พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอนและการดำเนินการขอความยินยอม
หนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เมื่อปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2534 กำหนดโอนสิทธิการเช่าซึ่งต้องกระทำภายใน 3 เดือนนั้นก็จะครบกำหนดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 การที่คู่สัญญากำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทินเช่นนี้ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อันเป็นกรณีที่ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วคือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 อันเป็นวันที่จำเลยทั้งสามผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลแก้ไขข้อผิดพลาดในการรับฟ้องและคืนค่าธรรมเนียม
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ย่อมไม่สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยได้อีก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคำฟ้อง แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยังไม่ปรากฏต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องไว้โดยผิดหลง ต่อมาเมื่อโจทก์แถลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาในคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีผลเท่ากับเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงที่เคยสั่งรับคำฟ้องแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆ อีกแต่ให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้ และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้: ศาลไม่อาจลงโทษตามฟ้องเดิมได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทง ร. ถึงแก่ความตาย และ ช. ผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่ง ผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ชุลมุนต่อสู้ทำร้ายกัน ผู้ตายและผู้เสียหายถูกแทงโดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยหรือผู้ใดเป็นคนแทงในการชุลมุนต่อสู้ สาระสำคัญในการกระทำความผิดตามที่พิจารณาได้ความคือ มีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป แต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย ซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 294 ได้ด้วย ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ จึงลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์, การรับข้อเท็จจริง, และขอบเขตการต่อสู้คดี: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยให้การรับว่าทำสัญญากู้จริงแต่ไม่ได้รับเงินกู้ มูลหนี้ตามฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อต่อสู้
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้สองสถานและกำหนดภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปจนสิ้นกระแสแล้ว ศาลล่างทั้งสอง ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่โจทก์ จำเลยนำสืบ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยครบถ้วนชัดแจ้งโดยมิได้ยกภาระการพิสูจน์เป็นเหตุพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดีดังนั้นแม้จำเลยจะมีภาระการพิสูจน์ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใดจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนี่ง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยนำสืบ ว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้สองสถานและกำหนดภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปจนสิ้นกระแสแล้ว ศาลล่างทั้งสอง ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่โจทก์ จำเลยนำสืบ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยครบถ้วนชัดแจ้งโดยมิได้ยกภาระการพิสูจน์เป็นเหตุพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดีดังนั้นแม้จำเลยจะมีภาระการพิสูจน์ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใดจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนี่ง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยนำสืบ ว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749-8750/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 จะเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นเนื้อหาสาระในคำฟ้องของโจทก์ แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีมิใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่เพราะค่าขึ้นศาลซึ่งต้องเสียในเวลายื่นอุทธรณ์ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นคนละส่วนกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะให้โอกาสจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามจนระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะให้โอกาสจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามจนระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8615/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้บังคับอายุความอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
คดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ทั้งสองต่อศาล โดยประสงค์จะให้โจทก์ทั้งสองรับโทษทางอาญา ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายเพราถูกฟ้องคดีอาญา จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ส่วนคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ. จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
อนึ่ง อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนชื่อใน น.ส.3ก. เมื่อสิทธิไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยบางส่วนออกทับที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ครอบครองอยู่ ก็มีผลให้จำเลยยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานที่มีชื่อในทะเบียนว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ดังนั้น สิทธิของจำเลยที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดิน (น.ส.3 ก.) ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์มาด้วยนั้น พอแปลได้ว่าเป็นคำขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะส่วนที่ดินที่ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาเพิกถอนชื่อของจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ทับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่เหตุเพิกถอน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ตามคำร้องของผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งกรณีจะเป็นเรื่องของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. แต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์และธนาคารที่รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวได้รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองนั้น หากเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงไม่อาจยกเหตุที่ผู้ร้องอ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้