คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์ได้ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแล้ว หากการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาดได้เงิน 70,000 บาท เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก 179,173.72 บาท โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 179,173.72 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน เป็นเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาด เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 160,000 บาท คำขออื่นให้ยก ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์ แต่เมื่อศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้โจทก์มากพอสมควรแล้ว จึงไม่กำหนดค่าขาดประโยชน์ให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา แต่โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ (แม้โจทก์แก้อุทธรณ์โดยไม่ได้ขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์) เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: การออกหมายเรียกและคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 193 จำเลยทั้งสองจึงยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: กระบวนการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 และการไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ
ตามบทบัญญัติมาตรา 193 แห่งป.วิ.พ. กรณีจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การ และศาลมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไป โดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้ว การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วศาลไกล่เกลี่ยต่อไป เมื่อคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำเขตที่ดินและการรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำเสนอหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงให้จัดทำแผนที่พิพาท เพื่อให้ทราบว่าอาคารพาณิชย์เลขที่ 17 ก่อสร้างรุกล้ำแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 4 ถึง 6 สิงหาคม 2547 นัดสืบพยานจำเลยวันที่ 10, 11 และ 13 สิงหาคม 2547 หลังจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ส่งแผนที่พิพาทมายังศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ขออ้าง ส. เจ้าหน้าที่ฝ่ายหลักประกันและจดจำนองของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการทำแผนที่พิพาท และ ฉ. เจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำการรังวัดแผนที่พิพาท ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ต่อมาวันที่ 16 มิถุนายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมดังกล่าวเข้ามาอีก โดยแถลงว่าประสงค์จะสืบพยานบุคคลทั้งสองแทนพยานบุคคลสองอันดับที่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกไปแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับวันนัดพยานโจทก์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาประวิงคดี ประกอบกับแผนที่พิพาทไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่ถูกรุกล้ำ โจทก์ทั้งสองจึงอาจจำเป็นต้องนำพยานบุคคลที่เห็นว่าเป็นกลางมานำสืบเพื่อให้ได้ความชัดเจน ซึ่งไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ เพราะจำเลยทั้งสามมีสิทธิถามค้านและนำพยานของตนเข้าสืบแก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมกรณีเช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญแห่งคดีและอาจทำให้รูปคดีของโจทก์ทั้งสองเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482-483/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท และผลต่อการฟ้องร้องคดี การแจ้งชื่อใหม่ทางเอกสารถือเป็นการแจ้งให้ทราบ
แม้โจทก์ยังไม่ได้พิมพ์โฆษณาชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ในราชกิจจานุเบกษา และ ป.พ.พ. มาตรา 1023 บัญญัติว่า บริษัทจะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนยังไม่ได้จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาแล้วก็ตาม แต่การบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลทั่วไปทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทมีโอกาสทราบถึงรายการต่างๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่เมื่อตามใบแจ้งยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต/ใบกำกับภาษีที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 1 ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ไว้แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบถึงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถยกเอาเรื่องที่ยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาข้อความในส่วนชื่อโจทก์ที่มีการจดทะเบียนแก้ไขใหม่มาเป็นข้อต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงิน vs. ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากบริษัท ง. โดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับเงินที่กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการประกันการชำระหนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง การที่โจทก์อ้างถึงตั๋วสัญญาใช้เงินก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินและชำระหนี้เงินกู้ยืม กรณีจึงหาใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ ซึ่งการกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำคำขอกู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาและการสิ้นสุดสิทธิจากการไม่โต้แย้งคำพิพากษา
แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ทันทีเพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ก็ตาม แต่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 226 (2) แล้ว จำเลยทั้งสองจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ได้เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้คดีถึงที่สุดและสิทธิการดำเนินคดีของจำเลยทั้งสองสิ้นสุดลงเช่นนี้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่ามีเหตุสมควรเรียกนาง บ. ผู้จัดการมรดกของ ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่แจ้งการเลิกบริษัทแก่เจ้าหนี้ คดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท พ. มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกบริษัทให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัททราบเพื่อโจทก์จะได้ยื่นทวงหนี้แก่จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชี แต่จำเลยกลับละเลยไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวให้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินเท่ากับจำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท พ. คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด มิใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิด จึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดของผู้ชำระบัญชี: ประเด็นการตีความมูลหนี้ตามคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท พ. มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกบริษัทให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัททราบ เพื่อโจทก์จะได้ยื่นทวงหนี้แก่จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชี แต่จำเลยกลับละเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงเรื่องดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินเท่ากับจำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท พ. พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด หาใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1272
of 40