พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6956/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสมบูรณ์เมื่อเจ้าหนี้ได้รับเงิน การยื่นคำร้องเพิกถอนหลังจากการบังคับคดีเสร็จสิ้นจึงไม่มีสิทธิ
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับเงินค่าขายทรัพย์พิพาทไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2548 ต้องถือว่าการบังคับคดีสำหรับทรัพย์สินพิพาทได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองและวรรคสาม การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันที่ 14 มีนาคม 2548 เป็นการยื่นภายหลังจากการบังคับคดีได้เสร็จลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทอันเป็นเท็จ การกระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิกรรมการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทอันเป็นเท็จและนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และเปลี่ยนกรรมการรวมทั้งอำนาจกรรมการตามเอกสารเท็จที่จำเลยทำขึ้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ถูกถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการของจำเลย ส่วนจำเลยให้การว่า ข้อความที่ระบุในคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดถูกต้องตรงความเป็นจริง ดังนั้น ตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะกรรมการ ซึ่งการกระทำของจำเลยทำให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่จำเลยยื่นคำขอ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และนายทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย แม้จะฟังว่ารายงานการประชุมนั้นเป็นเท็จก็ตาม แต่นายทะเบียนดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องบังคับให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียน
การทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และนายทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย แม้จะฟังว่ารายงานการประชุมนั้นเป็นเท็จก็ตาม แต่นายทะเบียนดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องบังคับให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6731/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องแจ้งจำเลยเพื่อคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6731/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องแจ้งจำเลยเพื่อคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนา
คำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ส่งอุทธรณ์ของโจทก์ต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ส่งอุทธรณ์ของโจทก์ต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณา ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนเพราะลายมือชื่อของ จ. และ ศ. ผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม เท่ากับจำเลยโต้แย้งคัดค้านว่าหนังสือมอบอำนาจไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง เมื่อต้นฉบับเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 โดยหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 มี จ. และ ศ. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ แต่หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2536 มี จ. และ ป. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ จึงมิใช่เอกสารฉบับเดียวกัน เมื่อโจทก์ไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 มาแสดง โดยไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น จึงรับฟังข้อความตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ฟ้องของโจทก์จึงถือว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ถึงแม้จะฟังว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ตามข้ออ้างของโจทก์ก็ตาม แต่เป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับที่โจทก์ใช้ยื่นฟ้องคดีนี้ และมิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่าล่วงหน้า, การคืนเงิน, ค่าเสียหาย
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า ชำระค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับการเช่า 21 ปี เป็นเงิน 8,000,000 บาท ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ จะนำสืบว่าโจทก์มีเจตนาที่จะให้เงินจำนวน 8,000,000 บาท เป็นเงินค่าตอบแทนพิเศษหรือเงินกินเปล่านั้น เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) ดังนั้น จึงต้องรับฟังตามสัญญาเช่าที่ดินว่าเงินจำนวน 8,000,000 บาท ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ไปนั้นเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับการเช่าเป็นเวลา 21 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดต้องชัดเจนฐานความรับผิด การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการบรรยายให้จำเลยรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 เท่านั้น มิใช่ให้รับผิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา ป.พ.พ. มาตรา 420 หากคำฟ้องโจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดจากการละเมิดของจำเลยเอง ก็ต้องแสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 มิใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่ง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 56 ขึ้นวินิจฉัย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่งจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าในการจัดงานศพและพิธีหลังฝังศพเป็นไปตามประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นตอนทางพิธีกรรมและภาพถ่ายมาสนับสนุน เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายพบว่ามีคนมาร่วมงานค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นให้เป็นจำนวน 100,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ที่ 3 ซื้อรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับมาในราคา 410,000 บาท และได้ใช้งานก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 ปี การที่ขายรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับได้เพียง 325,000 บาท จึงน่าจะมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเพราะการใช้รถด้วย มิใช่เพราะจากการถูกเฉี่ยวชนเพียงอย่างเดียว จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เป็นเงิน 40,000 บาท
ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าในการจัดงานศพและพิธีหลังฝังศพเป็นไปตามประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นตอนทางพิธีกรรมและภาพถ่ายมาสนับสนุน เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายพบว่ามีคนมาร่วมงานค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นให้เป็นจำนวน 100,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ที่ 3 ซื้อรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับมาในราคา 410,000 บาท และได้ใช้งานก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 ปี การที่ขายรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับได้เพียง 325,000 บาท จึงน่าจะมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเพราะการใช้รถด้วย มิใช่เพราะจากการถูกเฉี่ยวชนเพียงอย่างเดียว จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เป็นเงิน 40,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: พาผู้เยาว์ไปอนาจารและกระทำอนาจารเป็นกรรมต่อเนื่อง
การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 อายุ 16 ปีเศษ ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงแล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 ในขณะเดียวกันนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวที่จะกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ต้องลงโทษตามมาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดหาใช่เป็นความผิดคนละกรรมต่างกันไม่ แม้โจทก์จะแยกบรรยายการกระทำความผิดของจำเลยมาในฟ้องเป็นข้อ ข. และข้อ ค. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลก็จะลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางเอกสาร: องค์ประกอบความผิด, การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต, และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่ออธิบดี...ด้วยเอกสารฉบับลงวันที่ 12 มิถุนายน 2545 มีข้อความว่า "...ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จความจริงโจทก์ไม่เคยแอบอ้างว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ...แต่ประการใด การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยทำให้ปรากฏเป็นตัวอักษร ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์..." โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยการโฆษณาอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 328 มาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นไม่สามารถจะยกข้อกฎหมายตามมาตรา 329 (1) (3) ขึ้นวินิจฉัยได้ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ว่า หากข้อเท็จจริงตามที่รับฟังดังทางไต่สวนมูลฟ้องต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยคดีได้ หาใช่เรื่องจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกรณีที่จำเลยเท่านั้นที่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นแล้วพิพากษายืนดังนั้นที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อความที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารต้องอ่านทั้งหมด มิใช่ยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งแล้วแปลว่าไม่มีข้อความหมิ่นประมาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า ต่อมาจำเลยประสงค์จะเช่าพื้นที่ จึงใช้เล่ห์เพทุบายทำหนังสือดังกล่าวให้สอบสวนว่าโจทก์ไม่สุจริต จึงมิใช่กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ฎีกาโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะมีการอนุญาตให้ฎีกามาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้เช่นกัน
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นไม่สามารถจะยกข้อกฎหมายตามมาตรา 329 (1) (3) ขึ้นวินิจฉัยได้ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ว่า หากข้อเท็จจริงตามที่รับฟังดังทางไต่สวนมูลฟ้องต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยคดีได้ หาใช่เรื่องจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกรณีที่จำเลยเท่านั้นที่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นแล้วพิพากษายืนดังนั้นที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อความที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารต้องอ่านทั้งหมด มิใช่ยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งแล้วแปลว่าไม่มีข้อความหมิ่นประมาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า ต่อมาจำเลยประสงค์จะเช่าพื้นที่ จึงใช้เล่ห์เพทุบายทำหนังสือดังกล่าวให้สอบสวนว่าโจทก์ไม่สุจริต จึงมิใช่กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ฎีกาโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะมีการอนุญาตให้ฎีกามาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้เช่นกัน