คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดที่ประเด็นซ้ำกับคดีที่ฟ้องไว้แล้ว เป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอม ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดากับโจทก์ เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่โจทก์และจำเลยสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องที่มิได้เป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องสอดเข้ามาใสชั้นบังคับคดีหรือคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิที่ร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่ก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยให้บังคับโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นผู้ร้องกับพวก ให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ผู้ร้องกับพวกมีกำหนด 5 ปี คดีอยู่ระหว่างพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์เพื่อปลูกสร้างอาคารประกอบกิจการร้านอาหารมีกำหนด 5 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ร้องกับพวกทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากมีคดีเดิมที่พิพาทประเด็นเดียวกันอยู่
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ส่งผลให้ศาลชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้
หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือเหตุสุดวิสัยก็ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดดังได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ กรณีไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ, การส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญ, และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดที่ศาลชั้นต้นได้ออกให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นได้สั่งหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว คำสั่งทั้งสองประการดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อีกทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งทั้งสองดังกล่าวได้
กรณีที่ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้น จะต้องเป็นเรื่องของข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ผู้พิพากษาบางคนที่ลงชื่อเป็นองค์คณะในคำพิพากษามิใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องว่ากล่าวโต้แย้งโดยการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีถึงที่สุด ไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้น ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6201/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการดำเนินการทางกฎหมายหลังศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดี การยื่นคำร้องแทนฎีกาไม่ชอบ
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมายและให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะมีคำสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยมีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6197/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยไม่รอคำวินิจฉัยเรื่องร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิขอเพิกถอนได้
การที่ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคท้าย ให้แก่เจ้าพนักงานศาล มีผลเท่ากับผู้ร้องได้นำส่งสำเนาคำร้องตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 288 แม้ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่ได้ไปคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ได้ไปแจ้งอายัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อห้ามโอนที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วกลับนำที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาด โดยไม่รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นในเรื่องร้องขัดทรัพย์เสียก่อนซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนควบกับที่ดินถูกห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ไม่อาจทำได้ในระหว่างระยะเวลาห้าม
บ้านของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดปลูกสร้างอย่างแน่นหนาถาวรบนที่ดินจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประธานถูกห้ามโอนตามกฎหมาย บ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมถูกห้ามโอนด้วย แม้โจทก์จะอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์ประสงค์จะยึดบ้านพิพาทอย่างสังหาริมทรัพย์ โดยในการขายทอดตลาดผู้ที่ซื้อทรัพย์จะต้องรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินไปเอง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการได้เมื่อกำหนดเวลาห้ามการโอนผ่านพ้นไปแล้วเสียก่อน เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดบ้านพิพาทในระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย กรณีจึงมีเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดบ้านหลังดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ต้องยื่นก่อนกำหนด และไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน แล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากไม่มีการชี้สองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุการบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษา การขอเฉลี่ยทรัพย์ถือเป็นการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของการบังคับคดีตามกฎหมายให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี การที่ผู้ร้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงขั้นตอนการบังคับคดี ไม่ทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ขยายออกไป
ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการยึดซ้ำจึงไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษา ผู้ร้องย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ เพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างหนึ่งเช่นกัน
of 40