พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ต้องระบุตัวบุคคลชัดเจนหรือไม่ ผู้ทั่วไปทราบได้หรือไม่
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และความผิดฐานหมิ่นประมาทที่ได้กระทำโดยการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์นั้นต้องพิเคราะห์จากข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องเท่านั้นว่า ผู้อ่านสามารถทราบได้หรือไม่ว่าบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างตามที่ลงพิมพ์นั้นเป็นผู้ใด
ข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ไม่มีข้อความในที่ใดที่ระบุชื่อและนามสกุลของโจทก์หรือพอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ผู้บังคับการ พ. กองบังคับการหมายเลข 5 ที่กำลังจะเกษียณในปี 2546 ได้ไป 3 ล้านบาท ทำทุนหลังเกษียณนั้น ก็ไม่ได้ระบุชื่อโดยชัดแจ้งว่าเป็นผู้ใด ชื่อที่ระบุเป็นเพียงอักษรย่อเท่านั้น และมิได้ระบุนามสกุล ทั้งสถานที่ทำงานกองบังคับการหมายเลข 5 ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นที่ใดบุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อ พ. หมายความถึงผู้ใดและเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์จริงหรือไม่และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ก็มิใช่ทราบจากข้อความที่ลงพิมพ์ แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง มิได้ทราบว่าหมายความถึงโจทก์โดยอาศัยข้อความจากหนังสือพิมพ์ ลำพังเพียงข้อความตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จึงยังไม่เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์
ข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ไม่มีข้อความในที่ใดที่ระบุชื่อและนามสกุลของโจทก์หรือพอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ผู้บังคับการ พ. กองบังคับการหมายเลข 5 ที่กำลังจะเกษียณในปี 2546 ได้ไป 3 ล้านบาท ทำทุนหลังเกษียณนั้น ก็ไม่ได้ระบุชื่อโดยชัดแจ้งว่าเป็นผู้ใด ชื่อที่ระบุเป็นเพียงอักษรย่อเท่านั้น และมิได้ระบุนามสกุล ทั้งสถานที่ทำงานกองบังคับการหมายเลข 5 ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นที่ใดบุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อ พ. หมายความถึงผู้ใดและเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์จริงหรือไม่และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ก็มิใช่ทราบจากข้อความที่ลงพิมพ์ แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง มิได้ทราบว่าหมายความถึงโจทก์โดยอาศัยข้อความจากหนังสือพิมพ์ ลำพังเพียงข้อความตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จึงยังไม่เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350-1351/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือน มิใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง หากค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าเดิม
ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯกับจำเลย เอกสารหมาย จ.8 หรือ ล.9 ได้ระบุแยกกรณีการขึ้นค่าจ้างกับกรณีการปรับคนงานรายวันเป็นรายเดือนโดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือนมีผลเพียงทำให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับ ไม่มีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯ หรือจำเลยประสงค์ให้เป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไปด้วย แม้หากนำเงินเดือนหารด้วย 30 เป็นค่าจ้างต่อวัน อัตราค่าจ้างต่อวันที่โจทก์ทั้งสามได้รับน้อยลงกว่าเดิม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ใช่ลูกจ้างรายวันแล้วและค่าจ้างรายเดือนที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับไม่น้อยไปกว่าค่าจ้างรายวันที่โจทก์ทั้งสามเคยมีสิทธิได้รับรวมทั้งเดือน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยค้างจ่ายดังที่โจทก์ทั้งสามอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับค่ารักษาพยาบาลนอกโรงพยาบาลตามสิทธิ กรณีไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางการแพทย์
หลังจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุโจทก์ได้รับบาดเจ็บและหมดสติไปโดยโจทก์มีบาดแผลที่ขาหลายแห่งและกระดูกขาหัก มีพลเมืองดีนำโจทก์ส่งโรงพยาบาล ส. โจทก์รู้สึกตัวและโทรศัพท์ไปหาบิดา เมื่อบิดาโจทก์มาถึงจึงขอให้โรงพยาบาล ส. ฉีดยาระงับอาการปวดและเอกซเรย์กระดูกขาให้ หลังจากนั้นจึงทำเรื่องขอย้ายโจทก์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยทำบันทึกไว้ว่าไม่ประสงค์จะให้โรงพยาบาล ส. รักษาโจทก์ต่อไป และโจทก์ได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยแพทย์ทำการผ่าตัดกระดูกดามกระดูกขาและรักษาบาดแผลเสียค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในเป็นเงิน 62,676.10 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าในขณะที่จะย้ายโจทก์ออกจากโรงพยาบาล ส. ไปรักษาต่อนั้น โรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทำการผ่าตัดรักษากระดูกขาที่หัก แม้จะเป็นกรณีที่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ก็ได้ความว่าวิทยาลัย พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิและโรงพยาบาล ว. ต่างก็มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยกัน ใช้ระยะเวลาเดินทางใกล้เคียงกัน การนำส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิหรือโรงพยาบาล ว. จึงไม่น่าจะใช้เวลาแตกต่างกันมากนัก ทั้งโรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นให้แก่โจทก์บ้างแล้ว จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าหากนำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิแล้วการรักษาจะไม่ทันท่วงทีหรืออาจเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นแก่โจทก์ การที่บิดาโจทก์ส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. จึงเป็นเพราะบิดาโจทก์มีความเชื่อถือการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ว. นั่นเอง การที่นำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. ซึ่งมิใช่โรงพยาบาลตามสิทธิจึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องรับการบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล ว. แต่เป็นความประสงค์ที่จะได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม ฯ จำเลย ข้อ 4.2 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: พิจารณาพฤติการณ์และผลเสียหายควบคู่กับข้อบังคับ
การจะถือว่ากรณีใดเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ มิใช่จะดูแต่เพียงว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าเป็นความผิดร้ายแรงแล้ว ต้องถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงเสมอไป ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละกรณีไปตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นมีมากน้อยเพียงใดด้วยข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ร่วมกับ พ. นำร้าน บ. ซึ่ง พ. เช่าจากจำเลยไปให้ ว. เช่าช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย หลังจาก ว. เข้าไปดำเนินกิจการในร้านเสริมสวยแล้ว ต่อมาได้นำเงินนวน 12,000 บาท มอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ซึ่ง พ. เป็นหนี้โจทก์แทน พ. และร่วมกับ ศ. ซื้อเครื่องปรับอากาศราคา 18,000 บาท ให้แก่โจทก์เนื่องในโอกาสที่จะขึ้นบ้านใหม่ นอกจากนี้ ว. และ ย. ได้ชำระค่าแหวนทองคำฝังเพชรและพลอย 1 วง ราคา 9,000 บาท ซึ่งโจทก์สั่งทำไว้แทนโจทก์ กับ ย. สามีของ ว. ก็ได้ซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอล 1 กล้อง ราคาประมาณ 10,000 บาท จากประเทศญี่ปุ่นให้แก่โจทก์ พฤติการณ์และการกระทำของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกรับผลประโยชน์ซึ่งเป็นทรัพย์สินจาก ว. เป็นแหวนเพชร กล้องถ่ายรูปดิจิตอลและเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือ ว. เช่าช่วง และช่วยเหลือในการต่อสัญญาเช่ากับจำเลยออกไปอีก 3 ปี โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลย ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงและมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีที่ถอนฟ้องประกอบการพิจารณาโทษคดีอื่น: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวน
แม้ฝ่ายผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก และฐานพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวมิได้มีผลถึงกับทำให้ถือว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสองจึงนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ หาใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาพิจารณาลงโทษจำเลย อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง และการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามสมควรแก่ความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง และโทษกักขังก็เป็นโทษในสถานเบากว่าโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งที่โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หาได้ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 หรือมาตรา 212 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายพรรคการเมืองทำให้กรรมการสาขาพรรคไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น บัญญัติว่า "ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดของจำเลยบัญญัติว่า "ให้หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่เข้ารับตำแหน่ง วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาในวันยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง" ดังนั้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรรมการสาขาพรรคการเมืองไม่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนตามกฎหมายอีกต่อไป แม้จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคการเมืองจะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป และจำเลยผู้กระทำการนั้นย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: แม้เปลี่ยนฐานจากละเมิดเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ศาลต้องพิจารณาหากคดีเดิมยังไม่ได้วินิจฉัยถึงสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองเดียวกับคดีก่อนโดยขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการสำนักงานประปาวังสะพุง และเป็นผู้บังคับบัญชาของ ส. รับผิด เพราะไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการตรวจสอบและควบคุมดูแลความถูกต้องของเอกสารจ่ายเงิน เป็นเหตุให้ ส. ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ไปหลายครั้ง และจำเลยได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์แล้ว และมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัด เพียงแต่ในคดีก่อนอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำละเมิด ส่วนในคดีนี้อ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีก่อนศาลจังหวัดเลยได้พิจารณาเฉพาะประเด็นของมูลละเมิดว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเกิน 1 ปี นับแต่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้พิจารณาหรือส่งให้ศาลแรงงานที่มีอำนาจได้พิจารณาในส่วนของมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงาน และต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลจังหวัดเลยต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มีคำพิพากษายืน และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้โดยกล่าวอ้างถึงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งในคดีก่อนมิได้วินิจฉัยถึง จึงมิใช่กรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิเรียกเงินคืนกรณีวางเงินเกินจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้นำเงินสมทบและผลประโยชน์มาวางศาลเพื่อจ่ายให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร บริษัท ส. เป็นเพียงผู้กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์เท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลยมิใช่โจทก์ แต่บริษัท ส. เป็นผู้จ่าย บริษัท ส. จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จ่ายเกินไปคืน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า, พาอาวุธปืน, และการลดโทษจากคำรับสารภาพในคดีอาญา
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแต่ไม่ถูกผู้ใด เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 หลบหนีจำเลยทั้งสามติดตามไปไล่ยิงผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 จนถึงหน้าโรงแรม อันเป็นการส่อให้เห็นเจตนามุ่งมั่นที่จะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ให้ได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากที่เกิดเหตุจุดแรกไปยังที่เกิดเหตุจุดที่สอง เมื่อกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงหนึ่ง หลังจากนั้นจำเลยทั้งสามยังย้อนกลับไปยิงพวกของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โรงแรมอีกจนกระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 4 ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 4 โดยพลาดอีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 2 กระทง