พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและครอบครองยาเสพติด: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดหลายกรรมต่างกันและบทลงโทษ
การที่จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรณีที่มีเจตนาครอบครองเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6741/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs สิทธิผู้ครอบครองเดิม: ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เมื่อสิทธิครอบครองโอนแล้ว
แม้ ส. และจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกันและเป็นผู้จำนองที่ดินและบ้านพิพาทแก่ธนาคาร พ. ร่วมกัน แต่ ส. และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลยแดงที่ 317/2543 ของศาลชั้นต้น จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดทรัพย์ทั้งแปลงได้ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิเพียงร้องขอให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามส่วนของตนเท่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยติดจำนองกับธนาคาร พ. และโจทก์ได้รับโอนสิทธิครอบครองและสิทธิจำนองมาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ สิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทรวมทั้งสิทธิจำนองกับธนาคาร พ. ของ ส. และจำเลยที่ 2 โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์แล้ว จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป จำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. ได้
เมื่อสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทรวมทั้งสิทธิจำนองกับธนาคาร พ. ของ ส. และจำเลยที่ 2 ได้โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียก ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยทั้งสองร้องขอ
เมื่อสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทรวมทั้งสิทธิจำนองกับธนาคาร พ. ของ ส. และจำเลยที่ 2 ได้โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียก ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยทั้งสองร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้และดำเนินบังคับคดีได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลที่ดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินหลังเลิกรา ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) เลขที่ 342 ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 และผู้ตายเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เลิกร้างกับผู้ตายแล้วได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดโดยผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิครอบครองเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินในส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิครอบครองนี้ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะมาร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากผู้คัดค้านที่ 1 มีข้อโต้แย้งอย่างใดหรือผู้ร้องได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) เลขที่ 342 ดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของผู้คัดค้านที่ 1 ตามคำร้องขอ ก็ชอบที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดของภริยาในทรัพย์สินร่วม กรณีจำนองโดยไม่ยินยอม ศาลไม่อาจบังคับแบ่งทรัพย์สินโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ยืนจากโจทก์ ดังนี้ หากเป็นดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามกฎหมาย ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้ศาลบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง และที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด คำขอบังคับของผู้ร้องดังกล่าวโดยสภาพไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำร้องนั้นได้ คำร้องมีลักษณะเป็นเรื่องร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 287 ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสนั้น ไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาขอให้บังคับโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องให้แก่ผู้ร้องตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6565-6567/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน: การผูกพันตามสัญญาและการไม่ขัดต่อประกาศ คปต.
การที่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินคือโจทก์ได้จัดสรรให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง อันมีผลบังคับในขณะที่โจทก์ดำเนินการจัดสรรที่ดินก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม เมื่อจำเลยทั้งสามตกลงชำระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางที่ใช้ร่วมกับผู้ซื้อรายอื่น ๆ ในโครงการที่เกี่ยวกับส่วนสาธารณะตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน จำเลยทั้งสามจึงต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้น ข้อตกลงที่ให้จำเลยทั้งสามเฉลี่ยค่าใช้จ่ายดังกล่าวหาได้เป็นการขัดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แต่อย่างใดไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามข้อสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด? ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าวันที่ทนายโจทก์ทราบคำพิพากษาจริงคือวันที่มีการลงลายมือชื่อรับทราบ
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธินำคดีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไปฟ้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ย่อมหมายถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 ซึ่งไม่ใช่วันนัดพิจารณาหรือนัดฟังคำพิพากษา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและลงลายมือชื่อทราบคำพิพากษา กรณีถือว่าทนายโจทก์เพิ่งทราบคำพิพากษาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งอยู่ในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้เกิดก่อนล้มละลายต้องยื่นในคดีล้มละลายเท่านั้น
เงินค่าฤชาธรรมเนียมมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดีและให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 109 (1) และเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดศาลอุทธรณ์ในคดีนี้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีและสั่งให้คืนค่าขึ้นศาล 3 ใน 4 ที่จำเลยเสียไว้ในการยื่นอุทธรณ์เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย vs การใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดี เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนที่จำเลยวางไว้
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์: การฟ้องให้แบ่งมรดกที่ดินเป็นการเรียกร้องกรรมสิทธิ์ ทำให้คดีมีมูลค่าคำนวณได้
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า น. ไปขอรับมรดกที่ดินทั้งหมดเป็นของ น. แต่เพียงผู้เดียวเป็นการไม่ชอบ ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ อ. ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกอีกคนหนึ่ง ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในที่ดินพิพาท เนื่องจากโจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิมาจาก อ. จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้