีบัญชีธนาคาร
คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาลชั้นต้น และเมื่อพิจารณาใบสมัครขอสินเชื่อ ก็ปรากฏว่าจำเลยทำสัญญาขอสินเชื่อจากโจทก์สาขารังสิตซึ่งมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นเช่นกัน ดังนี้ มูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ส่วนการที่โจทก์ได้โอนเงินกู้ที่จำเลยขอสินเชื่อเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซีคอนสแควร์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นนั้น ธนาคารดังกล่าวเป็นเพียงธนาคารที่จำเลยมีบัญชีเงินฝากอยู่เท่านั้น ไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ อีกทั้งไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยจะต้องไปรับเงินที่กู้จากโจทก์โดยตรง กรณีจึงไม่อาจถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน, ค่าเสียหายจากการทำละเมิด, สิทธิเรียกร้อง, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยทำประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท ท. ความรับผิดของบริษัท ท. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายและเป็นบุคคลภายนอก เป็นความรับผิดตามสัญญาที่บริษัท ท. ทำไว้กับจำเลย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท ท. ได้โดยตรง แต่จะเรียกร้องเกินไปกว่าจำนวนที่บริษัท ท. จะพึงต้องใช้ตามสัญญาไม่ได้ การที่โจทก์กับบริษัท ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ย่อมมีผลทำให้หนี้ของบริษัท ท. ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปและเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุดังกล่าวนี้คงมีผลทำให้หนี้ในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไปด้วยเพียงเท่าที่บริษัท ท. ชำระให้แก่โจทก์เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการชำระในนามของจำเลยผู้เอาประกันภัย ดังนั้น หากยังมีความเสียหายในส่วนอื่นอันเกิดจากการกระทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ หาใช่ว่าสิทธิของโจทก์จะถูกจำกัดให้มีเพียงเท่าที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัท ท. เท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องทายาทเจ้าหน้าที่ไม่ได้ หากฟ้องหน่วยงานของรัฐแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ เมื่อฟ้องเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ ย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดจากทายาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้
of 40