คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารถึงผู้ครอบครอง: เจ้าพนักงานต้องออกคำสั่งถึงผู้ที่ต้องปฏิบัติตามโดยตรง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้ ม. รื้อถอนอาคารพิพาท แม้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรเขยและบุตรสาวของ ม. จะเป็นผู้ครอบครองอาคารพิพาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้นำคำสั่งไปปิดไว้ที่อาคารพิพาทโดยได้อ่านคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ฟังก่อนที่จะปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพิพาทด้วย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลถึงจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวด้วย จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารพิพาทที่ปลูกสร้างและต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาและเคาะไม้ขายได้ แม้ราคาต่ำกว่าครั้งก่อน หากสมควร
บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 คดีนี้จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคหนึ่งแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัดๆ มานั้น หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้ โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัดๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าราคาที่ผู้เสนอซื้อครั้งหลังเป็นราคาที่สมควรหรือไม่และไม่มีอำนาจเคาะไม้ขายหากเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อน การขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็จะเนิ่นช้าไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่น่าจะประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองรายนี้ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้ซื้อทรัพย์เสนอไว้ในครั้งก่อนแต่สูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 2 คัดค้านในการขายครั้งที่ 6 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดครั้งพิพาทให้จำเลยที่ 2 และ ส. ผู้ซื้อทรัพย์เดิมทราบ เพื่อเข้ามาดูแลการขายทอดตลาดและรักษาสิทธิในการขายทอดตลาดครั้งพิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ได้ราคาต่ำเกินสมควรนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายกระทบความผิดอาวุธปืน: ซองกระสุน 15 นัด ไม่ผิดตามกฎหมายใหม่
แม้ซองกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติของกลางเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 10 นัด อันเป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 2 (12) ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตามฟ้องโจทก์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2552) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 กำหนดให้ซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 20 นัด เป็นซองกระสุนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จึงถือได้ว่าบทบัญญัติของกฎกระทรวงดังกล่าวที่บัญญัติไว้ภายหลังการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีซองกระสุนปืนชนิดบรรจุกระสุนปืนได้ 15 นัด ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตารางค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าตามคำร้องของจำเลยไม่ได้อ้างเหตุว่า การปิดหมายไม่ชอบเพราะเหตุใด ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าปิดหมายนัดที่ภูมิลำเนาของจำเลยและทนายจำเลย ในส่วนของโจทก์โจทก์แถลงว่าส่งหมายนัดชอบแล้ว ถือได้ว่าการส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาและศาลชั้นต้นโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุที่จะนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ ค่าคำร้องให้เป็นพับนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของจำเลยแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วย และประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งชี้ขาดดังกล่าว ก็ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: ศาลฎีกาพิพากษาตามสัญญาเดิม หลังศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงิน
โจทก์เบิกความยืนยัน โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 290,000 บาท โดยจำเลยรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ตามเอกสารหมาย จ.1 แต่จำเลยอ้างว่าเมื่อปี 2535 จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 50,000 บาท เท่านั้น และในปี 2536-2538 จำเลยได้ทำการชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทุกปีเป็นจำนวน 3 ครั้ง ต่อมาปี 2539 และปี 2540 จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 แต่ความจริงจำเลยที่ 1 ค้างชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์เป็นเงิน 80,000 บาท เท่านั้น ข้ออ้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปี 2540 เป็นจำนวนเงินมากกว่า 30,000 บาท เพราะจำเลยมิได้ค้างชำระดอกเบี้ยเฉพาะในปี 2539 และ 2540 แต่ในปี 2536-2538 จำเลยก็ยังผ่อนชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ครบ การที่จำเลยอ้างว่าในปี 2543 ได้นำเงิน 80,000 บาท ชำระให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ยอมคืนสัญญากู้ยืมเงินให้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน ทั้งจำนวนเงินดังกล่าวก็เป็นเพียงเงินต้นเท่านั้นไม่รวมไปถึงดอกเบี้ยด้วย จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะคืนสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 ให้แก่จำเลย จึงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 290,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามคำฟ้องของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินต้นแก่โจทก์ 290,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระต้นเงินแก่โจทก์จำนวน 50,000 บาท เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินกู้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงต้องหักต้นเงิน 50,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ออก ศาลต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่โต้แย้ง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องต้องลงลายมือชื่อไว้ตามที่แบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาได้กำหนดไว้แต่ตามแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับคำขอท้ายคำฟ้องอาญาที่โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องได้ลงชื่อไว้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเกิดเพราะความผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยจากเหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารดังที่โจทก์ฎีกาหรือไม่ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องที่ไม่ชอบนั้นได้ แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด ม.143, การรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน, และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงละ 4 ปี รวม 3 กระทง จำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 4 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานโจทก์ขัดแย้งกันไม่เพียงพอฟังเพื่อลงโทษจำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา
จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องคดีแก่บุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา แม้พนักงานอัยการจะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินก็ตาม ก็ถือว่าพนักงานอัยการนั้นเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุคคลที่จำเลยจะให้ช่วยเหลือแล้ว การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว และเป็นความผิดต่อรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงาน – ผู้เสียหาย – การเข้าร่วมเป็นโจทก์
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร. ถูกดำเนินคดีอาญาแม้อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตามก็ถือว่า ธ. เป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ร. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำการตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวต่อเนื่อง: กระทำชำเราโทรมเด็กหญิงหลายครั้ง ความผิดต่อเนื่องในวาระเดียวกัน
หลังจากจำเลยกับพวกกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงที่ขนำที่เกิดเหตุครั้งแรกแล้ว จำเลยกับพวกยังคงควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้โดยพาผู้เสียหายไปที่ขนำอีกแห่งหนึ่งแล้วร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงในครั้งต่อไปถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15791/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความยักยอก, การร้องทุกข์, กรรมเดียวผิดหลายบท, และการใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในอายุความและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนแล้ว ย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อชั้นพิจารณาจำเลยไม่ได้คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่า ไม่มีข้อคัดค้าน
ตามหนังสือขอแจ้งความเพิ่มเติม กรณีการปลอมแปลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมที่มีต่อพนักงานสอบสวน ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญการกระทำความผิดของจำเลยไว้ โดยสรุปใจความว่า เมื่อวันเกิดเหตุจำเลยได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของ ย. แล้วเบิกถอนเงินฝากจำนวน 14,000 บาท จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ย. ไป ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยตามกฎหมาย อันมีความแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าว โดยวิธีการปลอมแปลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินของโจทก์ร่วมจากบัญชีเงินฝากของ ย. อันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้วด้วย โจทก์ร่วมไม่จำต้องระบุอ้างฐานความผิดมาด้วยแต่อย่างใด รูปคดีจะเป็นความผิดฐานใดย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งแล้วแต่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจที่จะวินิจฉัย
แม้การปลอมใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ และใช้เอกสารดังกล่าวถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม แล้วยักยอกเงินนั้นเป็นของตนจะเป็นการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างกัน ต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของโจทก์ร่วมที่จำเลยมุ่งประสงค์จะยักยอกเป็นของตนเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 40